10/13/2009

พระพุทธองค์ ทรงประทานของขวัญวันแต่งงาน



พระพุทธองค์ ทรงประทานของขวัญวันแต่งงาน


ในสมัยพุทธกาล พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ในกรุงสาวัตถี

มารดา ของกุมาริกาผู้หนึ่งได้จัดงานอาวาหมงคล คืองานมงคลสมรสในเรือนของตน ในวันมงคลได้นิมนต์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์


พระ ศาสดาอันหมู่แห่งพระภิกษุแวดล้อม ได้เสด็จไปในที่แห่งนั้น ประทับนั่งแล้ว หญิงผู้ที่เป็นเจ้าสาวในงานสมรสนั้นกระทำการบำรุงภิกษุ โดยกิจแห่งการกรองน้ำ เป็นต้น เพื่อหมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย นางก็ได้เที่ยวไปๆ มาๆ บำรุงภิกษุอยู่ในที่แห่งนั้น



ฝ้าย เจ้าบ่าว ผู้เป็นที่ว่าสามีของนางได้ยืนแลดูนางแล้ว เมื่อเขาแลดูอยู่นั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งราคะ คือกิเลสภายในย่อมฟุ้งซ่าน เขาถูกความหลงเข้าครอบงำ ย่อมกระทำให้ถึงความไม่รู้ตัว จึงไม่เข้าไปบำรุงพระบรมศาสดา ไม่บำรุงพระมหาเถระทั้ง ๘๐ ที่ตามเสด็จ คงได้แต่กระทำจิตคิดอยู่ว่า “เราจักเหยียดมือออกจับผู้ที่เป็นเจ้าสาวนั้น”





พระ บรมศาสดาทรงเล็งเห็นอัชฌาสัย ทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ปิดบัง โดยอาการกระทำไม่ให้หนุ่มผู้เป็นบุรุษ ได้เห็นสตรีในที่แห่งนั้น ก็ในกาลนั้นเมื่อบุรุษหนุ่มแลไป ก็ไม่เห็นหญิงอันเป็นสตรีผู้เป็นที่รักนั้นแล้ว จึงได้แลเห็นพระบรมศาสดาในที่ๆ เขายืนอยู่นั่นเอง ขณะนั้นองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกับบุรุษที่ยืนอยู่ในที่นั่นว่า


แน่ะ ! ก็ชื่อว่าไฟ ประดุจเช่นดั่ง ไฟราคะ นั้น ย่อมไม่มี ,
ชื่อว่าโทษ ประดุจดั่งเช่นกับ โทษ คือโทสะ ย่อมไม่มี ,
ชื่อว่าทุกข์ ประดุจเช่นกับทุกข์ เพราะ การบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี
แม้สุข ที่ประดุจดังเช่น นิพพานสุข ย่อมไม่มีเหมือนกัน ” ดังนี้แล้ว

พระองค์ทรงตรัสพระคาถาเป็นพระพุทธวัจนะ ดังนี้ว่า


“นัตถิ ราคสโม อคติ นัตถิ โทสสโม กลิ
นัตถิ ขันธาทิสา ทุกขา นัตถิ สันติปรัง สุขัง
“ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี, โทษเสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี,
ทุกข์ทั้งหลาย เสมอด้วยขันธ์ ย่อมไม่มี, สุขอื่นจากความสงบ ย่อมไม่มี,
(ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สุขวรรค ๔๒/๒๕/๓๗๑)

ใน บทแห่งพระคาถาที่พระองค์ตรัสแสดงไว้ว่า ชื่อว่าไฟอื่นเสมอด้วยราคะไม่มี และโทสะนั้น ย่อมไม่มี ซึ่งความสามารถแห่งการปรากฏโดยความเร่าร้อนนี้ โดยอาการที่ไม่แสดงควัน อันปราศจากเปลวหรือถ่าน ย่อมลุกแต่ในภายในเท่านั้น ก็จักปรากฏโดยความพินาศแห่งผู้ถูกเผา คือ จิตนั่นเอง


แม้ โทษอื่นอันใด จะเสมอด้วยโทษ คือโทสะนั้น ย่อมไม่มีเพราะอกุศลกรรม คือปาณาติบาต เป็นต้น ที่เป็นกายทุจริตกรรมก็ล้วนแต่มีโทสะเป็นมูลราก ปรากฏโดยอาการทำร้าย ทำลายและเบียดเบียน สร้างความพินาศทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของ และผู้อื่นรอบข้างที่ต้องอาศัยฤทธิ์ที่เกิดจากโทสะนั้นๆ ทำความมอดไหม้เสียหายทั้งในอัตภาพนี้ และในอัตภาพหน้า


ชื่อ ว่า เปลวไฟ ที่เป็นความร้อนนั้น อันลุกโชนไปด้วยกองฟืน กองถ่าน หรือด้วยกองน้ำมัน ทำบุคคลเมื่อต้องเข้าถึงภัยแล้ว ก็ถึงที่สุดด้วยความร้อน ก็มีความตายเป็นที่สิ้นสุดในอัตภาพเดียว แต่ความตายอันเป็นความมอดไหม้โดยอาศัยโทษที่เกิดจากโทสะนั้น พึงทำสัตว์ทั้งหลายให้ไม้ในอัตภาพที่นับประมาณมิได้ อันได้แก่โทษในทุคติ วินิบาต นรก นั่นเอง


พระคาถาที่พระองค์ตรัสแสดงไว้ว่า ชื่อว่าทุกข์อื่นเสมอด้วยขันธ์ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ก็ขันธ์ ๕ ทั้งหลายนั้นแหล่ะชื่อว่าเป็นตัวทุกข์ บุคคลพึงยังอัตภาพให้อยู่ได้ ก็ด้วยการบริหารขันธ์ ดังนั้น ชื่อว่าทุกข์อย่างอื่นที่นอกจากขันธ์ทั้งหลาย ที่บุคคลพึงบริหารอยู่ ย่อมไม่มี


พระพุทธองค์ตรัสแสดงว่า แม้สุขอื่นที่ยิ่งกว่าพระนิพพาน ย่อมไม่มีนั่น การเสวยความสุขจำแนกแล้วได้ ๒ ทาง คือกายิกสุข ได้แก่ ความสุขทางกาย และเจตสิกสุข ได้แก่ ความสุขทางใจ เมื่อความสุขทางกาย กับความสุขทางใจ ซึ่ง ความสุขทั้งสองนี้ ยังไม่พ้นไปจากกองแห่งขันธ์ แต่พระนิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากสังขตธรรม เป็นสันติสุข ไม่มีสุขอื่นใดยิ่งกว่า


พระ พุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยวาระแห่งฤทธิ์ กระทำให้บุรุษผู้เป็นเจ้าบ่าว มิให้แลเห็นซึ่งนางกุมาริกาได้ เพื่อจะได้ให้มีจิตใส่ใจในการฟังธรรมเหล่านั้นได้ ซึ่งในขณะที่ฝ่ายบุรุษกำลังสดับกระแสแห่งพระธรรม ฝ่ายสตรี คือ นางกุมาริกาผู้เป็นว่าที่เจ้าสาว ก็กำลังสดับพระธรรมพร้อมกันไปด้วย ก็เขาเหล่านั้นต่างฝ่ายต่างมิได้เห็นซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจแห่งอิทธิฤทธิ์ที่พระพุทธองค์ทรงบันดาล ต่างก็น้อมใจพิจารณาเนื้อความไปตามกระแสแห่งพระธรรม ในกาลที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงจบการแสดงพระธรรมเทศนานั้น เขาทั้งสองก็บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

พระพุทธองค์ทรงคลายอิทธิฤทธิ์ ทรงกระทำอาการให้ทั้งคู่เห็นซึ่งกันและกันตามปกติ พระพุทธองค์ทรงประทานของขวัญประทานในวันแต่งงาน ที่มีค่าอันสูงสุดแห่งสัมโมทนียกถา คือ การแสดงพระธรรมเทศนา



พระองค์ทรงพระประทานอมฤตธรรมอันสูงสุด ให้กับคู่บ่าวสาวได้ดื่มกิน ได้แก่ พระนิพพาน ทรงพระประทานสมบัติอันสูงสุดอัน มิใช่สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ มิใช่ทองคำ แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วอินทนิล หรือแก้วมณี แต่เป็นโลกุตตรสมบัติ ให้แก่คู่อวาหมงคลทั้งสองได้เสวย ดังนี้แล


บุญญสิกขา พิมพ์คัดลอกเป็นธรรมทาน
จาก หนังสือ “บทสวดมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาราชปริตร พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
เรียบเรียบโดย คุณสุนัฐชา ฉายาวัฒนะ (กลุ่มเพื่อนร่วมธรรม)

No comments: