8/29/2009


วธ.ประกาศ ผลออกแบบตราสัญลักษณ์ 8 รอบสมเด็จพระสังฆราช เผยโฉมงดงามสมพระเกียรติ รองราชเลขาธิการ แนะ ประชาชนนำติดประดับบ้านเรือนเทิดพระเกียรติได้ แต่ห้ามนำไปแสวงหาผลประโยชน์

วันนี้ (28 ส.ค.) ที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระพรหมมุนี ประธานคณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองพระชันษา 96 ปี สมเด็จพระสังฆราช พร้อมด้วยท่านผู้หญิง บุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) นายสด แดงเอียด อธิบดีกรมการศาสนา ร่วมแถลงข่าวผลการประกวดตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชันษา 96 ปี สมเด็จพระสังฆราช

โดยพระพรหมมุนี กล่าวว่า ด้วยในวันที่ 3 ต.ค.นี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 8 รอบ 96 ปี พระองค์ทรงเป็นสังฆบิดรแห่งสังฆมณฑล จึงนับเป็นศุภวาระอันเป็นมงคลยิ่ง เพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทีสำนึกในพระกรุณาธิคุณ มหาเถรสมาคม (มส.) คณะรัฐบาล และคณะสงฆ์วัดบวรฯ ได้กำหนดจัดงานบำเพ็ญพระกุศลทำกิจกรรมอันเป็นสาธารณะประโยชน์ต่างๆ ตลอดเดือน ต.ค.และขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมถวายสักการะลงนามถวายพระพรกันพร้อมเพรียง กัน

นายวีระ กล่าวว่า วธ.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาล ให้ดำเนินการโครงการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์งานฉลองพระชันษา 96 ปีสมเด็จพระสังฆราช ระหว่างวันที่ 1-31 ก.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ คณะกรรมการได้พิจารณาตราสัญลักษณ์ที่ส่งเข้าประกวดทั้ง 63 ตราสัญลักษณ์แล้ว ผลปรากฏว่า ตราสัญลักษณ์ของ นายอนันต์ชัย เฟื่องนคร ได้รับรางวัลชนะเลิศ โดยรูปแบบของตราสัญลักษณ์ ประกอบด้วย พระนามย่อ ญสส.ซึ่งอักษร ญ.หมายถึง สมเด็จพระญาณสังวร เป็นราชทินนาม ใช้สีประจำวันประสูติ วันศุกร์ คือ สีฟ้า อักษร ส.ตัวแรก หมายถึง สมเด็จพระสังฆราช เป็นชื่อยศทางพระศาสนา ใช้สีขาว หมายถึง พระพุทธศาสนา อักษร ส.ตัวที่ 2 หมายถึง สกลมหาสังฆปริณายก คือ ประมุขสงฆ์ ใช้สีเหลือง เหนืออักษรย่อมีเศวตฉัตร 3 ชั้น หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเทียบเท่า พระองค์เจ้า เป็นพื้นสีขาว คาดแถบทอง 2 เส้น ฉัตรล่างประดับอุบะจำปาสีทอง ส่วนปลายแถบอักษรฉลองพระชันษาเป็นรูปช้าง เป็นพื้นสีขาว หมายถึง พระสกุลเดิม คชวัตร

ด้าน ท่านผู้หญิง บุตรี กล่าวว่า เนื่องในมหามงคล ทรงเจริญพระชันษา 96 ปี ในวันที่ 3 ต.ค. เพื่อให้การใช้สัญลักษณ์เป็นไปด้วยความเรียบร้อย สมพระเกียรติ จึงได้กำหนดข้อปฏิบัติการใช้ตราสัญลักษณ์ ดัง นี้ 1.ต้องประดิษฐานตราสัญลักษณ์ในที่เหมาะสมและสมพระเกียรติ 2.กรณีที่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนประชาชนทั่วไปจะนำตราสัญลักษณ์ไปใช้จัดทำสิ่งของใด ให้ขอความอนุเคราะห์จากพระพรหมมุนี ประธานคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณาอนุญาต ส่วนกรณีต้องการประดับตราสัญลักษณ์บนผืนผ้าหรือธง หรือวัสดุอื่นใด เพื่อเทิดพระเกียรติ โดยไม่มีวัตถุประสงค์หารายได้หรือมูลค่าใด สามารถประดับได้โดยไม่ต้องขออนุญาต แต่ต้องมีรูปแบบที่ถูกต้อง หรือต้องไม่ผิดเพี้ยนแต่อย่างใด

ธรรมะ เสมือนลมหายใจ

อาจารย์ครับ ผมก็ปฏิบัติธรรมมานานแล้ว ทำไมผมรู้สึกไม่ก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรมเลย ผมรู้สึกท้อแท้ครับอาจารย์

ก่อนที่ครูจะสอนเธอต่อไป ในความคิดของเธอ เธอคิดว่าการปฏิบัติธรรมนี้เปรียบเสมือนการกระทำอะไร ดังต่อไปนี้ ?”

เสมือนการเรียนในโรงเรียน
เสมือนการรักษาโรคทางใจ
เสมือนการสั่งสมบุญ
เสมือนการได้พักใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ หรือศาลาริมทาง
เสมือนการเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้

สิ่งแรกที่เธอทำผิดในการปฏิบัติธรรมก็คือการที่เธอตั้งความหวังในการปฏิบัติธรรม จิตใจของเธอเต็มไปด้วยความปรารถนาอันเร่าร้อน อันเป็นตัณหาที่คอยขัดขวางการปฏิบัติอันเป็นสภาวธรรมที่เธอยังไม่เข้าใจ และอาจารย์จะเทียบกับสภาพต่างๆที่เธออาจตั้งความหวังเอาไว้ในใจคือ ถ้าเธอเปรียบการปฏิบัติธรรม เสมือนสิ่งต่อไปนี้คือ
การเรียนในโรงเรียน เธอจะคิดว่าฉันต้องการเรียนให้ได้คะแนนสูงๆ เกรดดีๆ กว่าใครๆอยากได้เกรดเอทุกวิชา เธออยากจบไวๆ อยากบรรลุธรรมไวๆ เธอจะมีแต่ความโลภ ความเร่าร้อน นี่คือโทษของการคิดแบบนี้

ถ้าเธอมองว่าเป็นยารักษาโรคทางใจ เธอจะเฝ้าเพียรถามหมอว่าเมื่อไหร่โรคจะหายเสียที ฉันเสียเงิน เสียเวลามามากแล้วนะ เธอจะมีแต่ความโกรธ นี่คือโทษของการคิดแบบนี้

เสมือนการสั่งสมบุญ เธอจะมีเวลาให้การปฏิบัติน้อย แต่มุ่งแต่จะสั่งสมบุญเพื่อเป็นเสบียงเพื่อเดินทางในภพหน้า เพราะมิใช่เป้าหมายที่เธอหวัง นี่คือโทษของการคิดแบบนี้

เสมือนการได้หยุดพักใต้ร่มเงาไม้ใหญ่หรือศาลาริมทาง เธอจะพอใจที่จะพักใจคลายทุกข์ชั่วคราว แล้วก็จากไป หรือเธออาจจะภูมิใจในความสุขอันเนื่องจากสมาธิ จะทำให้เธอไม่ก้าวหน้าในการเจริญปัญญา เพราะความหลงเพลินในสมาธิสุขทำให้เธอเสียเวลาจากการหยุดพัก และเธอก็อาจไม่อยากเดินทางต่อไป เพื่อไปสู่จุดหมายปลายทาง เพราะคิดว่าสิ่งนี้เป็นเป้าหมายของตนในการปฏิบัติธรรม นี่คือโทษของการคิดแบบนี้

เสมือนการเดินทางอันเร่งรีบเพื่อไปยังจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจไว้ เธอจะจ้องแต่เป้าหมายด้วยจิตใจที่รุ่มร้อน อยากให้ถึงเส้นชัยเร็วๆ เธอจะไม่ใช้ชีวิตในปัจจุบัน เธอจะขาดสติ นี่คือโทษของความคิดแบบนี้

แล้วผมควรคิดอย่างไรดีครับ?” ลูกศิษย์ใจร้อนถาม

เธอควรคิดว่า ธรรมะนี้คือการมีชีวิตเพื่อที่จะเรียนรู้ความจริงของชีวิต มีชีวิตเพื่อที่จะมีชีวิต มีเพียงขณะปัจจุบันเท่านั้น ที่เราจะใช้เพื่อเรียนรู้กายและใจ เราเป็นเพียงผู้เรียนรู้ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริงในปัจจุบัน ไม่เร่งรีบ ไม่มุ่งหวัง ไม่ตั้งความปรารถนาใดๆให้ใจเราเร่าร้อน แต่ก็เต็มไปด้วยความสนุกสนานที่จะได้เรียนรู้ เธอจะเห็นการทำงานของใจที่ทำงานทางกายเช่นทางตา ทางหู และทางความคิด ไม่ว่าจะดีหรือร้ายพอใจหรือไม่พอใจ เมื่อเราได้เรียนรู้เราจะได้สติขึ้นมาในปัจจุบันขณะนั้นเอง เราจะเห็นว่าทุกอย่างล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ตั้งอยู่ไม่ได้ สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งหนึ่งก็แตกสลายแปรเปลี่ยนสภาพไป ตัวเราที่จริงแท้ไม่มีอยู่จริง ใจเธอก็จะคลายความยึดติด และใจก็จะค่อยๆเบาขึ้น

ถ้าเปรียบแล้วธรรมะคงเสมือนลมหายใจของเธอ ที่มีติดตัวเธอมาตั้งแต่เกิดทีเดียว เธอจะขาดเขาไม่ได้ และเขาจะอยู่กับเธอจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ลมหายใจนี้มีอยู่และเป็นจริงในปัจจุบันนี้เท่านั้น เป็นเรื่องแปลกที่เธอสัมผัสได้จริง เพราะว่าไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับลมหายใจอยู่เลยในอดีต และไม่มีความคาดหวังลมหายใจในอนาคต ไม่ว่าเธอจะสนใจเขาหรือไม่ เขาก็จะอยู่กับเธอ เป็นเพื่อนเธอตลอดเวลา เพียงแต่เธอใส่ใจกับเขา เรียนรู้ที่จะมีสติระลึกถึงเขาเสมอๆ

หายใจเข้าเพื่อรู้สึกถึงความเย็นและการเคลื่อนไหว หายใจออกเพื่อระลึกถึงความอบอุ่นและผ่อนคลาย ไม่รีบร้อนและไม่ต้องรู้ให้ตลอดเวลา รู้บ้างเป็นบางครั้งเผลอบ้างเป็นส่วนใหญ่ ก็จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เธอมีชีวิตในปัจจุบัน เธอไม่มุ่งหวังอนาคตที่ยังมาไม่ถึง ไม่อาลัยอดีตที่ล่วงไปแล้ว และเขาจะทำให้เธอกลับมารู้กายและใจในปัจจุบัน

เธอย่อมไม่ทวงถามเขาว่าเมื่อไหร่ ฉันจึงจะจบหลักสูตรการปฏิบัติธรรมเสียทีอย่างเนรคุณ เพราะไม่ว่าอย่างไร เธอก็ยังต้องหายใจอยู่ตลอดชีวิต

เธอย่อมไม่ทวงถามว่าเมื่อไหร่ฉันจะหายจากโรคทางใจเสียที เพราะเขาจะยังอยู่เป็นเพื่อนเธอต่อไปแม้เธอจะหายจากโรคคือกิเลสและความทุกข์ อย่างไรเธอก็ยังต้องอยู่กับการปฏิบัติธรรมตลอดไป

เธอย่อมไม่มัวหลงในบุญที่สุด เพราะการกำหนดลมหายใจนี้เลยขั้นทานและศีลแต่เลยไปถึงขั้นภาวนา เธอย่อมได้รับผลบุญอันคือความปีติในปัจจุบันนี่เอง

เพราะการกำหนดลมหายใจจะพาเธอสู่การปฏิบัติที่ลัดสั้นที่สุดอยู่แล้ว เธอไม่ต้องกลัวว่าวิถีทางนี้จะเนิ่นช้าแต่อย่างไร ถ้าจะสรุปสั้นๆให้จำง่ายๆ ก็คือ ธรรมะเสมือนลมหายใจของเรา การปฏิบัติธรรมก็คือ การมีชีวิตที่จะเรียนรู้กายและใจ เสมือนการหายใจอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง

เธออาจคิดว่าสิ่งนี้ยากเกินไปที่จะทำได้ อยากถามว่าเธอเสียลมหายใจไปเท่าไหร่แล้วในชาตินี้ และเสียมาแล้วกี่ชาติ ทำไมเธอไม่สำนึกถึงคุณค่าของเขา เรียนรู้และมีสติกับเขาเพื่อที่เขาจะได้เป็นเพื่อนที่ดีกับเธอไปจนถึงวันสุดท้ายของชีวิต

ครับอาจารย์" ลูกศิษย์จ้องมองใบหน้าของอาจารย์ ดวงตาฉายแววนักสู้ อิ่มเอิบด้วยกำลังใจ ก่อนเดินจากไปด้วยกิริยานอบน้อม ผมจะจำคำสอนของอาจารย์ไว้

ธรรมะเสมือนลมหายใจของเรา การปฏิบัติธรรมก็คือ การหายใจอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา : จากเรื่องสั้น ในนิตยสารออนไลน์ ธรรมะใกล้ตัว ฉบับที่ 73

8/27/2009

การเลี้ยงสัตว์หรือการกักขังสัตว์เอาไว้ อาจทำให้ผู้เลี้ยงไปเกิดเป็นเปรตได้





ถาม: .................................................

ตอบ: ก็ไม่มี ไม่ได้พูดเล่น มันสำคัญอยู่ที่เราทำใจได้ไหม การเลี้ยงสัตว์หรือการกักขังเอาไว้ ถ้าเราไม่ได้ทำความดีอะไรเลยแม้แต่อย่างเดียว ยกเว้นสัตว์เลี้ยงชนิดนั้น จะทำให้เราไปเกิดเป็นเวมานิกเปรต เปรตชนิดที่มีความเป็นทิพย์ มีความสวยงามเหมือนกับเทวดาทุกอย่าง แต่ออกจากวิมานไม่ได้ นี่หมายถึงไม่ได้ทำความดีอะไรไว้เลย






เวมานิกเปรต (เปรตมีวิมาน) library.ssru.ac.th



แต่ ถ้าเราทำความดีอย่างอื่นเอาไว้ เราเลี้ยงสัตว์ด้วยความเมตตา เลี้ยงดูเขาให้อยู่สภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีความสุขความสบายก็เป็นเมตตาบารมี เป็นการเพิ่มกุศลตัวอื่นให้เรา ถ้า เราเลี้ยงเอาไว้ขาย แต่ไม่ได้เลี้ยงเอาไว้ฆ่า ถามว่ามีโทษอะไรไหม ? ตอบว่าโทษในเรื่องของการละเมิดศีลไม่มี แต่จะมีผลในเรื่องของธรรมะและเมตตาบารมีบกพร่องเพราะอย่างน้อยถึงแม้เขาจะอยู่สุขสบายอย่างไร เขาก็ไม่ได้อยู่อย่างธรรมชาติ เขาถูกจำกัดเขต

ส่วน การเลี้ยงเพื่อขาย ถ้าเราตั้งใจว่าขณะที่เรามีหน้าที่ดูแลเขาอยู่ เราเลี้ยงดูให้เขาสุขสบายที่สุดตามอัตภาพ เท่าที่จะพึงมีได้ ส่วนคนซื้อไปเขาจะเอาไปทำอะไร เราไม่รับรู้ ทำใจอย่างนี้ได้ก็จะไม่มีโทษ แต่ว่าถ้าตั้งใจว่าจะฆ่าให้เขาไปขายก็เป็นโทษ มันสำคัญที่ว่าเราตัดกำลังใจได้ไหม

ถาม: ตัดกำลังใจ หมายถึง ไม่ว่าจะเป็นปลาสวยงาม หรือเอาไปบริโภคก็เหมือนกันใช่ไหมครับ ?

ตอบ: คนอื่นจะเอาไปทำอะไรเรื่องของเขา แต่ถ้าอยู่กับเราๆ เลี้ยงเขาให้ดีที่สุด แต่จริงๆ แล้วพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ว่า “มิจฉาวณิชชา” คือ การค้าขายที่ไม่สมควร มีอยู่ ๕ อย่างคือ ๑. ขายมนุษย์ ๒. ขายอาวุธ ๓. ขายยาพิษ ๔. ขายสัตว์มีชีวิต ๕. ขายสุรา ซึ่ง ๕ อย่างนี้พระองค์กล่าวว่า ถ้าเป็นพุทธมามะกะ ไม่ควรทำ เพราะคนที่ไม่เข้าใจเขาตำหนิเอาได้ คุณทำใจได้แค่ไหนก็ตามแต่คนอื่นเขาเกิดโทษ ทุกครั้งที่เขาเห็นเรา เขาจะพูดได้ว่าไอ้นี่เข้าวัดเข้าวาประสาอะไร ก็กลายเป็นว่าเขาเองหาเรื่องให้ตัวเขาเดือดร้อน แต่ผลก็คือเกิดจากเรา จึงเป็นสิ่งที่เราไม่สมควรทำเพื่อป้องกันการครหานินทา จะเกิดทุกข์เกิดโทษกับเขา

ถาม: พี่ชายเขาเลี้ยงปลาสวยงามครับ

ตอบ: ก็เลี้ยงดูเขาให้ดี พี่เขยก็เลี้ยงปลาคราฟ ไฟดับแต่ละทีต้องวิ่งซื้อออกซิเจนเป็นถังๆ ไปช่วย ลักษณะนี้ทำด้วยตัวเมตตาและอีกอย่างเขาเลี้ยงในลักษณะที่คล้ายกับธรรมชาติ คือเป็นสระน้ำหมุนเวียน และมีร่องน้ำให้ปลาว่ายไป แล้วย้อนกลับมาได้ ซึ่งก็ยังไม่ใช่ธรรมชาติที่แท้จริงของมัน แต่ดีอยู่อย่างก็คือ เขาจะมีศัตรูน้อย เพราะอยู่ใกล้การดูแลของเราและอีกอย่างคือ สัตว์เดรัจฉานเมื่ออยู่ใกล้คนแล้ว ใจมันเกาะคนก็จะเกิดเป็นคน ถ้าใจมันเกาะพระ ก็จะเกิดเป็นเทวดา เดรัจฉานที่มีโอกาสได้อยู่ใกล้คน กรรมที่เป็นเดรัจฉานก็จะหมดอยู่แล้ว แต่เราจะตัดสินว่าสัตว์ทุกตัวเหมือนกันไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้า เขาอยู่กับเรา ไม่ว่าจะเลี้ยงเป็นอาชีพ ก็ให้ดูแลมันให้ดีที่สุด เต็มสติเต็มกำลังที่เราทำได้ แล้วหลังจากนั้น คนซื้อไปเขาจะเอาไปทำอะไร ก็เรื่องของเขา

ถาม: ถ้าเป็นเช่นนี้ ท่านที่เป็นพระโสดาบัน จะมองเป็นอย่างไร ?

ตอบ: ท่านที่เป็นพระโสดาบัน จิตของท่านจะละเอียด อะไรที่จะเป็นทุกข์ เป็นโทษแม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ท่านจะพยายามเลี่ยงมัน




สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนมกราคม ๒๕๔๗(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ



. __________________
สร้างสมเด็จองค์ปฐมหน้าตัก 10 วา
http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=65729


ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ "สมเด็จองค์ปฐม" ก้บวัดธรรมยาน

http://board.palungjit.com/f105/ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์-สมเด็จองค์ปฐม-ก้บวัดธรรมญาณ-119095.html

8/26/2009

"พระพุทธรูปสำคัญ ๆ ก็มีเทวดารักษาทั้งนั้นแหละ" โดยหลวงพ่อจรัญ

"พระพุทธรูปสำคัญ ๆ ก็มีเทวดารักษาทั้งนั้นแหละ" โดยหลวงพ่อจรัญ







“หลวงพ่อครับ กระผมอยากทราบความคิดเห็นของหลวงพ่อที่มีต่อเทวดาที่ เขาสวดชุมนุมเทวดานั้น จะมีจริงหรือไม่”

หลวงพ่อจรัญท่านตอบในทันทีว่า “อาตมาเชื่อ ทำไมจึงเชื่อ อาตมาจะเล่าให้ฟัง”

แต่เดิมนั้นอาตมาไม่เคยเชื่อเรื่องเทวดา เพราะอาตมาไม่เคยสัมผัสนี่ แล้วอาตมาจะไปเชื่ออย่างไร ในเมื่อแม่ชีก้อนทอง ปานเณร อายุ ๘๗ ปี มาบอกกับอาตมาว่า เทวดามาสอนสวดมนต์

แม่ชีมาเรียนกรรมฐาน อาตมาสอนให้เดินจงกรม ให้พิจารณาเห็นหนอ แต่แม่ชีเดินจงกรมแล้วไปคิดถึงเทวดา ไปเพ่งเทวดาเข้า เทวดาก็มา แกก็เก็บเงียบไว้ แต่แล้วในที่สุดแกก็เก็บไม่ไหวต้องการให้มีใครสักคนได้รับรู้เอาไว้ แกจึงมาบอกอาตมาว่า

“หลวงพ่อ ดิฉันเห็นเทวดาเจ้าค่ะ มาสอนสวดมนต์ให้ด้วยเจ้าค่ะ”

“เทวดาที่ไหนกับแม่ชีเอ๊ย อาตมาไม่เชื่อหรอก”
แต่แม่ชีก็ว่าไม่ได้โกหก อาตมาถามว่า “เทวดามาตอนไหนเล่า” แม่ชีบอกว่า

“พอดิฉันได้ยินนาฬิกาตี ๑๒ เป็นเวลาเที่ยงคืนเทวดาก็ปรากฏให้ดิฉันเห็นไม่ได้มาเ ปล่านะคะ มาสอนให้ดิฉันสวดมนต์บทเมตตาใหญ่ ดิฉันจึงสวดได้”





อาตมาก็บอกให้แม่ชีไปถามเทวดาว่าอยู่ที่ไหน วันรุ่งขึ้นแม่ชีก็มาเล่าให้ฟังว่า
เทวดาอยู่ที่ต้นพิกุล ต้นพิกุลที่ว่านี่ อาตมาถามผู้เชี่ยวชาญด้านต้นไม้ เช่นหลวงสมานวนกิจ อธิบดีกรมป่าไม่มาที่นี่ ในตอนที่แม่ชีเห็นเทวดา ประมาณ พ.ศ. ๒๕๐๐ หลวงสมานฯ ว่า อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี เทวดาบอกแม่ชีว่า เดิมอยู่บนสวรรค์ แล้วละเมิดกฎต่อนางฟ้าจึงถูกให้ลงมาอาศัยวิมานต้นพิกุลอยู่จนกว่าจะหมดกรรม แล้วก็บอกวันเวลาเอาไว้ชัดเจน อาตมาก็จดไว้แล้วก็เป็นจริง พอถึงเวลาก็เหมือนที่เทวดาให้สังเกตสังกา

อาตมาก็ให้แม่ชีไปถามเทวดาว่า ไปชวนมนุษย์สวดมนต์ทุกบ้านหรือไม่ เพราะอาตมาเริ่มจะเชื่อ เพราะบทเมตตาใหญ่ที่แม่ชีสวดนี่ อาตมาไปหาที่ไหน ๆ ก็ไม่เจอ จนกระทั่งไปรู้ว่า สมเด็จพระสังฆราช (แพ) วัดสุทัศน์ ได้นำเอาไปต่อท้ายพุทธมนต์พุทธาภิเษก และตำรับนั้นไปตกอยู่กับ พระครูลมูล วัดสุทัศน์ฯ พระครูลมูลนี้เป็นศิษย์สมเด็จพระสังฆราชแพนะ ทำสมเด็จเนื้อผงดีมากนะ มีละก็เก็บเอาไว้ให้ดีเชียว

อาตมาไปขอตำรับมาตรวจสอบที่วัด ท่านพระครูลมูลบอกว่าไม่ได้ๆ ตำรับนี้ของอาจารย์ อาตมาให้ใครยืมไม่ได้ อาตมาก็บอกว่าไม่ได้เอาไปเลย แต่จะเอาไปสอบทานอะไรหน่อย แล้วก็เล่าความจริงให้ท่านฟัง ท่านก็ใจอ่อนบอกว่า เอ้าเอาไปเถอะให้ยืมเจ็ดวัน แล้วเอามาส่งคืนนะ อาตมาก็เอามาเป็นตัวขอมทั้งนั้น อาตมาก็บอกแม่ชีว่า มาท่องให้อาตมาฟังหน่อย แม่ชีก็เริ่มท่อง ก็แกอายุ ๘๗ แล้วนี่นะ ก็ยานคางกว่าจะหลุดออกมาได้ตามประสาคนแก่

โยมเชื่อไหมล่ะว่า แม่ชีก้อนทอง คนนี้เป็นคนไม่รู้หนังสือ อ่านหนังสือไม่ออก ตัวขอมยิ่งไม่กระดิกใหญ่ แล้วเมตตาใหญ่ที่แกท่อง อาตมาก็ไม่เคยเห็นมาก่อน แกท่องด้วยความมั่นใจ อาตมาสอบกับต้นฉบับขอมของท่านพระครูลมูล ปรากฏว่าไงรู้ไหมโยม


“ตั้งแต่ตัวแรกจนตัวสุดท้ายไม่มีผิดเลย”

อาตมาถามว่าเทวดาไปชวนคนสวดมนต์ทุกบ้านหรือเปล่า เทวดาบอกกับแม่ชีมาว่า

“เปล่า บ้านไหนจัดที่บูชามีโต๊ะหมู่ มีพระพุทธรูปตั้งไว้ แล้วเจ้าของบ้านสวดมนต์ เทวดาก็มาร่วมสวดมนต์ด้วย พระพุทธรูปเหล่านั้น ที่ไม่ได้เข้าพิธีอะไร เช่ามาบูชาจากเสาชิงช้า หากเจ้าของบ้านเอามาสวดมนต์ไหว้พระทุกวันด้วยใจศรัทธา เทวดามาสวดมนต์ หนักเข้าก็เลยเข้าสิงรักษาองค์พระเอาไว้ ก็เลยศักดิ์สิทธิ์ใหญ่ ทำให้เกิดสิริมงคลในครัวเรือน"

หลวงพ่อพระพุทธโสธรนั้น คนกราบไหว้บูชากันมากเลยมีเทวดามารักษา ๑๖ องค์ ทำให้เกิดอภินิหารนานาประการ พระพุทธรูปสำคัญ ๆ ก็มีเทวดารักษาทั้งนั้นแหละ

เทวดาท่านว่าอย่างนั้นและเทวดาก็ว่าบ้านไหนมีพระพุทธ รูปแค่ตั้งโชว์ เทวดาก็ไม่ไปสวดมนต์ เพราะร้อยวันพันปีไม่เคยทำวัตรสวดมนต์ เทวดาก็ไม่มา ผ่านเลยไปเลย มาไม่ลงมาสวดมนต์ คนเราก็มีเทวดารักษา คนดีมีศีลธรรม เทวดาที่เป็นบัณฑิตรักษา ถ้าคนชั่วขี้เหล้าเมายาทำชั่ว เทวดาพาลพวกมิจฉาทิฐิก็มารักษา

อาตมาถามต่อไปว่าแล้ว “เวลาพระสัคเคกาเมจะรูเป เทวดาลงมาหรือไม่”เทวดาว่า “รีบลงมา เทวดาบัณฑิตมาก่อน พอเห็นเจ้าภาพกินเหล้าเมาหงำกันในงานบุญก็เบ้หน้าแล้ วกลับ เทวดาพาลก็เข้ามาแทนที่ เลยเกิดเรื่องเกิดราวตูมตามนั่นแหละ
-----
ที่มา:
"พระพุทธรูปสำคัญ ๆ ก็มีเทวดารักษาทั้งนั้นแหละ" โดยหลวงพ่อจรัญ

“อุเบกขา..ประตูผ่านสู่ความสงบ”

“อุเบกขา..ประตูผ่านสู่ความสงบ”

พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์





-------------------------------------------
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๒๕ ได้บัญญัติความหมายของ คำว่า “อุเบกขา” ไว้ว่า คือ “ความเที่ยงธรรม, ความวางตัวเป็นกลาง,ความวางใจเฉยอยู่” คำว่า "วางใจเฉย" นี้ มักจะมีความเข้าใจผิดกันโดยทั่วไปว่า ไม่ทำอะไรเลย ที่ถูกต้องแล้ว จะต้องพิจารณาตามหลักวิชาพุทธศาสตร์ ซึ่งได้อธิบายขยายความให้เห็นชัดเจนเพิ่มขึ้น ในพระอภิธรรมท่านได้จำแนกอุเบกขาออก และจัดไว้เป็น ๒ หมวด คือ หมวดเวทนา เรียกว่า "อุเบกขาเวทนา" ซึ่งเป็นสภาพของจิตที่ถูกกระตุ้น ถูกสัมผัสจากภายนอก ผ่านประตูทางกายทั้งห้า หรือ ปัญจมทวาร คือ ตา ลิ้น จมูก หู และ ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กับ ประตูทางใจ หรือ มโนทวาร ซึ่งเกิดจากการทำงานของสมอง ให้เกิดความรู้สึก รับรู้ไว้เฉยๆ โดยมิได้เกาะยึดติดไว้เป็นอารมณ์ แล้วจึงคืนเข้าสู่ภาวะการเป็นอุเบกขา สงบนิ่ง กับอีกหมวดหนึ่ง คือ หมวดสังขาร ซึ่งเป็นสภาพของจิตที่ถูกสัมผัสแล้ว มิได้วางเฉยทันที กลับเกาะติด ปรุงแต่งจนบังเกิดเป็นอารมณ์ เมื่อกลับคืนเข้าสู่เป็นภาวะปกติ คือ อุเบกขา แล้ว ก็สงบนิ่ง มิได้มีอารมณ์นั้นคั่งค้าง หลงเหลืออยู่ หรือตกเป็นทาสของอารมณ์นั้น เป็นเหตุให้จิตมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง อยู่เสมอ



ในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อสร้าง และพัฒนาปัญญาของผมในระยะแรกๆ ผมยอมรับว่า ได้ให้ความสำคัญของ "อุเบกขา" ไว้ไม่มากนัก และรู้สึกแปลกใจอยู่ตลอดมาว่า เหตุใด ในพระอภิธรรมจึงได้ให้ความสำคัญของ "อุเบกขา" ไว้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับฌาณสมาบัติ หรือ โพธิฌงค์ อยู่มาก จึงน่าจะหยิบยกหัวข้อธรรมเรื่องนี้มา ใคร่ครวญ ไตร่ตรองพิจารณาหาเหตุผลกัน

เราอาจอธิบายความหมายของคำว่า "อุเบกขา" ในเชิงอุปมาอุปมัยเพื่อให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้
ขอให้ผู้ที่ศึกษาพิจารณาที่คนโทแก้วใสที่บรรจุน้ำ และ มีสิ่งสกปรกเจือปนอยู่จำนวนหนึ่ง ในขณะที่น้ำยังสงบนิ่งให้ดี จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า น้ำในคนโทนั้นจะแบ่งแยกระหว่างส่วนที่เป็นน้ำสะอาดบริสุทธิ์ กับ ส่วนที่เป็นสิ่งสกปรกเจือปนอยู่ ออกจากกันตามธรรมชาติ เราสามารถมองผ่านน้ำในคนโทไปได้อย่างทะลุปรุโปร่ง น้ำเป็นของเหลว การกระเพื่อมของน้ำจะเกิดขึ้นเมื่อมีสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากภายนอกมากระทบ เช่น การขว้างก้อนหินลงในน้ำ เอาช้อนลงไปกวน ปล่อยน้ำจากก๊อกให้ไหลลงไปในคนโท การยกคนโทน้ำขึ้นมาเขย่า ฯลฯ น้ำที่อยู่ในคนโทจะเกิดการกระเพื่อมเป็นระลอกคลื่น และเป็นเหตุให้สิ่งสกปรกที่ตกตะกอนอยู่ใต้ท้องน้ำ หรือ ก้นคนโทถูกกระตุ้นไม่ให้สงบนิ่ง เกิดการฟุ้งกระจายลอยตัว เคลื่อนไหวไปมาขึ้นลงในระดับต่างๆ ของน้ำ ทำให้เราเห็นได้ทันทีว่า น้ำในคนโทนั้นมีลักษณะขุ่นมัว มากน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณของตะกอนที่เจือปนอยู่ ถ้าน้ำในคนโทขุ่นมัวมาก เราจะไม่สามารถมองผ่านไปได้เลย หากขุ่นมัวไม่มาก เรายังอาจมองผ่านไปได้ แต่ไม่ชัดเจน เมื่อใดก็ตามที่น้ำในคนโทกลับมาอยู่ในสภาพปกติ คือ นิ่งเฉย ไม่ถูกเขย่า ไม่ถูกรบกวน จากสิ่งภายนอก ตะกอนที่เจือปนอยู่จะแยกตัวออกจากน้ำบริสุทธิ์ตกลงไปรวมกันอยู่ที่ก้นคนโท โดยธรรมชาติ น้ำในคนโทจะเริ่มใสขึ้นตามลำดับ
สภาพจิตวิญญาณของเราก็เปรียบได้กับน้ำที่บรรจุอยู่ในคนโทดังกล่าวข้างต้น หากไม่มีสิ่งใดผ่านประตูทางกายทั้งห้า หรือ ปัญจมทวาร คือ ตา ลิ้น จมูก หู และ ส่วนหนึ่งส่วนใดของร่างกาย กับ ประตูทางใจ หรือ มโนทวาร ซึ่งเกิดจากการทำงานของสมอง เข้าไปกระทบ จิตจะอยู่ในสภาพเป็นอุเบกขา ต่อจากนั้น ก็จะสงบนิ่ง ไม่เกิดอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หากเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพนี้ตลอดไปอย่างต่อเนื่องจิตจะบังเกิด เป็นสมาธิขึ้น สภาวะของจิตในลักษณะนี้ เปรียบเสมือนกับคนโทน้ำที่ไม่ถูกยกขึ้นมาเขย่าให้สั่นสะเทือน น้ำในคนโทจึงอยู่ในสภาพสงบนิ่ง มีความใสสะอาดบริสุทธิ์หมดจด โปร่งใส จึงบังเกิดความสว่างเจิดจ้าอยู่ในใจ เป็นวิชชานำไปสู่การพัฒนาปัญญาได้ด้วยดี
ข้อแตกต่างระหว่างอุเบกขาในหมวดเวทนา กับ อุเบกขาในหมวดสังขาร อาจอธิบายในเชิงอุปมาอุปมัยได้ดังนี้

เมื่อเรายกคนโทน้ำดังกล่าวขึ้นจากที่ตั้งอยู่เดิม น้ำในคนโทนั้นย่อมจะเกิดการกระเพื่อม ไหวตัว เป็นเหตุให้สิ่งสกปรกที่ตกตะกอนอยู่ที่ก้นคนโทบางส่วนขยับตัวฟุ้งลอยขึ้นมา น้ำในคนโทนั้นจะขุ่นมัว มากน้อยขึ้นอยู่กับแรงสัมผัสจากมือของเรากับคนโทนั้น เมื่อเรายกคนโทนั้นขึ้นมาแล้ว ประคองไว้ หรือ ค่อยๆ วางลงไปไว้ที่เดิม สักครู่เดียว สิ่งสกปรกที่เจือปนในน้ำซึ่งฟุ้งขึ้นมาจะค่อยๆ ตกตะกอนกลับลงไปสู่ที่เดิม น้ำในคนโทจะเริ่มใสสะอาดขึ้นอีกครั้ง เปรียบได้กับ อุเบกขาในหมวดเวทนา แต่ถ้าเป็นกรณี อุเบกขาในหมวดสังขาร ก็เปรียบเสมือนกับ เมื่อเรายกคนโทนั้นขึ้นแล้ว แทนที่จะค่อยๆ วางลงไปไว้ที่เดิม กลับเขย่าไปมา ไม่หยุดนิ่ง สิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ในน้ำในคนโทจะยิ่งกระจายฟุ้งออกมามากยิ่งขึ้น รวมทั้งส่วนที่ตกตะกอนจับเป็นตะไคร่อยู่ตามผิวในของคนโท สภาพของน้ำในคนโทจะขุ่นมัวมากกว่าข้ออุปมาอุปมัยครั้งแรกเกี่ยวกับอุเบกขาใน หมวดเวทนา ถึงแม้ว่า เราจะวางคนโทลงไว้ที่เดิม ก็ต้องใช้เวลานานกว่าน้ำในคนโทจะสงบนิ่ง และ สิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่จะตกตะกอนกลับไปสู่ภาวะเดิม
น้ำในคนโทที่ฟุ้งกระจายจากการสั่นสะเทือนของคนโทจะโดยวิธีใดก็ตาม ย่อมทำให้เกิดความมืด ขุ่นมัว ปิดบังแสงสว่างมิให้ผ่านได้อย่างเต็มที่ จึงเป็นเหตุทำให้เราไม่สามารถเห็นความบริสุทธิ์ ใสสะอาดของน้ำในคนโทนั้นได้ฉันใด สภาพของจิตที่มิได้เป็นอุเบกขาย่อมถูกกิเลสราคะต่างๆ บดบังมิให้เกิดปัญญา สัมมาทิฏฐิขึ้นได้ก็ฉันนั้น

ผมขอยกตัวอย่างให้ท่านผู้อ่านได้เห็นชัดเจนยิ่งขึ้นอีกสักหนึ่งเรื่อง คือ
เมื่อเราเดินไปตามถนน เหลือบไปเห็นสุภาพสตรีท่านหนึ่งแต่งตัวดี มีรสนิยมสูง แต่ก็มิได้สนใจที่จะเฝ้าติดตามสังเกตดูต่อไป ปล่อยให้เธอเดินผ่านไป อารมณ์ หรือ ความรู้สึกที่มีต่อเธอ ก็จะปรากฏอยู่ในจิตใจของท่านเพียงแวบเดียว มิได้มีสิ่งใดหลงเหลือให้มาเฝ้าคิดอีกต่อไปกลับคืนเข้าสู่สภาพปกติ คือ เป็นอุเบกขา วางเฉยไม่ยึดไว้เป็นอารมณ์อีกต่อไป จะมีเหลือบ้างในส่วนของสมองที่เก็บความจำ หรือ ที่เป็นคำศัพท์บาลีว่า "สัญญา" ซึ่งจะเรียกกลับมาเมื่อพบเธอผู้นั้นอีกครั้งหนึ่งเป็นการทบทวนความจำว่า เคยพบกันครั้งหนึ่ง จะพบกันเมื่อใด ที่ไหนนั้น อาจจะจำไม่ได้ หากเพิ่งจะพบกันเมื่อสองสามวันนี้ ก็ยังพอจะจดจำได้ สภาพของจิตเป็นอุเบกขาในลักษณะนี้ จึงจัดอยู่ในหมวดเวทนา

ในกรณีเดียวกัน เมื่อเราได้พบสุภาพสตรีท่านนั้นแล้ว จิตได้ให้ความสนใจ รับรู้ปรุงแต่งให้บังเกิดอารมณ์พอใจ หรือ อิฏฐารมณ์ ว่า เธอมีรูปร่าง ส่วนสัดสวยงาม มีกริยาท่าทางสุภาพเรียบร้อย มีลักษณะผู้ดี ใช้เครื่องแต่งกาย เครื่องอาภรณ์ประดับกาย ที่เหมาะสมกับกาลเทศะ แสดงรสนิยมของเธอได้ชัดเจน เมื่อผ่านเธอ ก็เฝ้าที่จะมองตามเธอไปด้วยอารมณ์ที่พอใจ จนกระทั่งลับตา กว่าจิตจะหยุดนิ่ง กลับเข้าสู่อารมณ์ปกติเป็นอุเบกขา ก็ต้องใช้เวลานานอยู่พอสมควร สภาพของจิตอุเบกขาในลักษณะนี้ จึงจัดอยู่ในหมวดสังขาร
อุเบกขาจัดเป็นองค์หนึ่งในพรหมวิหารสี่ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เป็นคุณลักษณะสำคัญที่จำเป็นต้องมีอยู่ประจำในจิตใจของบุคคลที่เป็นบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ หัวหน้าครอบครัว และนักปกครองทั้งปวง หรือที่เรียกรวมๆ กันว่า ผู้ใหญ่ และจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้แข็งแกร่งอยู่เสมอ ศัตรูสำคัญของจิตอุเบกขา ได้แก่ อคติ ซึ่งเป็นคำศัพท์บาลีแปลว่า "ความลำเอียง" มีอยู่ ๔ ลักษณะ ได้แก่ ฉันทาคติ คือ ลำเอียงเพราะความรัก ความโลภ โทสาคติ คือ ลำเอียงเพราะความโกรธ โมหาคติ คือ ลำเอียงเพราะความเขลาความหลง และ ภยาคติ คือ ลำเอียงเพราะความกลัว

อุเบกขา จึงมิได้มีความหมายว่า การอยู่เฉยๆ ไม่ทำอะไรเลย แต่หมายถึงว่า เราจะทำอะไรก็ได้ แต่จะต้องกระทำด้วยความเป็นกลาง ปราศจากอคติทั้งปวง กระทำอย่างมีสติ มีปัญญา มีสัมมาทิฏฐิ คือ ความรู้ว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก และกฎของกรรมนั้นเป็นอย่างไร

พลังสำคัญที่จะคอยค้ำจุนจิตให้บังเกิดความเป็นอุเบกขา อยู่ในสภาพที่ไม่หวั่นไหว โยกสั่นคลอนคล้อยไปกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ผ่านทวารทั้งหก ทวารหนึ่งทวารใด หรือ หลายทวาร เข้ามากระทบจิต คือ พลังจากสติ ข้ออุปมาอุปมัยในวรรคนี้ คือ

อุเบกขา เปรียบเสมือนเสาที่ปักอยู่บนดิน คือ สติ หากสภาพของดินเป็นดินเหนียว มิใช่ดินโคลนเลน และเสานั้นถูกปักไว้ในดินลึกเพียงพอ ถึงแม้ว่า จะมีมนุษย์ สัตว์ใด หรือ สิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น แรงลม กระแสน้ำ มาโยกคลอน สัมผัสกระทบกระแทกด้วยความแรงมากเพียงใดก็ตาม เสานั้นก็จะไม่โอนเอียง โยกคลอนไปได้ หรือ คนโทน้ำ ที่ถูกวางไว้บนพื้นที่แข็งแกร่ง ถึงแม้ว่า จะมีการเคลื่อนไหวของคน สัตว์ ยวดยานพาหนะผ่านไปมาอย่างไรก็ตาม พื้นที่รองรับคนโทน้ำนั้นก็มิได้สั่นสะเทือน ทั้งคนโท และน้ำที่บรรจุอยู่ในคนโทนั้นก็จะอยู่ในสภาพสงบนิ่ง สิ่งสกปรกที่ตกเป็นตะกอนอยู่ก็จะไม่ฟุ้งกระจายขึ้นมา

คำพังเพยโบราณที่ว่า "ทำตนเป็นไม้หลักปักขี้ควาย" เป็นข้อความเปรียบเปรยเมื่อหมายถึง ท่านผู้ใหญ่ที่มีความลำเอียง ไม่เป็นตัวของตัวเอง เพราะขาดพลังสติ หรือมีไม่เพียงพอที่จะคอยกำกับดูแล เฝ้าเตือนให้จิตระลึก ไตร่ตรอง รู้เท่าทันด้วยใจเป็นกลาง คือ เป็นอุเบกขาว่า เรื่องใดชอบ หรือไม่ชอบ ไม่ถูก หรือไม่ควร ด้วยเหตุผล

ผู้ใดก็ตามที่หมั่นฝึกฝน และพัฒนาจิตให้เป็นอุเบกขาได้จนเป็นนิสัย จิตของผู้นั้นย่อมมีความบริสุทธิ์ สะอาด เป็นกุศลจิตที่สงบนิ่ง สามารถระงับยับยั้ง หรือดับกิเลสราคะทั้งปวง คือ ความโกรธพยาบาท ความโลภ และความหลงได้โดยมิต้องสงสัย บุคคลที่มีคุณลักษณะดังกล่าว เราจะสังเกตเห็นได้ง่ายว่า ท่านจะเป็นผู้ที่มีอารมณ์เย็น ไม่ปรากฏอารมณ์โกรธ และแสดงความโลภให้เห็นมีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณา และใฝ่แต่การบุญกุศล มีกายกิริยาและวาจาสำรวม ดวงตามีประกายสดใส มีผิวพรรณสะอาด และใบหน้าอิ่มเอิบอยู่เสมอ ดังเช่น ท่านพระปูชนียาจารย์ หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย เป็นต้น

ดังนั้น ในพระอภิธรรมจึงได้แสดงไว้เป็นเหตุผลที่สำคัญ และจำเป็นของอุเบกขาไว้เป็นสาระสำคัญว่า

เมื่อ ใดก็ตามที่จิตได้เข้าสู่สภาวะการเป็นอุเบกขา สงบนิ่งเป็นอารมณ์เดียว มีองค์ธรรมอยู่เพียง ๒ ประการ คือ อุเบกขา และ เอกัคคตา แล้ว จิตจะเข้าสู่วิถีบังเกิดเป็นอัปปนา หรือ สมถสมาธิที่สร้างฌาณสมาบัติขึ้นได้ เริ่มตั้งแต่รูปฌาณสมาบัติชั้นที่ ๕ (ตามพระอภิธรรม) ขึ้นไปจนถึงอรูปฌาณสมาบัติ และนิโรธสมาบัติ ซึ่งเป็นทางผ่านสุดท้ายเข้าสู่นิพพานเป็นที่สุด

------------------------------------------------------

ขอบคุณที่มา:
http://web.schq.mi.th/~suriyon/suri_a8.htm

8/25/2009

ประมวล ศีลของภิกษุณีและพระภิกษุ ฉบับสมบูรณ์

ประมวล ศีลของภิกษุณีและพระภิกษุ ฉบับสมบูรณ์

ศีลของภิกษุณี และ พระภิกษุ

ภิกษุณีมีศิล ๓๑๑ ข้อ
พระภิกษุต้องถือศีล ๒๒๗ ข้อ อันได้แก่

ศีล ๒๒๗ ข้อที่เป็นวินัยของสงฆ์ ทำผิดถือว่าเป็นอาบัติ สามารถแบ่งออกได้เป็นลำดับขั้น ตั้งแต่ขั้นรุนแรงจนกระทั่งเบาที่สุดได้ดังนี้ ได้แก่
ปาราชิก มี ๔ ข้อ
สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ
อนิยต มี ๒ ข้อ (อาบัติที่ไม่แน่ว่าจะปรับข้อไหน)
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ ข้อ (อาบัติที่ต้องสละสิ่งของว่าด้วยเรื่องจีวร ไหม บาตร อย่างละ ๑๐ข้อ)
ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่ไม่ต้องสละสิ่งของ)
ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อ (ว่าด้วยอาบัติที่พึงแสดงคืน)
เสขิยะ (ข้อที่ภิกษุพึงศึกษาเรื่องมารยาท) แบ่งเป็น
สารูปมี ๒๖ ข้อ (ความเหมาะสมในการเป็นสมณะ)
โภชนปฏิสังยุตต์ มี ๓๐ ข้อ (ว่าด้วยการฉันอาหาร)
ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อ (ว่าด้วยการแสดงธรรม)
ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ (เบ็ดเตล็ด)
อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อ (ธรรมสำหรับระงับอธิกรณ์)

รวมทั้งหมดแล้ว ๒๒๗ ข้อ ผิดข้อใดข้อหนึ่งถือว่าต้องอาบัติ การแสดงอาบัติสามารถกล่าวกับพระภิฏษุรูปอื่นเพื่อเป็นการแสดงตนต่อความผิด ได้ แต่ถ้าถึงขั้นปาราชิกก็ต้องสึกอย่างเดียว

ปาราชิก มี ๔ ข้อได้แก่
๑. เสพเมถุน แม้กับสัตว์เดรัจฉานตัวเมีย (ร่วมสังวาสกับคนหรือสัตว์)
๒. ถือเอาทรัพย์ที่เจ้าของไม่ได้ให้มาเป็นของตน จากบ้านก็ดี จากป่าก็ดี (ขโมย)
๓. พรากกายมนุษย์จากชีวิต (ฆ่าคน)หรือแสวงหาศาสตราอันจะนำไปสู่ความตายแก่ร่างกายมนุษย์
๔. กล่าวอวดอุตตริมนุสสธัมม์ อันเป็นความเห็นอย่างประเสริฐ อย่างสามารถ น้อมเข้าในตัวว่า ข้าพเจ้ารู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าเห็นอย่างนี้ (ไม่รู้จริง แต่โอ้อวดความสามารถของตัวเอง)

สังฆาทิเสส มี ๑๓ ข้อ ถือเป็นความผิดหากทำสิ่งใดต่อไปนี้
๑.ปล่อยน้ำอสุจิด้วยความจงใจ เว้นไว้แต่ฝัน
๒.เคล้าคลึง จับมือ จับช้องผม ลูบคลำ จับต้องอวัยวะอันใดก็ตามของสตรีเพศ
๓.พูดจาหยาบคาย เกาะแกะสตรีเพศ เกี้ยวพาราสี
๔.การกล่าวถึงคุณในการบำเรอตนด้วยกาม หรือถอยคำพาดพิงเมถุน
๕.ทำตัวเป็นสื่อรัก บอกความต้องการของอีกฝ่ายให้กับหญิงหรือชาย แม้สามีกับภรรยา หรือแม้แต่หญิงขายบริการ
๖.สร้างกุฏิด้วยการขอ
๗.สร้างวิหารใหญ่ โดยพระสงฆ์มิได้กำหนดที่ รุกรานคนอื่น
๘.แกล้งใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๙.แกล้งสมมุติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
๑๐.ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน
๑๑.เป็นพวกของผู้ที่ทำสงฆ์ให้แตกกัน
๑๒.เป็นผู้ว่ายากสอนยาก และต้องโดนเตือนถึง 3 ครั้ง
๑๓. ทำตัวเป็นเหมือนคนรับใช้ ประจบคฤหัสถ์

อนิยตกัณฑ์ มี ๒ ข้อได้แก่
๑. การนั่งในที่ลับตา มีอาสนะกำบังอยู่กับสตรีเพศ และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม ๓ ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ ปาราชิกก็ดี สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว
๒. ในสถานที่ที่ไม่เป็นที่ลับตาเสียทีเดียว แต่เป็นที่ที่จะพูดจาค่อนแคะสตรีเพศได้สองต่อสองกับภิกษุผู้เดียว และมีผู้มาเห็นเป็นผู้ที่เชื่อถือได้พูดขึ้นด้วยธรรม 2 ประการอันใดอันหนึ่งกล่าวแก่ภิกษุนั้นได้แก่ สังฆาทิเสสก็ดี หรือปาจิตตีย์ก็ดี ภิกษุนั้นถือว่ามีความผิดตามที่อุบาสกผู้นั้นกล่าว

นิสสัคคิยปาจิตตีย์ มี ๓๐ ข้อ ถือเป็นความผิดได้แก่
๑.เก็บจีวรที่เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒.อยู่โดยปราศจากจีวรแม้แต่คืนเดียว
๓.เก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกินกำหนด ๑ เดือน
๔.ใช้ให้ภิกษุณีซักผ้า
๕.รับจีวรจากมือของภิกษุณี
๖.ขอจีวรจากคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่ญาติ เว้นแต่จีวรหายหรือถูกขโมย
๗.รับจีวรเกินกว่าที่ใช้นุ่ง เมื่อจีวรถูกชิงหรือหายไป
๘.พูดทำนองขอจีวรดีๆ กว่าที่เขากำหนดจะถวายไว้แต่เดิม
๙.พูดให้เขารวมกันซื้อจีวรดีๆ มาถวาย
๑๐.ทวงจีวรจากคนที่รับอาสาเพื่อซื้อจีวรถวายเกินกว่า ๓ ครั้ง
๑๑.หล่อเครื่องปูนั่งที่เจือด้วยไหม
๑๒.หล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม (ขนแพะ แกะ) ดำล้วน
๑๓.ใช้ขนเจียมดำเกิน ๒ ส่วนใน ๔ ส่วน หล่อเครื่องปูนั่ง
๑๔.หล่อเครื่องปูนั่งใหม่ เมื่อของเดิมยังใช้ไม่ถึง ๖ ปี
๑๕.เมื่อหล่อเครื่องปูนั่งใหม่ ให้เอาของเก่าเจือปนลงไปด้วย
๑๖.นำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน ๓ โยชน์ เว้นแต่มีผู้นำไปให้
๑๗.ใช้ภิกษุณีที่ไม่ใช้ญาติทำความสะอาดขนเจียม
๑๘.รับเงินทอง
๑๙.ซื้อขายด้วยเงินทอง
๒๐.ซื้อขายโดยใช้ของแลก
๒๑.เก็บบาตรที่มีใช้เกินความจำเป็นไว้เกิน ๑๐ วัน
๒๒.ขอบาตร เมื่อบาตรเป็นแผลไม่เกิน ๕ แห่ง
๒๓.เก็บเภสัช ๕ (เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย)ไว้เกิน ๗ วัน
๒๔.แสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนไว้เกินกำหนด ๑ เดือนก่อนหน้าฝน
๒๕.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วชิงคืนในภายหลัง
๒๖.ขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
๒๗.กำหนดให้ช่างทอทำให้ดีขึ้น
๒๘.เก็บผ้าจำนำพรรษา (ผ้าที่ถวายภิกษุเพื่ออยู่พรรษา) เกินกำหนด
๒๙.อยู่ป่าแล้วเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน ๖ คืน
๓๐.น้อมลาภสงฆ์มาเพื่อให้เขาถวายตน

ปาจิตตีย์ มี ๙๒ ข้อได้แก่
๑.ห้ามพูดปด
๒.ห้ามด่า
๓.ห้ามพูดส่อเสียด
๔.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับผู้ไม่ได้บวชในขณะสอน
๕.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบัน(ผู้ไม่ใช้ภิกษุ)เกิน ๓ คืน
๖.ห้ามนอนร่วมกับผู้หญิง
๗.ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิง
๘.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่ผู้มิได้บวช
๙.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่ผู้มิได้บวช
๑๐.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
๑๑.ห้ามทำลายต้นไม้
๑๒.ห้ามพูดเฉไฉเมื่อถูกสอบสวน
๑๓.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์โดยชอบ
๑๔.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
๑๕.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ ไม่เก็บงำ
๑๖.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อน
๑๗.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์
๑๘.ห้ามนั่งนอนทับเตียงหรือตั่งที่อยู่ชั้นบน
๑๙.ห้ามพอกหลังคาวิหารเกิน ๓ ชั้น
๒๐.ห้ามเอาน้ำมีสัตว์รดหญ้าหรือดิน
๒๑.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมาย
๒๒.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
๒๓.ห้ามไปสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
๒๔.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
๒๕.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๖.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
๒๗.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี
๒๘.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน
๒๙.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
๓๐.ห้ามนั่งในที่ลับสองต่อสองกับภิกษุณี
๓๑.ห้ามฉันอาหารในโรงพักเดินทางเกิน ๓ มื้อ
๓๒.ห้ามฉันอาหารรวมกลุ่ม
๓๓.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
๓๔.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
๓๕.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
๓๖.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันแล้วฉันอีกเพื่อจับผิด
๓๗.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล
๓๘.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
๓๙.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง
๔๐.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน
๔๑.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่นๆ
๔๒.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
๔๓.ห้ามเข้าไปแทรกแซงในสกุลที่มีคน ๒ คน
๔๔.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับมาตุคาม (ผู้หญิง)
๔๕.ห้ามนั่งในที่ลับ (หู) สองต่อสองกับมาตุคาม
๔๖.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลา
๔๗.ห้ามขอของเกินกำหนดเวลาที่เขาอนุญาตไว้
๔๘.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกไป
๔๙.ห้ามพักอยู่ในกองทัพเกิน ๓ คืน
๕๐.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้น เมื่อไปในกองทัพ
๕๑.ห้ามดื่มสุราเมรัย
๕๒.ห้ามจี้ภิกษุ
๕๓.ห้ามว่ายน้ำเล่น
๕๔.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย
๕๕.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว
๕๖.ห้ามติดไฟเพื่อผิง
๕๗.ห้ามอาบน้ำบ่อยๆเว้นแต่มีเหตุ
๕๘.ให้ทำเครื่องหมายเครื่องนุ่งห่ม
๕๙.วิกัปจีวรไว้แล้ว (ทำให้เป็นสองเจ้าของ-ให้ยืมใช้) จะใช้ต้องถอนก่อน
๖๐.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
๖๑.ห้ามฆ่าสัตว์
๖๒.ห้ามใช้น้ำมีตัวสัตว์
๖๓.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์(คดีความ-ข้อโต้เถียง)ที่ชำระเป็นธรรมแล้ว
๖๔.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบของภิกษุอื่น
๖๕.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง ๒๐ ปี
๖๖.ห้ามชวนพ่อค้าผู้หนีภาษีเดินทางร่วมกัน
๖๗.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
๖๘.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย (ภิกษุอื่นห้ามและสวดประกาศเกิน ๓ ครั้ง)
๖๙.ห้ามคบภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๐.ห้ามคบสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
๗๑.ห้ามพูดไถลเมื่อทำผิดแล้ว
๗๒.ห้ามกล่าวติเตียนสิกขาบท
๗๓.ห้ามพูดแก้ตัวว่า เพิ่งรู้ว่ามีในปาฏิโมกข์
๗๔.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
๗๕.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
๗๖.ห้ามโจทภิกษุด้วยอาบัติสังฆาทิเสสที่ไม่มีมูล
๗๗.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
๗๘.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
๗๙.ให้ฉันทะแล้วห้ามพูดติเตียน
๘๐.ขณะกำลังประชุมสงฆ์ ห้ามลุกไปโดยไม่ให้ฉันทะ
๘๑.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้ว ห้ามติเตียนภายหลัง
๘๒.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
๘๓.ห้ามเข้าไปในตำหนักของพระราชา
๘๔.ห้ามเก็บของมีค่าที่ตกอยู่
๘๕.เมื่อจะเข้าบ้านในเวลาวิกาล ต้องบอกลาภิกษุก่อน
๘๖.ห้ามทำกล่องเข็มด้วยกระดูก งา หรือเขาสัตว์
๘๗.ห้ามทำเตียง ตั่งมีเท้าสูงกว่าประมาณ
๘๘.ห้ามทำเตียง ตั่งที่หุ้มด้วยนุ่น
๘๙.ห้ามทำผ้าปูนั่งมีขนาดเกินประมาณ
๙๐.ห้ามทำผ้าปิดฝีมีขนาดเกินประมาณ
๙๑.ห้ามทำผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินประมาณ
๙๒.ห้ามทำจีวรมีขนาดเกินประมาณ

ปาฏิเทสนียะ มี ๔ ข้อได้แก่
๑. ห้ามรับของคบเคี้ยว ของฉันจากมือภิกษุณีมาฉัน
๒. ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
๓. ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ (อริยบุคคล แต่ยังไม่ได้บรรลุเป็นอรหันต์)
๔. ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนมาฉันเมื่ออยู่ป่า

เสขิยะ
สารูป มี ๒๖ ข้อได้แก่
๑.นุ่งให้เป็นปริมณฑล (ล่างปิดเข่า บนปิดสะดือไม่ห้อยหน้าห้อยหลัง)
๒.ห่มให้เป็นนปริมณฑล (ให้ชายผ้าเสมอกัน)
๓.ปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
๔.ปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
๕.สำรวมด้วยดีไปในบ้าน
๖.สำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
๗.มีสายตาทอดลงไปในบ้าน (ตาไม่มองโน่นมองนี่)
๘.มีสายตาทอดลงนั่งในบ้าน
๙.ไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
๑๐.ไม่เวิกผ้านั่งในบ้าน
๑๑.ไม่หัวเราะดังไปในบ้าน
๑๒.ไม่หัวเราะดังนั่งในบ้าน
๑๓.ไม่พูดเสียงดังไปในบ้าน
๑๔.ไม่พูดเสียงดังนั่งในบ้าน
๑๕.ไม่โคลงกายไปในบ้าน
๑๖.ไม่โคลงกายนั่งในบ้าน
๑๗.ไม่ไกวแขนไปในบ้าน
๑๘.ไม่ไกวแขนนั่งในบ้าน
๑๙.ไม่สั่นศีรษะไปในบ้าน
๒๐.ไม่สั่นศีรษะนั่งในบ้าน
๒๑.ไม่เอามือค้ำกายไปในบ้าน
๒๒.ไม่เอามือค้ำกายนั่งในบ้าน
๒๓.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะไปในบ้าน
๒๔.ไม่เอาผ้าคลุมศีรษะนั่งในบ้าน
๒๕.ไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในบ้าน
๒๖.ไม่นั่งรัดเข่าในบ้าน

โภชนปฏิสังยุตต์มี ๓๐ ข้อคือหลักในการฉันอาหารได้แก่
๑.รับบิณฑบาตด้วยความเคารพ
๒.ในขณะบิณฑบาต จะแลดูแต่ในบาตร
๓.รับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง (ไม่รับแกงมากเกินไป)
๔.รับบิณฑบาตแค่พอเสมอขอบปากบาตร
๕.ฉันบิณฑบาตโดยความเคารพ
๖.ในขณะฉันบิณฑบาต และดูแต่ในบาตร
๗.ฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ (ไม่ขุดให้แหว่ง)
๘.ฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง ไม่ฉันแกงมากเกินไป
๙.ฉันบิณฑบาตไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
๑๐.ไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยหวังจะได้มาก
๑๑.ไม่ขอเอาแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน หากไม่เจ็บไข้
๑๒.ไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะยกโทษ
๑๓.ไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
๑๔.ทำคำข้าวให้กลมกล่อม
๑๕.ไม่อ้าปากเมื่อคำข้าวยังมาไม่ถึง
๑๖.ไม่เอามือทั้งมือใส่ปากในขณะฉัน
๑๗.ไม่พูดในขณะที่มีคำข้าวอยู่ในปาก
๑๘.ไม่ฉันโดยการโยนคำข้าวเข้าปาก
๑๙.ไม่ฉันกัดคำข้าว
๒๐.ไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
๒๑.ไม่ฉันพลางสะบัดมือพลาง
๒๒.ไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
๒๓.ไม่ฉันแลบลิ้น
๒๔.ไม่ฉันดังจับๆ
๒๕.ไม่ฉันดังซูดๆ
๒๖.ไม่ฉันเลียมือ
๒๗.ไม่ฉันเลียบาตร
๒๘.ไม่ฉันเลียริมฝีปาก
๒๙.ไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
๓๐.ไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในบ้าน

ธัมมเทสนาปฏิสังยุตต์ มี ๑๖ ข้อคือ
๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีของมีคมในมือ
๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีอาวุธในมือ
๕.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท่า (รองเท้าไม้)
๖.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
๗.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
๘.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
๙.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
๑๐.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่โพกศีรษะ
๑๑.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศีรษะ
๑๒.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนอาสนะ (หรือเครื่องปูนั่ง) โดยภิกษุอยู่บนแผ่นดิน
๑๓.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งบนอาสนะสูงกว่าภิกษุ
๑๔.ไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งอยู่ แต่ภิกษุยืน
๑๕.ภิกษุเดินไปข้างหลังไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่เดินไปข้างหน้า
๑๖.ภิกษุเดินไปนอกทางไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในทาง

ปกิณสถะ มี ๓ ข้อ
๑. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
๒. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว (พันธุ์ไม้ใบหญ้าต่างๆ)
๓. ภิกษุไม่เป็นไข้ไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในน้ำ

อธิกรณสมถะ มี ๗ ข้อได้แก่
๑. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ในที่พร้อมหน้า (บุคคล วัตถุ ธรรม)
๒. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการยกให้ว่าพระอรหันต์เป็นผู้มีสติ
๓. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยยกประโยชน์ให้ในขณะเป็นบ้า
๔. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
๕. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
๖. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
๗. ระงับอธิกรณ์ (คดีความ หรือความที่ตกลงกันไม่ได้) ด้วยให้ประนีประนอมหรือเลิกแล้วกันไป
-----------------------------------------------------------
http://www.onoi.org/forum/index.php?..._next=next#new
__________________
เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินสามัคคีวัดท่าซุง ในนามเว็บพลังจิต ปีที่ 4 l ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสร้างตึกฝึกกรรมฐานและผ้ากฐินสีเงินประดับคริสตัล l ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ l ร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือ l ช่วยวัดพระบาทน้ำพุด่วน

หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ : พระอริยเจ้าผู้หลุดพ้นด้วยอิริยาบถเดิน




พระโพธิธรรมมาจารย์เถร
(หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ)

วัดป่าเขาน้อย อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

“พระอริยเจ้าผู้หลุดพ้นด้วยอิริยาบถเดิน”

พระ เดชพระคุณพระโพธิธรรมาจารย์เถร (สุวัจน์ สุวโจ) พระอริยเจ้าผู้เป็นศิษย์สายกรรมฐานของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต อีกรูปหนึ่ง เมื่อได้พบท่านพระอาจารย์มั่นครั้งแรก ได้รับโอวาทธรรมจากท่านว่า “คำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ใช่ของเล่น ถ้าทำเล่นจะไม่เห็นของจริง” ท่านเป็นศิษย์ต้นของท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ได้รับการยกย่องจากหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน ว่าเป็นพระอรหันต์องค์หนึ่ง

ท่าน เป็นพระที่รักสันโดษ โดดเดี่ยว ปลีกวิเวก มีจิตฝังลึกลงในธรรมของพระตถาคตเจ้าด้วยศรัทธา ที่มีเหตุผล มั่นคง มีความปรารถนาจะบรรพชาและอุปสมบทตั้งแต่เยาว์วัย

อุปนิสัยของท่านชอบท่องเที่ยวจาริกธุดงค์ไปตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศและต่างประเทศ ไม่ยึดติดในหมู่คณะ ไม่ติดสถานที่ ไม่คลุกคลีกับใคร หรือผู้ใด เปรียบเหมือนนกตัวน้อยๆโผปีกทั้งสองทะยานขึ้นสู่โลกกว้าง ไม่อาลัยกับสิ่งใดๆ

ท่านจึงเป็นนพระประเภท “เอเกโก ว” ชอบเที่ยวไปผู้เดียว ปรารถนารสแห่งวิเวกอันมีวิมุตติธรรม เป็นเครื่องดื่มด่ำ บางปีท่านเดินธุดงค์ถึง ๒ รอบ จากจังหวัดสกลนครไปทางจังหวัดอุบลฯ ลงไปทางจังหวัดนครราชสีมา แล้วก็ย้อนกลับมาทางจังหวัดอุดรธานี แล้วเข้าสู่สกลนครตามเดิม

บางครั้งท่านเป็นผู้นำพระกรรมฐานรุ่นน้องออกธุดงค์ เช่น คราวที่ถวายเพลิงศพท่านพระอาจารย์มั่นเสร็จ พระกรรมฐานระส่ำระสายขาดที่พึ่ง ท่านจึงเป็นผู้นำออกธุดงค์ไปทางเขตอำเภอน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี โดยมีพระ อาจารย์วัน อุตฺตโม พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร พระอาจารย์คำพอง ติสฺโส พระอาจารย์บุญเพ็ง เขมาภิรโต พระอาจารย์ประยูร เป็นผู้ติดตาม

ท่านถึงที่สุดแห่งธรรมในระหว่างปี ๒๕๑๕-๒๕๒๔ ที่ถ้ำศรีแก้ว จังหวัดสกลนคร ด้วยอิริยาบถเดิน ขณะกลับกุฏิ

ท่านเล่าว่า “คำเทศน์ของหลวงปู่ฝั้นและหลวงตามหาบัว เป็นหัวใจอันสำคัญที่นำท่านไปสู่อุดมธรรม”

ท่านได้ทำประโยชน์ตนถึงที่สุดแล้ว ก็ยังทำประโยชน์ผู้อื่นให้ถึงพร้อม ท่านได้นำพระธรรมที่บรรลุรู้เห็นแจ้งไปประกาศกังวานไกลถึงต่างแดนเป็นที่ เลื่อมใสของ
ชาวต่างชาติ

ท่านเป็นพระประเภท “ปาสาณเลขูปโม” คือสลักความดีลงบนแผ่นหินคือหัวใจอันแข็งแกร่งไม่มีใครสามาลบล้างทิ้งไปได้ ถูกจารึกตลอดอนันตกาล

เดิมท่านชื่อ “อุ้ง” เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๖๒ ณ บ้านตากูก ตำบลตากูก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์

เป็นบุตรของนายบุตร และ นางกึง ทางศรี มีพี่น้องรวมกัน ๕ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๓

ในวัยหนุ่มที่นมีอาชีพเป็นช่างทอง วันหนึ่งท่านนั่งอยู่กลางทุ่งนาเห็นพระธุดงค์เดินผ่านมา เมื่อได้สนทนาเกิดความเลื่อมใส จึงตั้งความปรารถนาไว้ว่า “กาลข้างหน้าจะต้องออกบวชเป็นพระธุดงค์”

อยู่มาวันหนึ่งท่านได้ปลงธรรมสังเวชในมนุษย์เป็นๆ คือ มีผู้หญิงท้องแก่คลอดก่อนกำหนดไม่มีใครอยู่ในหมู่บ้าน เธอร้องขอความช่วยเหลือ น้ำคร่ำไหลออกมาเต็มไปหมด ท่านเห็นเช่นนั้นจึงได้เข้าไปช่วยเหลือ ช่วยจับ ช่วยดึง ช่วยบอกให้ เบ่งๆ ๆ สิ่งที่ไม่เคยรู้เคยเห็นตั้งแต่เกิดมาประจักษ์แก่ใจมากในวันนั้น สงสารก็สงสาร สังเวชก็สังเวช ทั้งเลือดทั้งคนปะปนกันออกมา ความเกิดเป็นทุกข์ประจักษ์แก่ใจแบบไม่มีวันลืม เกิดความเบื่อหน่ายในกามทั้งหลายขึ้นมาทันใด ได้กระทำไว้ในใจว่า “สักวันหนนึ่งจะต้องออกบวชอย่างแน่นอน”

ปีพุทธศักราช ๒๔๘๑ อายุ ๑๙ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดกระพุมรัตน์ บ้านตากูก ตำบลตากูก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ฝ่ายมหานิกายโดยมีพระอาจารย์อุเทน เป็นพระบรรพชาจารย์ บวชได้ ๑ ปี ก็ลาสิกขามาช่วยบิดาทำงาน

ปีพุทธศักราช ๒๔๘๒ อายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท เป็นพระฝ่ายมหานิกายที่วัดกระพุมรัตน์ ตำบลตากูก อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ โดยมีพระครูธรรมทัศน์พิมล (ดัน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อุเทน เป็นพระกรรมวาจาจารย์

หลังจากนั้นท่านได้เดินทางแสวงหาอาจารย์ที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ จึงได้พบท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร ที่ วัดป่าศรัทธารวม อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา เกิดความเลื่อมใสปฏิปทาของท่านอาจารย์ฝั้นเป็นยิ่งนัก จึงขอญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุตเมื่อวันที่ ๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ วัดสุทธจินดา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา โดยมี พระธรรมฐิติญาณ(สังฃ์ทอง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมธร(ทองดี) เป็นพระอุเทศาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุวโจ” แปลว่า ”ผู้ว่ากล่าวตักเตือนง่าย”

เมื่อญัตติแล้วท่านได้อยู่จำพรรษาและศึกษาธรรมกับท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล หลังจากนั้นได้ติดตามพระอาจารย์ผั่น ปาเรสโก ออกธุดงค์ไปทางพระธาตุพนม

ปีพุทธศักราช ๒๔๘๘ จำพรรษาที่วัดป่าศรีไพรวัน จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านได้ธุดงค์ไปทางจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นเทือกเขาภูพาน เข้าพักที่วัดบ้านหนองผือ กราบนมัสการท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต

ท่านพระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาทว่า “อาจารย์ของเธอคือพระอาจารย์ฝั้น ตอนนี้แก่มากแล้ว สมควรที่เธอจะต้องทดแทนบุญคุณเธอไม่ต้องมา อยู่กับเราที่นี่ ให้ไปปฏิบัติท่านอาจารย์ฝั้น ศึกษาและปฏิบัติกับท่านฝั้นก็เป็นที่เพียงพอแล้ว”

หลังจากนั้นท่านติดตามอุปัฏฐากท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร จนกระทั่งนิพพาน

ปีพุทธศักราช ๒๕๒๕-๒๕๒๖ ท่านเดินทางไปเผยแผ่ธรรมที่ประเทศสหรัฐอเมริกาตามคำนิมนต์ มีผู้ศรัทธาซื้อที่ดินถวายสร้างวัดวอชิงตันพุทธวนาราม เลขที่ 4401 south 360th street Aubrn WA 98001 จำนวน ๗ เอเคอร์ (๑๗.๕ ไร่)

ปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ สร้างวัดป่าธรรมชาติที่เมืองลาพวนเต้ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เนื้อที่ ๕ เอเคอร์

ปีพุทธศักราช ๒๕๓๐-๒๕๓๕ สร้างวัดภูริทัตตวนาราม เมืองออนทาริโอ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย มีชาวอเมริกาศรัทธาซื้อที่ดินจำนวน ๖๐ เอเคอร์ (๑๕๐ ไร่) ราคา ๑๗,๕๐๐,๐๐๐บาท ถวายเพื่อสร้างวัดเมตตาวนาราม เมืองแวลเลย์เซ็นเตอร์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย

ปีพุทธศักราช ๒๕๔๑ เป็นต้นมา ท่านอยู่จำพรรษาที่วัดป่าเขาน้อย ตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ท่านละสังขารเข้าสู่อนุปาทิเสสนิพพานเมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๕

สิริรวมอายุได้ ๘๒ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ๖๑ พรรษา


จากหนังสือ พระธุตังคเจดีย์ เจดีย์แห่งพระอรหันต์
วัดอโศการาม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

__________________
เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินสามัคคีวัดท่าซุง ในนามเว็บพลังจิต ปีที่ 4 l ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสร้างตึกฝึกกรรมฐานและผ้ากฐินสีเงินประดับคริสตัล l ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ l ร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือ l ช่วยวัดพระบาทน้ำพุด่วน

เคราะห์กรรมเกิดจากอะไร ?





ถาม: เวลาคนเราซวย มีกรรม หรือเคราะห์ มันเกิดจากอะไร ?

ตอบ: กรรมเก่าที่ทำมา กรรม ในอดีตที่เราทำมาทั้งหมดจะส่งผลในปัจจุบัน ไม่ว่าดีหรือชั่ว “อกุศลกรรม” คือสิ่งที่เราทำไม่ดี หรือเรียกง่ายๆ ว่า “กรรม” ส่วน “กุศลกรรม” คือ สิ่งที่เราทำดี หรือเรียกง่ายๆ ว่า “บุญ”

เมื่อถึงวาระกรรมสนอง แปลว่า พลังของบุญจะขาดช่วงลงและกรรมก็เข้ามาสนองในวาระนั้น สิ่งต่างๆ ที่ไม่ดีก็จะเกิดขึ้นกับเราบ่อยๆ บางคนก็ตายไปเลยก็มี เราก็จะบอกว่าช่วงนั้นมันซวย ถ้าไม่ขยันทำบุญไว้ก็จะซวยบ่อยๆ ถ้าขยันทำบุญไว้กำลังบุญจะส่งผลต่อเนื่อง วาระกรรมก็ไม่สามารถแทรกเข้ามาได้ มันก็จะซวยน้อยหน่อย จริงๆ แล้วก็คือกรรมเก่านั่นแหละ

ถาม: ช่วงวัยเบญจเพส ทำไมต้องให้ระวัง

ตอบ: ถ้าเราแบ่งอายุออกเป็น ๔ ช่วงชีวิต แต่ละช่วงเท่ากับ ๒๕ ปี วาระก็มีกำหนด หากเปรียบก็เสมือนเช่น เป็นวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยกลางคน และวัยชรา ในแต่ละช่วง แต่ละวาระ แต่ละวัย ก็จะมีรอยต่อของแต่ละช่วงอยู่ และช่วงที่เป็นรอยต่อไม่ว่าจะเป็นสภาพของอะไรก็ตาม ถือว่าเป็นจุดอ่อนก็แล้วกัน ในเมื่อเป็นรอยต่อ เป็นจุดอ่อน หากว่ามีสิ่งดีเข้ามาก็ถือว่าดีไป แต่ถ้ามีสิ่งไม่ดีเข้ามาก็จะเกิดเรื่องที่ไม่ดีกับเรา ซึ่งคนอื่นจะเป็นอย่างไรนั้นอาตมาไม่รู้ แต่สำหรับอาตมาแล้วช่วงอายุ ๒๕ ปี เป็นช่วงที่ดีที่สุดเลยก็ว่าได้ อยากให้มีช่วงอายุ ๒๕ ปีบ่อยๆ ซึ่งก็มีน้อยคนเหมือนกัน

อาตมาได้เปรียบตรงที่ว่าพื้นฐานของสมาธิจิตถูกฝึกมาตั้งแต่อายุ ๑๐ กว่าขวบ พอพื้นฐานแน่นแล้ว สิ่งต่างๆ ก็ส่งผลให้วาระนั้นกลายเป็นเรื่องดีไป ช่วงนั้นเหมือนกับว่าโชคดีมหาศาลผิดปกติ ส่วนใหญ่ในช่วงอายุ ๒๕ ปี, ๓๕ ปี, ๔๕ ปี มักจะโดนกันทั้งนั้น ส่วนอายุ ๕๕ ปี แก่แล้วปล่อยมันเถอะ




สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนมกราคม ๒๕๔๗(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ



.
__________________
สร้างสมเด็จองค์ปฐมหน้าตัก 10 วา
http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=65729


ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ "สมเด็จองค์ปฐม" ก้บวัดธรรมยาน

http://board.palungjit.com/f105/ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์-สมเด็จองค์ปฐม-ก้บวัดธรรมญาณ-119095.html

"พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ" บางรัก แหล่งรวมพระธาตุทั่วทุกสารทิศ


ที่มาข่าว..หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์

25 สิงหาคม 2552 15:43 น.





โดย : หนุ่มลูกทุ่ง


บรรยากาศขรึมขลังในพิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ

สาธุ......

หลังฉันได้มากราบสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ภายใน "พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ" เขตบางรัก ซึ่งแม้จะเป็นเพียงห้องเล็กๆ แต่ภายในนั้นเต็มไปด้วยพระบรมธาตุมากมายที่รวบรวมมาจากทั่วทุกสารทิศ อันเกิดจากศรัทธาของผู้ก่อตั้ง

ที่พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุนอกจากฉันจะได้อิ่มเอมใจหลังกราบพระบรมสารีริกธาตุ แล้ว ยังได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระบรมธาตุกับคุณปราโมช ประสพสุขโชคมณี ประธานชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย


พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานมากมายบริเวณที่บูชาพระบรมธาตุ
คุณปราโมช เล่าให้ฉันฟังว่า พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระบรมธาตุ ซึ่งหมายถึง พระอัฐิธาตุของพระพุทธเจ้านั้นมีตำนานการเกิดที่เชื่อกันว่า ตามที่ได้รู้กันมาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อนๆจะมีพระชนมายุยืน ยาว สามารถประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคง และจะมีพระบรมสารีริกธาตุที่มีลักษณะรวมกันเป็นแท่งเดียว ไม่สามารถแบ่งไปประดิษฐานตามที่ต่างๆได้ จึงจำเป็นต้องสร้างพระธาตุเจดีย์ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้ใน ที่แห่งเดียว

ต่อมาในสมัยพระพุทธเจ้าสมณโคดม พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ทรงเล็งเห็นว่าพระองค์มีเวลาปฏิบัติพุทธกิจเพียง 45 ปี ซึ่งถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับพระพุทธเจ้าองค์ก่อน และยังมีอีกมากที่เกิดมาไม่ทันในสมัยของพระองค์ หากได้อัฐิธาตุของพระองค์ไปอุปัฏฐากบูชา จะได้บุญกุศลเป็นอันมาก จึงทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ แตกย่อยลงเป็น 3 สัณฐาน เว้นแต่ธาตุทั้ง 7 ประการ ที่ไม่ไหม้ไฟ ได้แก่ คือ พระเขี้ยวแก้ว 4, พระรากขวัญ(ไหปลาร้า) 2 และพระอุณหิส(หน้าผาก) 1


พระอรหันตธาตุของพระอานนท์ สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน
โดย พระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 1 เบื้องบนขวา ประดิษฐานในเจดีย์จุฬาโลกมณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ รวมอยู่กับเกศาของพระพุทธเจ้าตอนที่ปลงเสด็จออกบวช, พระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 2 เบื้องล่างซ้าย อยู่กับพญานาคในโลกบาดาล, พระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 3 เบื้องบนซ้าย ประดิษฐานอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน, ส่วนพระเขี้ยวแก้วองค์ที่ 4 เบื้องล่างขวา ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระเขี้ยวแก้ว เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา

ส่วนพระรากขวัญ เบื้องซ้าย ประดิษฐาน ณ พรหมโลก, พระรากขวัญเบื้องขวา ประดิษฐาน ณ เมืองอนุราชสิงหฬ และพระอุณหิส ประดิษฐาน ณ เมืองอนุราชสิงหฬ เช่นกัน ซึ่งพระบรมสารีริกธาตุทั้ง 7 ส่วนนี้ถือเป้นพระบรมสารีริกธาตุไม่แตกกระจาย อันหมายถึง ยังคงความเป็นรูปเป็นร่างสมบูรณ์


พระอรหันตธาตุต่างๆที่มีครบตามตำราโบราณ
ส่วน พระบรมสารีริกธาตุประเภทแตกกระจาย คือ ส่วนอื่นๆนอกเหนือจาก 7 ส่วนนั้น คือจะไม่เหลือส่วนที่เด่นชัดขนาดเล็กสุดเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ขนาดกลางเท่าเมล็ดข้าวสาร และขนาดใหญ่เท่าเมล็ดถั่ว มีตำนานเล่าว่า กษัตริย์อินเดียจาก 8 แคว้นต้องการพระบรมสารีริกธาตุจึงได้ต่อสู้กัน เดือดร้อนถึงโทณพราหมณ์ นักปราชญ์แห่งกุสินาราต้องนำตุมพะทองคำมาตวงแบ่งเป็น 8 ส่วนเท่าๆกันแจกจ่ายให้นำไปบูชาตามแคว้นต่างๆ

คุณปราโมช เล่าถึงสัณฐานต่างๆของพระบรมสารีริกธาตุว่ามีหลากหลายลักษณะ ทั้งสัณฐานแก้วใสดุจเพชร สัณฐานดั่งเมล็ดข้าวสาร สัณฐานดั่งเมล็ดถั่วแตก สัณฐานดั่งเมล็ดดั่งเมล็ดงา สัณฐานดั่งเมล็ดเมล็ดพันธุ์ผักกาด พระบรมสารีริกธาตุวรรณะพรรณหลากสี วรรณะดั่งทองอุไร วรรณะดั่งงาช้าง วรรณะดั่งแก้วมุกดา และยังมีพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่สามารถระบุสัณฐานได้อีกด้วย


พระธาตุพระสิวลีเถระ สัณฐานดั่งผลยอป่า
นอกจากนี้ยังมี "พระบรมธาตุ พระปัจเจกพุทธเจ้า" อันหมายถึง พระอัฐิของพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยมิต้องมีใครมาสั่งสอน แต่ว่าท่านก็มิได้สั่งสอนใครให้บรรลุมรรคหรือตั้งมั่นพระศาสนาจนเป็นปึกแผ่น ดั่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ดังนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าจึงไม่มีพระสงฆ์ หรือพระสาวก

โดยพระปัจเจกพระพุทธเจ้าสามารถบังเกิดขึ้นพร้อมกันได้หลายพระองค์ในยุคนั้นๆ แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติยังเกิดขึ้นในโลกครั้งละหนึ่งพระองค์เท่า นั้น ซึ่งการนมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้ามีผลอานิสงส์ด้านลาภสักการะมาก


พระธาตุของพระอริยสงฆ์มากมายมากมายภายในพิพิธภัณฑ์
สำหรับ พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุแห่งนี้ ภายในมีพระบรมสารีริกธาตุพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระบรมธาตุพระปัจเจกพระพุทธเจ้าให้ได้กราบไหว้บูชา พร้อมทั้งยังได้เห็นลักษณะรูปทรงสัณฐานกันอย่างใกล้ชิด ไม่เพียงแค่นั้น ภายในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ยังได้รวบรวมเอา "พระอรหันตธาตุ" สมัยพุทธกาล ที่ได้ระบุไว้ตามตำราโบราณทั้ง 47 รูป ครบถ้วน

อาทิ พระธาตุพระอัญญาโกณฑัญญะ พระเถระผู้บวชเป็นคนแรก สัณฐานงอนช้อยดั่งงาช้าง พรรณสีขาวดั่งดอกมะลิตูม สีเหลือง สีดำ, พระธาตุพระสารีบุตรเถระ พระเถระผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา ผู้เลิศด้านมีปัญญามาก ลักษณะสัณฐานกลมเป็นปริมณฑล รีเป็นไข่จิ้งจก เป็นดั่งรูปบาตรคว่ำ พรรณสีขาวสังข์ สีพิกุลแห้ง สีหวายตะค้า หรือสีน้ำตาลอ่อน


พระธาตุพระปุณณเถระ สัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส
พระ ธาตุพระโมคคัลลานะเถระ พระเถระผู้เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็นเลิศด้นมีฤทธิ์มาก สัณฐานพระธาตุกลมเป็นปริมณฑล รีเป็นผลมะตูม คล้ายเมล็ดทองหลาง เมล็ดสวาด เมล็ดคำ พรรณสีเหลืองหวายตะค้า ขาวสังข์ เขียวช้ำใน ลายคล้ายไข่นก ลายเป็นรอยร้าวคล้ายสายเลือด, พระธาตุพระสิวลีเถระ พระเถระผู้เป็นเลิศด้านผู้มีลาภสักการะมาก สัณฐานดั่งผลยอป่า เมล็ดในพุทรา เมล็ดมะละกอ พรรณสีขาว สีเหลืองหวายตะค้า สีพิกุลแห้ง สีแดงดั่งหม้อไหม้ สีเขียวดั่งดอกผักตบ

พระธาตุพระอานนท์เถระ พระเถระผู้เป็นเลิศด้านพหูสูต สัณฐานดั่งใบบัวเผื่อน พรรณสีขาวดั่งเงิน สีดำอย่างน้ำรัก เหลืองหวายตะค้า, พระธาตุพระปุณณเถระ พระเถระผู้สั่งสมบุญบารมีมามาก สัณฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส พรรณสีขาว สีดอกพิกุลแห้ง เป็นต้น


พระอัฐิธาตุของพระอริยสงฆ์ผู้เพียบพร้อมในธรรม
หาก ใครอยากยลและสักการะพระอรหันตธาตุให้ครบทั้ง 47 รูปตามตำราโบราณก็ต้องมาที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้กันเอง เพราะถ้าจะให้ฉันเขียนเล่าจนหมดครบถ้วนกระบวนความคงจะยาวหลายตอนทีเดียว นอกจากนี้ยังมีอัฐิและพระธาตุของพระอริยสงฆ์อีกมากมาย

เช่น ครูบาศรีวิชัย สิริวิชโย วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน, หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ อ.เมือง จ.ลำปาง, หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง จ.สกลนคร, พระราชพรหมยานเถระ หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี, พระอาจารย์ประยุทธ ธัมมยุตโต วัดป่าผาลาด อ.เมือง จ.กาญจนบุรี, พระธาตุหลวงปู่ทวด สามีราโม วัดช้างไห้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี, อัฐิธาตุสมเด็จพระวันรัต วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ เป็นต้น


พระบรมสารีริกธาตุที่ได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระสังฆราชฯ
แม้ ว่าพิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุแห่งนี้จะเล็ก แต่ก็ได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ และพระธาตุ อัฐิพระอริยสงฆ์มากมาย เพื่อให้ประชาชนได้กราบสักการบูชา พร้อมทั้งได้เห็นและศึกษาพระบรมธาตุต่างๆได้อย่างใกล้ชิด อีกทั้งยังมีคุณปราโมชและเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ และเล่าเรื่องราวต่างๆเกี่ยวกับพระบรมธาตุให้ได้รู้และเข้าใจกันมากขึ้นด้วย

ซึ่งนอกจากจะกราบสักการบูชาพระบรมธาตุต่างๆด้วยจิตใจที่แน่วแน่เป็นบุญกุศล แล้ว ก็ต้องไม่ลืมที่จะประพฤติปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธองค์อันเป็น หัวใจของพุทธศาสนาที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหนๆเราก็สามารถทำได้สบายๆเลย


ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุอื่นๆ


* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

พิพิธภัณฑ์พระบรมธาตุ ชมรมรักษ์พระบรมธาตุแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่ที่อาคารศูนย์พลอยเอเชีย ถนนมเหสักข์ ซอย2 เขตบางรัก กรุงเทพฯ โทร.08-6337-4255

ทำสมาธิไม่ถูกหลักจึงเพี้ยนไปไม่รู้ตัว : พระอาจารย์ทูล





การทำสมาธิ ถ้าไม่มีความเข้าใจในการทำอาจเกิดเป็นมิจฉาสมาธิ คือความเข้าใจผิดไปได้ ทำให้เกิดวิปริตเป็น สัญญาวิปลาส เป็นวิปัสสนูปกิเลสโดยไม่รู้ตัว ดังได้ยินข่าวอยู่บ่อยๆว่า การทำสมาธิที่มีจิตเพี้ยนไป เมื่อจิตวิปริตเพี้ยนไปแล้ว ความรู้เห็นที่เกิดขึ้นจากการทำสมาธิ ก็เพี้ยนไปทั้งหมด อาการอย่างนี้เกิดขึ้นเพราะการทำสมาธิไม่มีปัญญาขั้นพื้นฐาน จึงทำให้จิตเกิดความเข้าใจผิดไปได้โดยไม่รู้ตัว

ฉะนั้นผู้เขียน (พระอาจารย์ทูล) ขอชี้แนะเกี่ยวกับการทำสมาธิไว้ในที่นี้สัก 3 ประการ เพื่อให้ท่านได้เข้าใจ


1. การทำสมาธิให้ถูกต้องตามองค์มรรคต้องมีสัมมาทิฏฐิ คือปัญญาความเห็นชอบเป็นพื้นฐาน และทำความเข้าใจว่า หลังจากการทำสมาธิแล้ว ต้องใช้ปัญญาพิจารณาให้รู้เห็นในหลักสัจธรรมทุกครั้ง ยิ่งจะมีความตั้งใจเพื่อมรรคผลนิพพาน ก็ยิ่งมีกำลังใจในการปฏิบัติธรรม และอย่าปักใจเชื่อในความรู้ที่เกิดขึ้นจากจิตโดยไม่มีเหตุผล อาจเป็นกลลวงของกิเลสออกมาหลอกจิต เพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดไปได้ ฉะนั้นจึงต้องมีปัญญาเป็นเครื่องรู้รอบอย่าเผลอตัว


2. การทำสมาธิธรรมดา ที่ไม่มีปัญญาในองค์มรรคเป็นพื้นฐาน ผู้ทำสมาธิในขั้นนี้ อย่าตั้งใจทำสมาธิเพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม อย่าตั้งใจทำสมาธิเพื่อมรรคผลนิพพาน อย่าตั้งใจทำสมาธิ เพื่อความสิ้นสุดแห่งทุกข์ เพียงนึกคำบริกรรมดังเราทำกันอยู่ในปัจจุบัน จิตจะมีความสงบมาก สงบน้อย จิตจะมีความสุขมากสุขน้อย ก็เป็นผลที่จิตมีความสงบจากการทำสมาธิเท่านั้น ให้เป็นแบบฤๅษีเขาทำกัน ปัญหาของจิตที่เพี้ยนไปก็จะไม่เกิดขึ้น


3. การทำสมาธิ ที่ไม่มีปัญญาในองค์มรรคเป็นพื้นฐาน มีแต่ความตั้งใจทำสมาธิอย่างเข้มแข็ง มีความจริงจังเด็ดเดี่ยวกล้าหาญในการทำสมาธิแต่อย่างเดียว โดยไม่มีปัญญาความรู้รอบความฉลาดแฝงอยู่ที่จิต มีแต่กำหนดสติทำแต่สมาธิ ตลอดไปโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาในหลักสัจธรรม เรียกว่าการทำสมาธิล้วน ๆ นั่นเอง เดินจงกรมก็เดินทำสมาธิ นั่งก็นั่งทำแต่สมาธิ ไม่มีช่องระบายทางปัญญาเลย ความตั้งใจก็เด็ดเดี่ยว เพื่อความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรม เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในชาตินี้ ใช้สติสมาธิบีบให้กิเลสตัณหาอวิชชาให้หมดไปจากจิตอย่างจริงจัง แต่จิตไม่มีปัญญาความฉลาดขาดจากเหตุผล ไม่มีความรอบคอบในตัวเอง กิเลสสังขารจึงได้ใช้กลหลอก ให้จิตเกิดความหลงผิดอย่างไม่รู้ตัว บางทีก็เป็นรูป เป็นเสียง เป็นกลิ่น หรือเป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากจิตอย่างชัดเจน

จิตที่ไม่มีความฉลาดรอบตัว จิตก็เกิดความหลงเชื่อตามความรู้นั้นๆ อย่างฝังใจ เมื่อจิตปักใจเชื่อแล้ว กิเลสสังขารก็เปลี่ยนฉากแสดงขึ้นที่จิตอย่างต่อเนื่อง มีทั้งถูกทั้งผิด ในที่สุดก็ผิดอย่างเดียว จิตจึงมีความรู้ผิด ความเห็นผิด เพี้ยนไปอย่างง่ายดาย เช่นบางท่าน ในขณะที่จิตมีความสงบเป็นสมาธิ อาจมีความรู้แฝงขึ้นมาที่จิตอย่างชัดเจน จะกำหนดถามในแง่ธรรมต่างๆ ก็มีความรู้ตอบรับอย่างเป็นจริงเป็นจัง อยากรู้อะไรก็กำหนดถามลงไปในจิต แล้วก็มีความรู้ตอบรับขึ้นมา

แล้วก็เกิดความสำคัญในตัวเองว่า ธรรมได้เกิดขึ้นกันตัวเราแล้ว เราเป็นผู้แตกฉานในธรรม รู้รอบในธรรม เมื่อปักใจเชื่อในความรู้นี้มากเท่าไร ก็เกิดความมั่นใจในความรู้ที่เกิดขึ้น ว่าเป็นธรรมอยู่ในขั้นอริยธรรม เมื่อกำหนดจิตถามในเรื่องภูมิธรรม ก็จะมีความรู้ตอบรับทันทีว่า นี้เป็นภูมิธรรมของพระโสดา หรือภูมิธรรมของพระสกิทาคา หรือภูมิธรรมของพระอนาคา หรือภูมิธรรมของพระอรหันต์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ความรู้นี้ก็จะบอกขึ้นมาที่จิตอย่างชัดเจน จึงเกิดความสำคัญแก่ตัวเองว่า เราเป็นพระอริยเจ้าขั้นนั้นขั้นนี้ไป การแสดงออกทางกาย ทางวาจา ก็กล้าในสังคมทั่วไป

ไม่เก้อเขินเอียงอายในตัวเองเลย และพูดธรรมะทั้งวันก็ยังได้ ถ้ามีคนถามในเรื่องการปฏิบัติธรรม หรือผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติ ก็จะพูดตามความเข้าใจของตัวเอง ทั้งที่ตัวเองเพี้ยนไปแล้วยังไม่รู้ตัว ถึงจะมีท่านผู้รู้ตักเตือนว่าผิดทางมรรคผลนิพพาน ก็จะไม่ยอมรับว่าตัวเองผิดแต่อย่างใด

การภาวนาที่เพี้ยนไปในลักษณะนี้ เป็นเพราะความเห็นผิดในเบื้องต้น คือ มิจฉาทิฏฐิ พวกนี้ชอบทำแต่ความสงบ ไม่เคยใช้ปัญญาที่เป็นสัมมาทิฏฐิเลย ความผิดพลาดจึงเกิดขึ้นจากการทำสมาธิได้ง่าย ถึงจะมีความกล้าติดสินใจในการทำสมาธิ แต่ก็ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องรู้รอบในอุบายที่ถูกต้อง เช่น อยากรู้แจ้งเห็นจริงในสัจธรรมในการทำสมาธิ อยากให้กิเลสอาสวะหมดไปสิ้นไปจากการทำสมาธิ อยากหลุดพ้นไปอย่างแรงกล้าจากการทำสมาธิ ความเข้าใจอย่างนี้ จึงเป็นมิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิด

เพราะในศาสนาพุทธไม่มีใครเป็นพระอริยเจ้าเพราะการทำสมาธิอย่างเดียวนี้เลย หรือหากท่านมีความมั่นใจว่า กิเลสตัณหาอวิชชาหมดไปสิ้นไปจากการทำสมาธิจริง ท่านจะยกเอาเรื่องของพระอริยเจ้าองค์ไหนมาเป็นหลักฐานยืนยัน

ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้ให้พระอริยสาวกทั้งหลายออกไปประกาศสัจธรรมเพื่อให้ชาวโลกได้ มีความรู้จริงตามความเป็นจริง พระพุทธเจ้าจึงได้มอบอุบายในการประกาศธรรมไว้แล้วเป็นอย่างดี นั้นคือ มรรค 8 มีสัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบเป็นหลักสำคัญ เพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจในหลักความจริงอย่างถูกต้อง ให้ผู้ฟังมีความฉลาดรอบรู้ในเหตุผล ว่าหลักความจริงของรูปธรรม นามธรรม เป็นอย่างนี้ การดำริพิจารณาใคร่ครวญก็ให้พิจารณาตามหลักความจริง ฉะนั้นปัญญาความเห็นชอบจึงเป็นหลักใหญ่ ในการก่อขึ้นของพระพุทธศาสนา เป็นหลักความมั่นคงของพระพุทธศาสนา และเป็นหลักในการปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องตรงต่อมรรคผลนิพพาน



จากหนังสือ “พ้นกระแสโลก” ของพระอาจารย์ทูล __________________
เชิญร่วมเป็นเจ้าภาพมหากฐินสามัคคีวัดท่าซุง ในนามเว็บพลังจิต ปีที่ 4 l ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสร้างตึกฝึกกรรมฐานและผ้ากฐินสีเงินประดับคริสตัล l ร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ l ร่วมไถ่ชีวิตโค-กระบือ l ช่วยวัดพระบาทน้ำพุด่วน