8/07/2009

พระธรรมคำสอนของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

ทุกท่านอย่าลืมทำบุญ ทำคุณความดีและ ทำกุศล
ขอเสนอพระธรรมคำสอนของพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
หวังว่าท่านจะนำไปใช้ในชีวิตของการทำงานและชีวิตครอบครัวได้ดีขึ้น...



พระอาจารย์สอนคนชอบยุ่งกับเรื่องของคนอื่น
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น ภาวนามาก ๆ ดูตัวเองมาก ๆ
หลวงพ่อ (พระโพธิญาณเถระ) บอกว่า
'ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90% ดูตัวเองแค่ 10%'
คือคอยดูแต่ความผิดของคนอื่น เพ่งโทษคนอื่น คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

กลับเสียใหม่นะ ดูคนอื่นเหลือไว้ 10%
ดูเพื่อศึกษาว่า เมื่อเขาทำอย่างนั้น คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร เพื่อเอามาสอนตัวเองนั่นแหละ
ดูตัวเอง พิจารณาตัวเอง 90% จึงเรียกว่าปฏิบัติธรรมอยู่

ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง
โบราณพูดว่า เรามักจะเห็น ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม
มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ

เห็นความผิดของคนอื่น ให้หารด้วย 10
เห็นความผิดตัวเอง ให้คูณด้วย 10
จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม
เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมาก ๆ
และตำหนิติเตียนตัวเองมาก ๆ
แต่ถึงอย่างไร ๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั่นแหละ

พยายามอย่าสนใจการกระทำ การปฏิบัติของคนอื่น
ดูตัวเอง สนใจแก้ไขตัวเองนั่นแหละมาก ๆ
เช่น เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ แล้วก็เกิดอารมณ์ร้อนใจ
ยังไม่ต้องบอกให้เขาแก้ไขอะไรหรอก รีบแก้ไข ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน
เห็นอะไร คิดอะไร รู้สึกอย่างไร ก็สักแต่ว่า ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน
ความเห็น ความคิด ความรู้สึกก็ไม่แน่ ..... ไม่แน่ อาจจะถูกก็ได้ อาจจะผิดก็ได้
เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้
สักแต่ว่า.....สักแต่ว่า.....ใจเย็น ๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด

ดูใจเราก่อน สอนใจเราก่อน หัดปล่อยวางก่อน
เมื่อจิตสงบแล้ว เมื่อจิตปกติแล้ว จึงค่อยพูด จึงค่อยออกความเห็น
พูดด้วยเหตุ ด้วยผล ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา
ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่ง พูด
ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้เสียความรู้สึกของตัวเอง
ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร มักจะเสียประโยชน์ซ้ำไป

เพราะฉะนั้น อยู่ที่ไหน อยู่ที่วัด อยู่ที่บ้าน ก็สงบ ๆ ๆ ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิด ๆ ๆ
ดูแต่ตัวเรา ระวังความรู้สึก ระวังอารมณ์ของเราเองให้มาก ๆ
พยายามแก้ไข พัฒนาตัวเรา ...... นั่นแหละ

เห็นอะไรชอบ ไม่ชอบ ปล่อยไว้ก่อน เรื่องของคนอื่น พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา
ถ้าไม่ระวัง ก็จะยุ่งกับเรื่องของคนอื่นไปเรื่อย ๆ
หาเรื่องอยู่อย่างนั้น เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราหมด
มีแต่ยินดี ยินร้าย พอใจ ไม่พอใจ ทั้งวัน
อารมณ์มาก จิตไม่ปกติ ไม่สบาย ทั้งวัน ๆ ก็หมดแรง

ระวังนะ
พยายามตามดูจิตของเรา ! รักษาจิตของเราให้เป็นปกติให้มาก
ใครจะเป็นอะไร ใครจะทำอะไร ดีหรือไม่ดี เรื่องของเขา
แม้เขาจะทำกับเรา ว่าเรา..... ก็เรื่องของเขา
อย่าเอามาเป็นอารมณ์ อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา

ดูใจเรานั่นแหละ พัฒนาตัวเองนั่นแหละ
ทำใจเราให้ปกติ สบาย ๆ มาก ๆ
หัด - ฝึก ปล่อยวาง นั่นเอง
ไม่มีอะไรหรอก
ไม่มีอะไรสำค ัญกว่าการตามรักษาจิตของเรา
คิดดี พูดดี ทำดี มีความสุข

ถ้าหากถ้อยคำจากเมลนี้ เป็นดั่งประทีปธรรมในการสร้างจิตสำนึกที่งดงามให้แก่ผู้ที่ได้อ่านและศึกษา พึงน้อมดวงจิตบูชาระลึกถึง
คุณพระรัตนตรัย แล้วไปสู่การประพฤติและการปฏิบัติตนในฐานะพุทธมามกะที่ดี ก็คงจะนำมาซึ่งปีติอันใหญ่หลวงยิ่ง จากการอนุโมทนาบุญ
ของผู้จัดทำขึ้น แล้ว

8/06/2009

พระพุทธศาสนา : บุญที่ถูกลืม

บุญที่ถูกลืม
โดย พระไพศาล วิสาโล เครือข่ายพุทธิกา

" คุณนายแก้ว" เป็นเจ้าของโรงเรียนที่ชอบทำบุญมาก เป็นเจ้าภาพทอดผ้าป่าทอดกฐินอยู่เนืองๆ ใครมาบอกบุญสร้างโบสถ์วิหารที่ไหน ไม่เคยปฏิเสธ เธอปลื้มปีติมากที่ถวายเงินนับแสนสร้างหอระฆัง ถวายวัดข้างโรงเรียน

แต่เมื่อได้ทราบว่านักเรียนคนหนึ่งไม่มีเงินจ่ายค่าเล่าเรียน ค้างชำระมาสองเทอมแล้ว เธอตัดสินใจไล่นักเรียนคนนั้นออกจากโรงเรียนทันที


" สายใจ" พาป้าวัย 70 และเพื่อนซึ่งมีขาพิการไปถวายภัตตาหารเช้าที่วัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีเจ้าอาวาสเป็นที่ศรัทธานับถือของประชาชนทั่วประเทศ เช้าวันนั้นมีคนมาทำบุญคับคั่ง จนลานวัดแน่นขนัดไปด้วยรถ เมื่อได้เวลาพระฉัน ญาติโยมก็พากันกลับ สายใจพาหญิงชราและเพื่อนผู้พิการเดินกระย่องกระแย่งฝ่าแดดกล้าไปยังถนนใหญ่ เพื่อขึ้นรถประจำทางกลับบ้าน ระหว่างนั้นมีรถเก๋งหลายสิบคันแล่นผ่านไป แต่ตลอดเส้นทางเกือบ 3 กิโลเมตร ไม่มีผู้ใจบุญคนใดรับผู้เฒ่าและคนพิการขึ้นรถเพื่อไปส่งถนนใหญ่เลย

เหตุการณ์ ทำนองนี้มิใช่เป็นเรื่องแปลกประหลาดในสังคมไทย

" ชอบทำบุญแต่ไร้น้ำใจ " เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ทั่วไปในหมู่ชาวพุทธ ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาว่า คนไทยนับถือพุทธศาสนากันอย่างไรจึงมีพฤติกรรมแบบนี้กันมาก เหตุใดการนับถือพุทธศาสนาจึงไม่ช่วยให้คนไทยมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์โดยเฉพาะ ผู้ที่ทุกข์ยาก การทำบุญไม่ช่วยให้คนไทยมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่นเลยหรือ

หากสังเกตจะ พบว่าการทำบุญของคนไทยมักจะกระทำต่อสิ่งที่อยู่สูงกว่าตน เช่น พระภิกษุสงฆ์ วัดวาอาราม พระพุทธเจ้า เป็นต้น แต่กับสิ่งที่ถือว่าอยู่ต่ำกว่าตน เช่น คนยากจน หรือสัตว์น้อยใหญ่ เรากลับละเลยกันมาก (ยกเว้นคนหรือสัตว์ที่ถือว่าเป็น "พวกกู" หรือ "ของกู") แม้แต่เวลาไปทำบุญที่วัด เราก็มักละเลยสามเณรและแม่ชี แต่กุลีกุจอเต็มที่กับพระสงฆ์

อะไรทำให้เราชอบทำ บุญกับสิ่งที่อยู่ สูงกว่าตน ใช่หรือไม่ว่าเป็นเพราะเราเชื่อว่าสิ่งสูงส่งเหล่านั้นสามารถบันดาลความสุข หรือให้สิ่งดีๆ ที่พึงปรารถนาแก่เราได้ เช่น ถ้าทำอาหารถวายพระ บริจาคเงินสร้างวัดหรือพระพุทธรูป ก็จะได้รับความมั่งมีศรีสุข มีอายุ วรรณะ สุข พละ เป็นต้น หรือช่วยให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ มีความสุขสบายในชาติหน้า ในทางตรงข้ามสิ่งที่อยู่ต่ำกว่าเรานั้น ไม่มีอำนาจที่จะบันดาลอะไรให้เราได้ หรือไม่ช่วยให้เราสุขสบายขึ้น เราจึงไม่สนใจที่จะช่วยเหลือเผื่อแผ่ให้แก่สิ่งเหล่านั้น

นั่นแสดงว่า ที่เราทำบุญกันมากมายก็เพราะหวังประโยชน์ส่วนตัวเป็นสำคัญ ดังนั้น ยิ่งทำบุญด้วยท่าทีแบบนี้ ก็ยิ่งเห็นแก่ตัวมากขึ้น ผลคือจิตใจยิ่งคับแคบ ความเมตตากรุณาต่อผู้ทุกข์ยากมีแต่จะน้อยลง ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการทำบุญแบบนี้กลับจะทำให้ได้บุญน้อยลง

แน่นอนว่าประโยชน์ ย่อมเกิดแก่ผู้รับอยู่แล้ว เช่น หากถวายอาหาร อาหารนั้นย่อมทำให้พระสงฆ์มีกำลังในการศึกษาปฏิบัติธรรมได้มากขึ้น แต่อานิสงส์ที่จะเกิดแก่ผู้ถวายนั้นย่อมไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะเจือด้วยความเห็นแก่ตัว ยิ่งถ้าทำบุญ 100 บาท เพราะหวังจะได้เงินล้าน บุญที่เกิดขึ้นย่อมน้อยลงไปอีกเพราะใช่หรือไม่ว่านี่เป็นการ" ค้ากำไรเกินควร "


บุญที่ทำในรูปของ การถวายทานนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือเงินก็ตาม จุดหมายสูงสุดอยู่ที่การลดความยึดติดถือมั่นในตัวกูของกู ยิ่งลดได้มากเท่าไรก็ยิ่งเข้าใกล้นิพพานอันเป็นประโยชน์สูงสุดที่เรียกว่า " ปรมัตถะ " ซึ่งสูงกว่าสวรรค์ในชาติหน้า (สัมปรายิกัตถะ) หรือความมั่งมีศรีสุขในชาตินี้ (ทิฏฐธัมมิกัตถะ) แต่หากทำบุญเพราะหวังแต่ประโยชน์ส่วนตน อยากได้เข้าตัวมากๆ แทนที่จะสละออกไปก็ยิ่งห่างไกลจากนิพพาน หรือกลายเป็นอุปสรรคขวางกั้นนิพพานด้วยซ้ำ

อันที่จริงอย่าว่าแต่นิพพานเลย แม้แต่ความสุขในปัจจุบันชาติ ก็อาจเกิดขึ้นได้ยาก เพราะจิตที่คิดแต่จะเอานั้นเป็นบ่อเกิดแห่งความทุกข์

ในทานมหัปผลสูตร อังคุตตรนิกาย พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระสารีบุตรว่า ทานที่ไม่มีอานิสงส์มากได้แก่ ทานที่ให้อย่างมีใจเยื่อใย ให้ทานอย่างมีจิตผูกพัน ให้ทานอย่างมุ่งหวังสั่งสมบุญ รวมถึงทานที่ให้เพราะต้องการเสวยผลในชาติหน้า เป็นต้น

พิจารณาเช่นนี้ก็จะพบว่า ทานที่ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ทำกันนั้นหาใช่ทานที่ พระองค์สรรเสริญไม่ นอกจากทำด้วยความมุ่งหวังประโยชน์ในชาติหน้าแล้ว ยังมักมีเยื่อใยในทานที่ถวาย กล่าวคือทั้งๆ ที่ถวายให้พระสงฆ์ไปแล้ว ก็ยังไม่ยอมสละสิ่งนั้นออกไปจากใจ แต่ใจยังมีเยื่อใยในของชิ้นนั้นอยู่ เช่น เมื่อถวาย
อาหารแก่พระสงฆ์ แล้ว ก็ยังเฝ้าดูว่าหลวงพ่อจะตักอาหาร " ของฉัน " หรือไม่หากท่านไม่ฉัน ก็รู้สึกไม่สบายใจ คิดไปต่างๆ นานา นี้แสดงว่ายังมีเยื่อใยยึดติดผูกพันอาหารนั้นว่าเป็นของฉันอยู่ ไม่ได้ถวายให้เป็นของท่านอย่างสิ้นเชิง


เยื่อใยในทานอีกลักษณะหนึ่ง ที่เห็นได้ทั่วไปก็คือ การมุ่งหวังให้ผู้คนรับรู้ว่าทานนั้นๆ ฉันเป็นผู้ถวาย ดังนั้น ตามวัดวาอารามต่างๆ ทั่วประเทศ ของใช้ต่างๆ ไม่ว่า ถ้วย ชาม แก้วน้ำ หม้อ โต๊ะ เก้าอี้ ตลอดจนขอบประตูหน้าต่างในโบสถ์ วิหารและศาลาการเปรียญ จึงมีชื่อผู้บริจาคอยู่เต็มไปหมด กระทั่งพระพุทธรูปก็ไม่ละเว้น

ราวกับจะยังแสดง ความเป็นเจ้าของอยู่ หาไม่ก็หวังให้ผู้คนชื่นชมสรรเสริญตน การทำบุญอย่างนี้ จึงไม่ได้ละความยึดติดถือมั่นในตัวตนเลย หากเป็นการประกาศตัวตนอีกแบบหนึ่งนั่นเอง

การทำบุญแบบนี้แม้ จะมีข้อ ดีตรงที่ช่วยอุปถัมภ์วัดวาอารามและพระสงฆ์ให้ดำรงอยู่ได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งก็ไม่ส่งเสริมให้ผู้คนมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน โดยเฉพาะการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากหรือไร้อำนาจวาสนา


ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ เมืองไทยมีวัดวาอารามใหญ่โตและสวยงามมากมาย แต่เวลาเดียวกันก็มีคนยากจนและเด็กถูกทอดทิ้งเป็นจำนวนมาก ไม่นับสัตว์อีกนับไม่ถ้วนที่ถูกละเลย หรือถูกปลิดชีวิตแม้กระทั่งในเขตวัด

อันที่จริงถ้ามอง ให้กว้างกว่าการทำบุญ ก็จะพบปรากฏการณ์ในทำนองเดียวกัน นั่นคือคนไทยนิยมทำดีกับคนที่ถือว่าอยู่สูงกว่าตน แต่ไม่สนใจที่จะทำดีกับคนที่ถือว่าต่ำกว่าตน เช่น ทำดี กับเจ้านาย คนรวย ข้าราชการระดับสูง นักการเมือง ทั้งนี้ ก็เพราะเหตุผลเดียวกันคือคนเหล่านั้นให้ประโยชน์แก่เราได้ (หรือแม้เขาจะให้คุณได้ไม่มาก แต่ก็สามารถให้โทษได้) ประโยชน์ในที่นี้ไม่จำต้องเป็นประโยชน์ทางวัตถุอาจเป็นประโยชน์ทางจิตใจก็ ได้ เช่น คำสรรเสริญ หรือการให้ความยอมรับ ประการหลังคือเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนไทยขวนขวายช่วยเหลือฝรั่งที่ตกทุกข์ได้ ยากอย่างเต็มที่

แต่กลับเมินเฉยหาก คนที่เดือดร้อนนั้นเป็นพม่า มอญลาว เขมร หรือกะเหรี่ยง ใช่หรือไม่ว่าคำชื่นชมของพม่าหรือกะเหรี่ยงความหมายกับเราน้อยกว่าคำ สรรเสริญของฝรั่ง

บุคคลจะได้ชื่อว่าเป็นคนใจบุญ ไม่ใช่เพราะนิยมทำบุญกับสิ่งที่อยู่สูงกว่าตนเท่านั้น หากยังยินดีที่จะทำบุญกับสิ่งที่เสมอกับตนหรืออยู่ต่ำกว่าตนอีกด้วย แม้เขาจะไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่ตนได้ ก็ช่วยเหลือด้วยความเต็มใจ ทั้งนี้ เพราะมิได้หวังผลประโยชน์ใดๆ นอกจากความปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์ นี้คือกรุณาที่แท้ในพุทธศาสนา

การทำดีโดยหวังผลประโยชน์ หรือยังมีการแบ่งแยกและเลือกปฏิบัติอยู่ ย่อมไม่อาจเรียกว่าทำด้วยเมตตากรุณาอย่างแท้จริง จะว่าไปแล้ว ไม่เพียงความใจบุญหรือความเป็นพุทธเท่านั้น แม้กระทั่งความเป็นมนุษย์ก็วัดกันที่ว่า เราปฏิบัติอย่างไรกับคนที่อยู่ต่ำกว่าเราหรือมีอำนาจน้อยกว่าเรา หาได้วัดที่การกระทำต่อคนที่อยู่สูงกว่าเราไม่





ถ้าเรายังละเลย เด็กเล็ก ผู้หญิง คนชรา คนยากจน คนพิการ คนป่วย รวมทั้งสัตว์เล็กสัตว์น้อย แม้จะเข้าวัดเป็นประจำ บริจาคเงินให้วัด อุปถัมภ์พระสงฆ์มากมาย ก็ยังเรียกไม่ได้ว่าเป็นคนใจบุญ เป็นชาวพุทธ หรือเป็นมนุษย์ที่แท้ ไม่ผิดหากจะกล่าวว่านี้เป็นเครื่องวัดความเป็นศาสนิกที่แท้ในทุกศาสนาด้วย แม้จะปฏิบัติตามประเพณีพิธีกรรมทางศาสนาอย่างเคร่งครัด แต่เมินเฉยความทุกข์ยากของเพื่อนมนุษย์ หรือยิ่งกว่านั้นคือกดขี่บีฑาผู้คนในนามของพระเจ้า ย่อมเรียกไม่ได้ว่าเป็นศาสนิกที่แท้ จะกล่าวไปใยถึงความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์

ในแง่ของชาวพุทธ การช่วยเหลือผู้ที่ทุกข์ยากเดือดร้อน ทั้งๆ ที่เขาไม่สามารถให้คุณให้โทษแก่เราได้เป็นเครื่องฝึกใจให้มีเมตตากรุณา และลดละความเห็นแก่ตัวได้เป็นอย่างดี ยิ่งทำมากเท่าไร จิตใจก็ยิ่งเปิดกว้าง อัตตาก็ยิ่งเล็กลง ทำให้มีที่ว่างเปิดรับความสุขได้มากขึ้น ยิ่งให้ความสุขแก่เขามากเท่าไร เราเองก็ยิ่งมีความสุขมากเท่านั้น สมดังพุทธพจน์ว่า" ผู้ให้ความสุขย่อมได้รับความสุข "
เป็นความสุขที่ไม่ หวังจะได้รับ แต่ยิ่งไม่อยาก ก็ยิ่งได้ ในทางตรงข้ามยิ่งอยาก ก็ยิ่งไม่ได้เมื่อ ใจเปิดกว้างด้วยเมตตากรุณา เราจะพบว่าไม่มีใครที่อยู่สูงกว่าเราหรือต่ำกว่าเรา ถึงจะเป็นพม่ามอญ ลาว เขมร กะเหรี่ยง ลัวะ ขมุ เขาก็มีสถานะเสมอเรา คือเป็นเพื่อนมนุษย์ และเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย กับเรา



แม้แต่สัตว์ก็เป็นเพื่อนเราเช่นกัน จิตใจเช่นนี้คือจิตใจของชาวพุทธ และเป็นที่สถิตของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง การทะนุบำรุงพุทธศาสนาที่แท้ ก็คือการบำรุงหล่อเลี้ยงจิตใจเช่นนี้ให้เจริญงอกงามในตัวเราในลูกหลานของเรา และในสังคมของเราหาใช่การทุ่มเงินสร้างโบสถ์วิหารราคาแพงๆ หรือสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่โตที่สุดในโลกไม่

ดังนั้น เมื่อใดที่เราเห็นคนทุกข์ยาก ไม่ว่าเขาจะเป็นใครมาจากไหน เชื้อชาติอะไร ต่ำต้อยเพียงใดอย่าได้เบือนหน้าหนี ขอให้เปิดใจรับรู้ความทุกข์ของเขา แล้วถามตัวเองว่าเราจะช่วยเขาได้หรือไม่และอย่างไร เพราะนี้คือโอกาสดีที่เราจะได้ทำบุญ ลดละอัตตาตัวตน และบำรุงพระศาสนาอย่างแท้จริง.

ที่มา ธรรมะใกล้มือ : www.dhamma4u.com

พระพุทธศาสนา : เป็นมนุษย์นี้แสนยาก


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

บนพื้นโลกอันกว้างใหญ่ไพศาล เป็นที่อาศัยของสัตว์นานาชนิด มากมายเหลือที่จะนับ
มีทั้งที่เราเคยเห็นและไม่เคยเห็น ที่มีรายกายใหญ่โตอย่างช้างก็มี ที่มีร่างกายเล็กอย่างมดหรือ
เล็กยิ่งกว่ามดก็มี ที่มีร่างกายละเอียดเกินกว่าที่ตามนุษย์จะเห็นได้ เช่นเทวดาก็มี
สัตว์บางพวกมีรูปร่างสวยงาม น่าทัศนา บางพวกมีรูปร่างน่าเกลียด ไม่ชวนมอง
บางพวกก็มีรูปร่างแปลกๆจนดูน่าขัน
สัตว์นอกจากจะมีมากมายหลายชนิด และมีรูปร่างผิดแผกแตกต่างกันแล้ว ยังมีอุปนิสัยจิตใจ
แตกต่างกันด้วย บางพวกมีจิตใจอ่อนโยน มีเมตตากรุณา บางพวกดุร้าย ใจแคบ บางพวกใจกว้างเอื้อ
เฟื้อเผื่อแผ่อารีอารอบ ฯลฯ ไม่มีสัตว์ชนิดใดเลยที่เหมือนกันทุกอย่าง แม้ลูกฝาแฝดที่ว่ามีรูปร่างหน้าตา
คล้ายกันมากที่สุด ก็ยังไม่เหมือนกันทุกส่วน ถ้าเหมือนกันทุกส่วนแล้ว เราจะไม่ทราบเลยว่าใครเป็นพี่
ใครเป็นน้อง นอกจากนั้น นิสัยใจคอของฝาแฝดก็มิได้เหมือนกัน
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายเกิดมาด้วยกรรม และดำเนินไปตามกรรมที่ตนทำไว้ มีกรรม
จำแนกให้ผิดแผกแตกต่างกัน
ในน้ำมี กุ้ง ปู เต่า ปลา และสัตว์น้อยใหญ่ที่เรารู้จัก และไม่รู้จักอีกมากมาย
บนบกมี มนุษย์ ช้าง ม้า วัว ควาย สุนัข แมว เป็นต้น
ในอากาศมี นก ผีเสื้อ และแมลงต่างๆ
นอกจากนั้นก็ยังมีเทพบุตร เทพธิดา อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ เปรต อสุรกาย และสัตว์นรก
ในบรรดาสัตว์เหล่านั้น มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐที่สุด ที่ประเสริฐที่สุดเพราะมนุษย์มีโอกาส
ทำความดีได้ทุกชนิด ตั้งแต่ความดีเล็กน้อย ไปจนถึงความดีขั้นสูงสุด คือการบรรลุมรรค ผล นิพพาน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า "การได้อัตภาพเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก" แต่การดำเนินชีวิต
ให้ถูกทางเมื่อมาแล้วยังยากกว่า เพราะถ้าดำเนินชีวิตไม่ถูกทางแล้วชีวิตในอนาคตมีแต่จะตกต่ำลง
ยากนักที่จะมีโอกาสกลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก ในเมื่อตายไป
การเกิดเป็นมนุษย์ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างนำเกิดฉันใด การดำเนินชีวิตให้ถูกต้องเมื่อเกิด
มาแล้ว ก็ต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างฉันนั้น
การเกิดเป็นมนุษย์ต้องอาศัย บุญ มีทานเป็นต้นนำเกิด
การดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง ก็ต้องอาศัยสมบัติ ๔ อย่างที่พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า จักกะ ๔ หรือ
จักร ๔ เป็นสำคัญผู้ใดมีจักร ๔ อย่างนี้ ย่อมได้รับโภคทรัพย์ ยศ ชื่อเสียง ความสุขและความเจริญ
ตลอดชีวิต
จักร ๔ อย่าง คือ
๑. ปฏิรูปเทสวาสะ การได้อยู่ในประเทศที่สมควร
คำว่า ประเทศที่สมควร นั้นได้แก่ สถานที่ หรือถิ่นที่มีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แผ่ไปถึง หรือเป็นที่อยู่ หรือเป็นที่ผ่านไปมาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า
พระสงฆ์สาวก หรืออุบาสก อุบาสิกา ผู้นับถือพระรัตนตรัย
ลองพิจารณาดูเมืองไทยที่ได้ชื่อว่า ดินแดนแห่งพระพุทธศาสนาบ้าง บางแห่งก็ไม่มีพระสงฆ์
สาวกของพระพุทธเจ้าอาศัยอยู่ หรือจาริกผ่านไป บางแห่งมีวัดก็ไม่มีพระสงฆ์ ต้องการจะทำบุญ ถวาย
ทานสักครั้ง ก็หาภิกษุผู้รับทานไม่ได้ แม้การทำทานก็ยังยาก จะป่วยกล่าวไปไยกับการรักษาศีล หรือเจริญ
ภาวนา ที่ใดที่กุศลเกิดได้ยาก ที่นั้นไม่ชื่อว่าประเทศที่สมควร
ผู้ที่อยู่ในถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปไม่ถึงนั้นน่าสงสารมาก แม้การหาเลี้ยงชีพจะไม่ฝืดเคือง
มีอาหารบริโภคสมบูรณ์ แต่เขาก็ดำเนินชีวิตไปตามยถากรรม โดยไม่รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร
อะไรทำแล้วเป็นบุญ อะไรทำแล้วเป็นบาป สักแต่ว่าทำตามๆกัน อย่างที่บรรพบุรุษเคยทำมา
แม้คนที่อยู่ในถิ่นที่พระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง แต่ไม่สนใจศึกษาหรือสดับพระธรรมคำสอนของ
พระพุทธเจ้า ก็ไม่ผิดอะไรกับคนป่าคนดอย
คนที่ไม่รู้จักพระพุทธศาสนานั้น เวลามีทุกข์ก็แสวงหาวิธีดับทุกข์ที่ไม่ถูกทาง
บางคนอาศัยอบายมุข มีการพนันเป็นต้น เป็นเครื่องดับทุกข์
บางคนบนบาน เทวดา ผีสาง นางไม้ เจ้าป่า เจ้าเขาให้ช่วย
บางคนคิดว่า ตายเสียได้คงพ้นทุกข์ จึงได้ฆ่าตัวตายด้วยวิธีต่างๆ ฯลฯ
ผู้ที่แสวงหาสิ่งดังกล่าวแล้วเป็นต้นนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่ดับทุกข์ ชื่อว่าแสวงหาที่พึ่งผิด
ทาง เพราะที่พึ่งเหล่านั้นไม่ใช่ที่พึ่งอันประเสริฐ ไม่ใช่ที่พึ่งที่อาจดับทุกข์ได้ตลอดไป
เพราะอะไร
เพราะตัวของผู้เป็นทุกข์เองก็มีสภาพไม่เที่ยง ยังต้องมีความเกิด แก่ เจ็บ ตาย แตกดับ
เป็นธรรมดา สิ่งที่ยึดเอาเป็นที่พึ่งนั้นเล่าก็ไม่เที่ยง มีความแตกดับเป็นธรรมดาเช่นเดียวกัน สิ่งที่มี
สภาพไม่เที่ยง แตกดับด้วยกัน จะดับทุกข์ของกันได้ตลอดไปได้อย่างไร
บางคนมีทุกข์ไม่ได้แสวงหาที่พึ่งดังกล่าวนั้น แต่อาศัยพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
เป็นที่พึ่ง คนเช่นนี้ชื่อว่าแสวงหาที่พึ่งที่ถูกทาง แสวงหาเครื่องดับทุกข์ที่ถูกทาง
เพราะอะไร
เพราะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ๓ ประการนี้ชื่อว่าที่พึ่งอันประเสริฐ ชื่อว่าที่พึ่งอัน
สูงสุด ชื่อว่าที่พึ่งอันเกษม เพราะเป็นที่พึ่งที่เป็นปัจจัยให้เข้าถึงความเกษม คือพระนิพพาน อันไม่มี
ความแตกดับ ก้าวล่วงทุกข์ทั้งปวงได้ในที่สุด
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ธรรมบท พุทธวรรค ข้อ ๒๔ ว่า "มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก
ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถือเอาภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม
นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันสูงสุด บุคคลอาศัยสิ่งเหล่านั้นแล้วย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
ส่วนผู้ใดมาถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง เห็นแจ้งอริยสัจ ๔ คือ
ทุกข์, สมุทัย เหตุให้เกิดทุกข์, นิโรธ ธรรมเป็นเครื่องดับทุกข์, และอริยมรรคอันประกอบด้วย
องค์ ๘ อันเป็นทางให้ถึงความดับทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ นั่นเป็นที่พึ่งอันเกษม นั่นเป็นสูงสุด
บุคคลอาศัยพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งแล้ว ยังพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้"
เพราะฉะนั้น การอยู่ในประเทศที่สมควร ประเทศที่มีพระพุทธศาสนาแผ่ไปถึง จึงเป็นอุดมมงคล
เป็นเหตุให้เกิดความเจริญ เป็นปัจจัยให้เราดำเนินชีวิตได้ถูกทางประการหนึ่ง
๒. สัปปุริสูปัสสยะ การเข้าไปอาศัยสัตบุรุษ หรือการคบหาสัตบุรุษ
อย่าว่าแต่คนที่อยู่ในดินแดนที่ไม่สมควรเลย ที่จะแสวงหาที่พึ่งอันไม่ถูกทาง แม้คนที่อยู่ใน
ประเทศที่สมควร บางครั้งและบางคนก็ยังแสวงหาที่พึ่งไม่ถูกทางเช่นเดียวกัน ทั้งนี้เพราะเขามิได้เข้าไป
คบหา สนทนากับสัตบุรุษผู้รู้ทั้งหลาย เขาจึงไม่มีโอกาสทราบว่า สิ่งใดควรประพฤติ สิ่งใดไม่ควรประพฤติ
สิ่งใดมีโทษ สิ่งใดไม่มีโทษ สิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไม่เป็นประโยชน์
เพราะฉะนั้น การคบหาสัตบุรุษจึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งที่ ๒ ในการดำเนินชีวิตให้ถูกต้อง
สัตบุรุษนั้น ได้แก่ผู้สงบ คือ สงบจากกายทุจริต สงบจากวจีทุจริต สงบจากมโนทุจริต
อันเป็นบาปอกุศล
กายทุจริตการประพฤติชั่วทางกาย มี ๓ อย่าง คือ การฆ่าสัตว์ทั้งด้วยตนเองและใช้ผู้อื่น ๑
การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ด้วยเจตนาคิดจะลัก ๑ การประพฤติผิดประเวณี ๑
วจีทุจริตการประพฤติชั่วทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ การพูดเท็จ ๑ การพูดส่อเสียด ให้ผู้อื่น
แตกแยกกัน ๑ การพูดคำหยาบ ๑ การพูดเพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สาระ ๑
มโนทุจริตการประพฤติชั่วทางใจ มี ๓ อย่าง คือ อภิชฌา การคิดเพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น
มาเป็นของตน ๑ พยาบาท การคิดให้ผู้อื่นพินาศ ๑ มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดว่าทานที่ให้แล้วไม่มีผล เป็นต้น ๑
สัตบุรุษนั้นเป็นผู้มีศรัทธา เชื่อมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เชื่อกรรมและผลของกรรม
เชื่อว่าสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นผู้มีศีล เป็นผู้มีพาหุสัจจะ คือ สดับฟังตรับฟังมาก มีหิริ ความ
ละอายบาป มีโอตตัปปะ ความกลัวบาป มีจาคะ ยินดีในการให้ไม่ตระหนี่ และมีปัญญารู้จัก อะไรควร
ไม่ควรตลอดจนมีปัญญาพาตนให้พ้นทุกข์ได้
พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวก ตลอดจนผู้ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม
ชื่อว่าสัตบุรุษ ในบรรดาสัตบุรุษเหล่านั้น พระพุทธเจ้าประเสริฐที่สุด
พระพุทธเจ้านั้นเกิดขึ้นได้แสนยาก นานนักหนาว่าจะมีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้สักพระองค์
หนึ่ง การบังเกิดขึ้นของพระองค์นำมาซึ่งประโยชน์ และความสุขแก่มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย อย่าง
หาประมาณมิได้ พระองค์ทรงชี้ทางให้สัตว์ทั้งหลายได้เข้าสู่สุคติโลกสวรรค์ และมรรค ผล นิพพาน
เป็นจำนวนมาก
การได้ฟังพระสัทธรรม คือคำสั่งสอนของพระองค์ก็ยากเพราะเราอาจจะไปเกิดเสียในทุคติมี
นรกเป็นต้น หรือแม้ได้เกิดในสุคติมีมนุษย์เป็นต้น ก็ไม่แน่ว่าเราจะได้มีโอกาสฟังธรรมของพระองค์หรือ
ไม่ ทั้งนี้เพราะใจของสัตว์นั้นมากด้วยความยินดีต้องการ แต่พระองค์ทรงสอนให้ละความยินดีความต้อง
การ เป็นการทวนกระแสกิเลส ผู้ฟังที่ขาดปัญญาบารมี จึงมิได้สนใจคำสอนของพระองค์เท่าที่ควร
เมื่อไม่สนใจก็ประพฤติผิดทาง
ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า "ในโลกนี้ คนที่เห็นแจ้งมีน้อย สัตว์ที่ไปสวรรค์มีน้อย
เหมือนนกพ้นจากข่ายมีน้อย"
และตรัสว่า "คนที่ไปถึงฝั่งคือพระนิพพานมีน้อย ส่วนมากมักเลาะอยู่ริมฝั่ง"
ผู้ใดได้ฟังธรรมของพระองค์แล้วประพฤติตาม ย่อมได้รับความสุขชั่วนิรันดร
พระพุทธเจ้าและพระสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้ที่ควรบูชา ใครๆไม่ควรดูหมิ่นว่า
บุญที่เกิดจากการบูชาพระองค์และสาวกของพระองค์เป็นบุญเล็กน้อย เพราะว่าการบูชาบุคคล
ที่ควรบูชา ผู้เช่นกับด้วยพระองค์และสาวกของพระองค์ผู้หมดจดจากกิเลสนั้น ใครๆ ไม่อาจ
ประมาณบุญนั้นได้ว่ามีประมาณเท่านั้นเท่านี้
เมื่อสัตบุรุษท่านเป็นผู้เพียบพร้อมด้วยคุณความดีดังกล่าวนี้ ท่านก็ปรารถนาให้ผู้อื่นได้เป็น
เช่นเดียวกับท่าน เมื่อผู้ใดเข้าไปหาท่าน ท่านก็ย่อมจะสอนให้ผู้นั้นได้ตั้งอยู่ในคุณความดีเช่นเดียวกับ
ท่าน นั่นคือสอนให้ละชั่ว ประพฤติดี ได้แก่ละบาปทุจริต ประพฤติกุศลสุจริต
ปัจจุบันนี้แม้พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว แต่พระสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ
ตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ผู้ตั้งอยู่ในศีล ในธรรม มั่นคงในพระรัตนตรัย ยังมีอยู่ ท่านเหล่านี้
เป็นสัตบุรุษที่เราควรเข้าไปคบหาสมาคม และดำเนินรอยตามท่าน
การคบหาสัตบุรุษ จึงเป็นปัจจัยประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตให้ถูกทาง
๓. อัตตสัมมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ
แม้การคบสัตบุรุษจะเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินชีวิตให้ถูกทาง แต่ถ้าเป็นแต่
เพียงเข้าไปคบหา มิได้สนใจที่จะประพฤติตามคำสอนของท่านแล้ว การคบหานั้นก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด
ในเมื่อเรามิได้ตั้งตนไว้ชอบ คือมิได้ตั้งอยู่ในธรรมของสัตบุรุษ คือสุจริตธรรม ๑๐ ประการ มีการงดเว้น
จากการฆ่าสัตว์เป็นต้น
ก็สุจริตธรรม ๑๐ ประการ หรือกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการนี้ ชื่อว่าธรรมของมนุษย์
เราเกิดเป็นมนุษย์แล้วมีกุศลกรรมบถไม่ครบ ๑๐ จะชื่อว่าเป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์ได้อย่างไร
ก็คำว่า "มนุษย์" นั้นแปลว่า ผู้มีใจสูง คือสูงด้วยคุณธรรม มีเมตตากรุณา ไม่ฆ่าสัตว์
ไม่เบียดเบียนสัตว์ เป็นต้น ทั้งเป็นผู้จักเหตุที่สมควรและไม่สมควร เป็นผู้รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไร
ไม่เป็นประโยชน์ และอะไรเป็นกุศล อะไรไม่เป็นกุศล ถ้ามนุษย์ไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ มนุษย์ก็ไม่ต่างกับสัตว์
เดียรัจฉาน
มนุษย์ที่มีจิตใจเป็นมนุษย์ ท่านเรียกว่า มนุสสมนุสโส
มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเปรต คือหิวกระหาย อยากได้ ต้องการ อยู่เสมอ ไม่อิ่ม ไม่เต็ม
ท่านเรียกว่า มนุสสเปโต
มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเดียรัจฉาน ไม่รู้ว่าอะไรดี อะไรชั่ว เอาแต่ กิน นอน และสืบพันธุ์เท่านั้น
ท่านเรียกว่า มนุสสติรัจฉาโน
มนุษย์ที่มีจิตใจเหมือนเทวดา คือรู้จักละอายบาปและกลัวบาป รื่นเริงบันเทิงอยู่ ท่านเรียกว่า
มนุสสเทโว
มนุษย์จึงควรมีศีล ๕ เป็นอย่างต่ำ มีกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นอย่างสูง ส่วนใครสามารถ
จะทำฌาน วิปัสสนา มรรค ผล อันเป็นอุตตริมนุสสธรรม คือธรรมที่ยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์
ให้เกิดได้ ยิ่งประเสริฐ
คนในสมัยพุทธกาลเป็นจำนวนมาก ที่ได้เกิดในประเทศที่สมควร คือเกิดในดินแดนของ
พระพุทธศาสนาในสมัยที่พระบรมศาสดาอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ ได้เข้าไปคบหา
ใกล้ชิดพระองค์ ได้ฟังธรรมของพระองค์ แต่ยังคงประพฤตินอกลู่ นอกทาง ผิดศีล ผิดธรรม อย่างนี้ชื่อ
ว่าตั้งตนไว้ผิด ดังพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง เมื่อตั้งต้นไว้ผิด ชีวิตของเขาจะพบกับความสุขความเจริญ
ได้อย่างไร
ด้วยเหตุนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทาง" คือบอกทางสวรรค์
และ มรรค ผล นิพพาน ให้เท่านั้น ส่วนการดำเนินชีวิตให้ถึงจุดหมายปลายทางนั้น ท่านทั้งหลาย ต้องประ
พฤติด้วยตนเอง
๔. ปุพเพ กตปุญญตา การได้ทำบุญไว้ในปางก่อน เป็นจักรข้อที่ ๔ ที่จะสนับสนุนให้
เราดำรงชีวิตอยู่ในทางที่ชอบ กอปรด้วยประโยชน์
การเกิดเป็นมนุษย์ในชาตินี้ ก็อาศัยบุญที่ได้ทำไว้ในปางก่อน คือในชาติที่ล่วงมาแล้วนำเกิด
เมื่อมีชีวิตอยู่ มีโอกาสได้อยู่ในถิ่นที่สมควร ได้พบพระพุทธศาสนา ได้คบหาสัตบุรุษและฟังธรรมจากท่าน
ทำให้ตั้งตนไว้ชอบ สนใจในการทำบุญกุศล ตลอดจนการประพฤติปฏิบัติ เพื่อบรรลุ มรรค ผล นิพพาน
อันเป็นกุศลสูงสุด ก็ล้วนอาศัย บุญ ที่ได้เคยทำไว้เป็นปัจจัยสนับสนุนให้ได้รับผลสำเร็จทั้งสิ้น
ถ้าขาดบุญเสียแล้ว ท่านจะไม่มีโอกาสได้รับสิ่งเหล่านี้เลย
หากยังต้องเกิดอีกตราบใด บุญที่ทำไว้ในชาติก่อนๆที่ยังไม่มีโอกาสให้ผล รวมกับบุญ
ที่ทำใหม่ในชาตินี้ ก็ยังติดตามไปให้ผลในชาติต่อไปด้วย
สิ่งทั้งหลายที่เราปรารถนาและแสวงหามาไว้ ล้วนอยู่กับเราผู้เป็นเจ้าของไม่นานเลย ของเหล่า
นั้นแม้จะเป็นที่รักสักเพียงใด ก็ไม่อาจติดตามเจ้าของไปภพหน้าได้ แม้เมื่อเจ้าของยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่แน่
ว่าของนั้นจะอยู่กับเจ้าของตลอดไป อาจสูญหาย หรือถูกทำลายไปด้วยไฟบ้าง ด้วยโจรบ้าง ด้วยน้ำบ้าง
ด้วยผู้มีอำนาจบ้าง ด้วยการล้างผลาญของทายาทที่มีความประพฤติไม่ดีบ้าง ฯลฯ
ส่วนบุญมิได้เป็นเช่นนั้น ใครๆไม่อาจทำลายบุญให้สูญหายไปได้ แม้โจรก็ลักไปไม่ได้
ไฟไหม้ไม่ได้ น้ำท่วมไม่ได้ ถูกผู้มีอำนาจริบไม่ได้ หรือถูกทายาทที่มีความประพฤติไม่ดีล้างผลาญ
ไม่ได้ ฯลฯ แม้เมื่อสิ้นชีวิตแล้ว บุญนั้นสามารถติดตามไปให้ความสุขแก่เจ้าของในภพหน้าได้ด้วย
เพราะเหตุนั้น บุญ ที่ทำไว้ จึงเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ชีวิตของเรา ให้พบกับความสุขและความ
สำเร็จ ประการหนึ่ง
ในทางตรงกันข้าม บาปที่บุคคลสั่งสมไว้ในปางก่อน ก็เป็นปัจจัยให้พบกับความทุกข์และความ
ผิดหวังนานาประการ ทั้งยังติดตามไปให้ความทุกข์แก่ผู้กระทำในภพหน้าด้วย
ผู้มีปัญญาจึงเพียรละบาป เร่งบำเพ็ญบุญ
เรื่องของการทำความดี คือบุญกุศลนั้น เมื่อมีจิตเลื่อมใสศรัทธาแล้ว อย่ารีรอจงทำทันที เพราะ
จิตนั้นกลับกลอกเปลี่ยนแปลงรวดเร็วนัก มีปกติไหลไปหาบาป ทั้งเราไม่อาจรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร
เราอาจจะตายเสียในขณะที่ยังรีรออยู่ก็ได้
ชีวิตนั้นยังพอประกันได้ แต่ไม่มีใครสามารถประกันศรัทธาของใครได้ ว่าให้ตั้งอยู่
นานเท่านั้นเท่านี้แม้ท่านผู้ทรงฤทธิ์ เป็นพระอรหันต์อย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ ก็ยังไม่อาจ
ประกันศรัทธาของอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านได้
มีเรื่องเล่าไว้ใน สุปปาวาสาสูตร ขุททกนิกาย อุทาน ข้อ ๖๒ ตอนหนึ่งว่า . . . . . .
พระนางสุปปาวาสาโกลิยธิดา ประสูติพระโอรสแล้ว ทรงปรารถนาจะถวายภัตตาหารแด่
พระพุทธเจ้ากับพระสงฆ์สาวกสัก ๗ วัน เมื่อทรงส่งคนไปกราบทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าไม่อาจ
ทรงรับนิมนต์ได้ในทันที เพราะอุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลนิมนต์ไว้
ก่อนแล้ว จึงตรัสสั่งให้ท่านพระมหาโมคคัลลานะบอกเรื่องนี้แก่อุบาสกผู้เป็นอุปัฏฐากของท่าน อุบาสกนั้น
กล่าวว่า ถ้าท่านพระมหาโมคคัลลานะสามารถประกันโภคสมบัติ ชีวิตและศรัทธาของท่านได้ ท่านก็ยอม
ตกลง ท่านพระมหาโมคคัลลานะยอมประกันแต่โภคสมบัติ และชีวิตของอุบาสกนั้นเท่านั้น แต่ไม่อาจประ
กันศรัทธาของอุบาสกได้
เมื่ออุบาสกนั้นเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะประกันโภคสมบัติและชีวิตของตน ว่าจะไม่เป็น
อันตรายใน ๗ วัน จึงได้ยินยอมให้พระนางสุปปวาสาถวายภัตตาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสาวกก่อน ตน
จะถวายภายหลัง ทั้งนี้เพราะมั่นใจว่าศรัทธาของตนที่มีต่อพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก จะไม่หวั่นไหว
เปลี่ยนแปลงเป็นอื่น
สรุปว่าไม่มีใครอาจประกันจิตที่เป็นกุศลของใครได้ว่า จะไม่เปลี่ยนเป็นอื่น เพราะจิตนั้นเกิดดับ
รวดเร็ว กลับกลอกรักษาได้ยาก แต่ผู้ที่สามารถผึกจิตที่กลับกลอก รักษาได้ยากให้อยู่ในอำนาจได้ คือให้
ตั้งอยู่ในกุศลได้แล้ว เป็นความดีเพราะจิตที่บุคคลฝึกดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
แต่จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิด คือตั้งไว้ในบาปอกุศล มีกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมนำ
ความทุกข์และความพินาศมาให้ แม้คนที่มีเวรต่อกัน ก็ยังนำความทุกข์และความพินาศมาให้น้อย
กว่าจิตที่ตั้งไว้ผิด
มีคนเป็นจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่า จิตของมนุษย์เมื่อเริ่มเกิด คือถือกำเนิดในครรภ์มารดานั้น
บริสุทธิ์ ไม่มีความต้องการใดๆ แต่เมื่อโตขึ้นจิตก็เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสมีโลภะเป็นต้นจรมารบกวน
ทำให้ต้องการสิ่งโน้นสิ่งนี้ไม่มีที่สิ้นสุด
จริงอยู่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ใน อํ. เอกนิบาต ข้อ ๕๐ ว่า จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนี้เศร้า
หมองแล้ว ด้วยอุปกิเลสที่จรมา
คำว่า จิตปภัสสร ที่แปลกันว่า จิตผุดผ่อง นี้ ก็มีความหมายเพียงผุดผ่องเท่านั้น มิได้หมาย
ไกลไปถึงว่าบริสุทธิ์ เพราะจิตบริสุทธิ์นั้นหมายถึงจิตที่ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง
แต่จิตผุดผ่องมิได้เป็นเช่นนั้น เพราะยังมีกิเลสอย่างละเอียดคืออนุสัยกิเลสตามนอนอยู่ ด้วย
เหตุที่ยังละไม่ได้ ก็อนุสัยกิเลสนี้ที่ทำให้จิตเศร้าหมอง หากเชื้อคืออนุสัยกิเลสยังนอนสงบนิ่งอยู่ตราบใด
จิตนี้ผุดผ่องอยู่ตราบนั้น จิตผุดผ่องนี้คือภวังคจิต ที่ทำหน้าที่รักษาภพชาติคือความเป็นมนุษย์เอาไว้เป็น
จิตที่รับอารมณ์ที่ได้รับมาจากภพเก่าคือชาติก่อน ยังมิได้ขึ้นสู่วิถี ทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส
เย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์ ต่อเมื่อใดอารมณ์ใหม่มาปรากฎทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ
เมื่อนั้นจิตก็ขึ้นวิถีทำหน้าที่เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัสเย็น ร้อน อ่อน แข็ง และรู้ธัมมารมณ์ หาก
ไม่สำรวมจิตให้ดี คือขาดสติหลงใหลไปในอารมณ์เหล่านั้นอุปกิเลสก็จะจรเข้ามา ทำให้จิตเศร้าหมองทันที
ด้วยเหตุนี้ ภวังคจิตจึงไม่ผิดกับน้ำที่มองดูใส แต่มีตะกอนนอนอยู่ข้างล่าง เมื่อมีอะไร
มากวน น้ำนั้นก็ขุ่นทันที
น้ำที่มีตะกอนนอนอยู่ข้างล่าง มองดูใสสะอาดฉันใด ภวังคจิตที่มีอนุสัยนอนสงบอยู่ก็ดู
ผุดผ่องฉันนั้น
ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ จิตของทารกแรกเกิดจึงมิได้บริสุทธิ์ เพราะถ้าจิตของทารกบริสุทธิ์แล้ว
ไซร์ ทารกนั้นก็ปราศจากกิเลสโดยสิ้นเชิง เป็นพระอรหันต์มาตั้งแต่เกิด แต่พระอรหันต์นั้นเมื่อปรินิพพาน
แล้ว ท่านไม่เกิดอีก เพราะท่านดับอนุสัยกิเลสอันเป็นเชื้อที่จะทำให้เกิดได้หมดแล้ว
ในทางพระพุทธศาสนานั้นแสดงว่าผู้ที่มาเกิด ไม่ว่าจะเกิดในภพภูมิใด ผู้นั้นคือผู้ที่ยังไม่หมด
กิเลส จิตยังไม่บริสุทธิ์ เพราะถ้าจิตบริสุทธิ์หมดกิเลสแล้วจะมาเกิดอีกไม่ได้ นอกจากนั้นยังแสดงว่า
ผู้ที่เกิดขึ้นในภพใหม่นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วจิตที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ใหม่เป็นครั้งแรกต่อภวังคจิต
คือโลภะจิตที่ประกอบด้วยความยินดีในภพที่ตนเกิด ต่อแต่นั้นจิตอื่นมีกุศลเป็นต้นจึงจะเกิดได้ ทั้งนี้
ไม่เว้นแม้แต่พระอนาคามีผู้เกิดในพรหมโลก
การร้องไห้ของทารกที่คลอดจากครรภ์มารดาก็ดี ร้องไห้เพราะต้องการนมก็ดี ล้วนแต่แสดงว่า
ทารกนั้นมีกิเลสทั้งสิ้น จริงอยู่ เด็กไม่อาจแสดงออกซึ่งกิเลสหยาบมีการตีการด่า เป็นต้นได้ แต่เด็กก็แสดง
ออกซึ่งกิเลสที่มีอยู่ในใจให้ผู้อื่นรู้ว่า เขาชอบใจ ไม่ชอบใจ อยากได้ ไม่อยากได้ เป็นต้น
ก็กิเลสที่มีอยู่ในใจนั้นมาจากไหนเล่า ถ้าหากว่าไม่มีเชื้อ คืออนุสัย ตามนอนอยู่ในสันดาน คือ
ความสืบต่อของจิตแล้ว กิเลสอย่างกลางที่คอยกลุ้มรุมจิตใจให้เร่าร้อน และกิเลสอย่างหยาบที่แสดงออกทาง
กายทางวาจา มีการตีการด่าเป็นต้น จะเกิดขึ้นได้อย่างไร แต่เพราะมีอนุสัยอันเป็นกิเลสอย่างละเอียดเป็น
เชื้ออยู่ กิเลสอย่างกลางและอย่างหยาบจึงเกิดได้
ด้วยเหตุนี้ ความเข้าใจที่ว่า จิตของมนุษย์แรกเกิดบริสุทธิ์จึงไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อเรายังละเชื้อ
คืออนุสัยยังไม่ได้ตราบใด อนุสัยนั้นก็ติดตามเราไปทุกชาติตราบนั้น ทำให้เกิดในภพใหม่อยู่ร่ำไป ทั้งยังทำให้
จิตใจของเราผู้เกิดแล้ว ต้องเศร้าหมองด้วยความรักบ้าง ความโกรธบ้าง ความหลงบ้าง
พระพุทธองค์ตรัสว่า ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐที่สุด สำเร็จแล้วแต่ใจ
(คือจิต) ถ้าบุคคลมีใจอันโทษประทุษร้ายแล้ว กล่าวอยู่ก็ตาม ทำอยู่ก็ตาม ทุกข์ย่อมไปตามบุคคลนั้น
เพราะทุจริต ๓ อย่าง เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าโคตัวลากเกวียนไปฉะนั้น
เพราะฉะนั้นจึงควรติดตามดูจิต เพื่อมิให้ตกไปในอกุศล ด้วยการกำหนดรู้สภาพของจิต
ที่เกิดขึ้นทุกขณะ
เพียงเท่านี้ก็จะเห็นได้ว่า การเกิดเป็นมนุษย์แล้วดำรงชีวิตให้ถูกทาง คือให้อยู่ในบุญกุศลนั้น
แสนยาก เพราะต้องคอยประคับประคองจิตไม่ให้ตกไปในบาปอกุศล หากใจเป็นบาปอกุศลแล้วโอกาสที่
ความชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ คืออกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ อันมิใช่ธรรมของมนุษย์ย่อมเกิดขึ้น
ได้ง่าย การรักษาใจเพียงอย่างเดียวชื่อว่ารักษากายและวาจาด้วย
ในจำนวนคนเป็นล้านๆ มีกี่คนที่รักษาใจไว้มิให้ตกไปในบาปอกุศล แม้คนที่ศึกษาธรรมมาอย่าง
ดี รู้โทษของอกุศลแล้ว ก็ยังยากที่จะทำใจให้เป็นกุศลได้ตลอดเวลา เพราะธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา จิต
หรือใจก็เป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจของใคร เราจึงไม่อาจบังคับจิตของเราให้เป็นกุศลตลอดไปได้ กุศล
และอกุศลเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยและความคุ้นเคย กล่าวคือ ถ้าจิตคุ้นเคยอยู่กับบุญกุศล บุญกุศล
ก็เกิดได้ง่าย แต่ถ้าจิตคุ้นเคยกับอกุศล อกุศลก็เกิดได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ควรพยายามสั่งสมกุศลให้มา
เพื่อให้จิตคุ้นเคยกับกุศล โดยเฉพาะกุศลขั้นภาวนาเพราะกุศลขั้นภาวนาเท่านั้น ที่ช่วยรักษาจิตมิให้ตกไป
ในบาปอกุศลได้ การตามรู้สภาพของจิตตามความเป็นจริงนี้ จะช่วยให้เรารู้ว่าขณะนี้จิตเป็นกุศล หรือจิต
เป็นอกุศล เมื่อรู้ว่าเป็นกุศลก็พยายามรักษาไว้และเจริญให้มากขึ้น แต่ถ้ารู้ว่าจิตเป็นอกุศลก็พยายามละ
และระวังไม่ให้เกิดขึ้นอีก
การฝึกจิตให้คุ้นเคยกับกุศลนั้นทำอย่างไร ไม่ยากเลย ขอเพียงอย่าปล่อยกุศลเล็กๆน้อยๆผ่าน
ไปโดยไม่ใส่ใจ หรือดูหมิ่นว่าเป็นกุศลเล็กน้อย ไม่จำเป็นต้องทำ ซึ่งไม่ถูกต้อง กุศลทุกชนิดไม่ควรละเลย
เช่นเราเห็นมดลอยน้ำอยู่ในน้ำ โอกาสที่เราจะช่วยให้มดรอดตายมีอยู่ จะโดยการใช้มือช้อนขึ้นมา
หรือใช้ไม้เขี่ยให้พ้นน้ำก็ได้ แต่เราไม่ได้ทำ เพราะคิดว่าธุระไม่ใช่ มดไม่ใช่ลูกหรือพ่อแม่ ญาติพี่น้องของเรา
หรือคิดว่าการช่วยมดไม่ทำให้เราได้รับประโยชน์อันใด ถึงจะได้บุญ ก็ได้บุญเล็กน้อย เสียเวลา เอาไว้ทำบุญ
ใหญ่ๆดีกว่า แล้วก็ละเลยเสีย ไม่ได้คิดว่านั่นเป็นโอกาสที่จะได้ทำกุศลแล้ว กลับปล่อยให้กุศลที่จะเกิดผ่านไป
เสียด้วยความประมาท ความจริงแล้วมดก็มีชีวิตจิตใจเช่นเดียวกับมนุษย์ กลัวตายเหมือนมนุษย์ ทั้งหมดนั้น
อาจเป็นพ่อแม่หรือญาติพี่น้องของเราในอดีตก็ได้ ใครจะรู้ว่าในวัฏฏสงสารอันยืดยาวนี้ เราและสัตว์ทั้ง
หลายมีความผูกพันกันอย่างไร จึงไม่ควรดูดาย คนที่ตกน้ำแลัวช่วยตนเองไม่ให้จมน้ำตายไม่ได้ ย่อมกลัว
ตายอย่างไร มดก็กลัวจมน้ำตายอย่างนั้นการช่วยให้มดรอดชีวิตจึงไม่ใช่กุศลเล็กน้อย แต่เพราะประมาทดูหมิ่น
ว่าเป็นกุศลเล็กน้อย กุศลก็เกิดไม่ได้ มิหนำซ้ำอกุศลยังเกิดแทนอีกด้วย
หรือเพียงเราเดินไปตามถนนหนทาง พบเศษกระเบี้องหรือเศษแก้วทิ้งอยู่บนทางเดิน พบแล้ว
ก็มิได้เดินผ่านไปเฉยๆ ได้เก็บเศษแก้วแตกนั้นออกไปให้พ้นทางเดิน ด้วยจิตใจที่ประกอบด้วยเมตตากรุณา
ต้องการให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาได้รับความปลอดภัย ไม่ถูกกระเบื้องแตกตำเท้าให้บาดเจ็บ ซึ่งบางคร้งเมื่อ
ถูกตำแล้วไม่รักษาให้ถูกต้อง ปล่อยให้สกปรก อาจเป็นบาดทะยักถึงตายได้ การทำอย่างนี้ ก็เป็นบุญเป็น
กุศล ซึ่งบางคนอาจคิดว่าเป็นบุญเล็กน้อยจึงละเลย ความจริงหาได้เล็กน้อยไม่ เพราะเป็นประโยชน์แก่คน
เป็นอันมาก
ถ้าเราหมั่นฝึกจิตของเราให้ไม่ละเลยต่อกุศล แม้เล็กน้อยอย่างนี้บ่อยๆ จิตใจของเราจะคุ้นเคย
กับกุศล จนกุศลสามารถเกิดได้บ่อยและง่ายขึ้น อกุศลหาโอกาสแทรกได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงไม่ควรปล่อยให้
กุศลเล็กน้อยผ่านไป อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าบุญมีประมาณน้อย จัก
ไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ฉันใด นักปราชญ์สั่งสมบุญ
แม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ฉันนั้น"
ในทางตรงกันข้าม เราก็ไม่ควรดูหมิ่นบาปเล็กน้อยว่าจะไม่เพิ่มมากขึ้น ในเมื่อเราทำบาปนั้น
บ่อยๆ และเมื่อทำบ่อยๆ จิตใจก็คุ้นกับบาป เป็นเหตุให้บาปเกิดได้ง่ายและบ่อยขึ้น
ลองสังเกตดูเด็กที่ขาดการอบรมสั่งสอน มักชอบรังแกและฆ่าสัตว์เล็กๆโดยเห็นเป็นของสนุก
เมื่อโตขึ้นก็สามารถฆ่าสัตว์ใหญ่ตลอดจนมนุษย์ได้อย่างสบาย โดยไม่มีความละอายและเกรงกลัวบาป
เห็นการกระทำความชั่ว การกระทำบาปเป็นเรื่องธรรมดา ทั้งนี้ก็เพราะ จิตใจของเขาคุ้นเคยกับบาปมา
ตั้งแต่เยาว์
บางคนชอบลักเล็กขโมยน้อย หยิบฉวยทรัพย์สินของผู้อื่น ทั้งที่เป็นของสาธารณะ และของส่วน
บุคคลจนเคยชิน สายไฟ หลอดไฟตามถนนหนทางถูกขโมย ต้นไม้ที่มีผลยื่นออกมานอกรั้ว หรือแม้จะอยู่
ภายในรั้ว มีเจ้าของหวงแหนและระแวดระวัง ก็ถูกคนจำพวกนี้หยิบฉวย เก็บเอาไปทั้งต่อหน้าและลับหลัง
โดยขาดความละอายใจ ว่าตนได้ละเมิดกรรมสิทธิ์ของผู้อื่น
คนเหล่านี้หวงแหนชีวิตและทรัพย์สินของตน ใครมาทำลายชีวิตและทรัพย์ของตนก็โกรธคิดอาฆาต
พยาบาท แต่ร่าเริงบันเทิงใจ เมื่อได้ชีวิตและทรัพย์สินของผู้อื่นโดยมิชอบธรรม ลืมเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ว่าเรารักชีวิตและทรัพย์สินของเราอย่างไร ผู้อื่นก็รักชีวิตและทรัพย์สินของเขาอย่างนั้น
พระพุทธองค์ตรัสว่า "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่ามีประมาณน้อยจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำย่อม
เต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆฉันใด คนพาลสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบาปฉันนั้น"
เพราะฉะนั้นจงสั่งสมบุญ ละเว้นบาป
ด้วยเหตุที่การเกิดเป็นมนุษย์นี้แสนยาก เพราะต้องอาศัยบุญนำเกิด เมื่อได้ความเป็นมนุษย์มา
แล้ว ก็ควรใช้ชีวิตให้ถูกต้อง ให้สมกับที่ได้มาโดยยาก และให้สมกับที่ได้รับสมญาว่า "ผู้มีใจสูง" ผู้มีใจสูง
ย่อมตั้งตนไว้ในบุญกุศล คือ ทาน ศีล ภาวนา ไม่ปล่อยตนให้ตกไปในบาปอกุศล เพราะถ้าประมาทพลาด
พลั้งไปกับบาปอกุศลแล้ว โอกาสที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกนั้นยากนัก
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี ตอนหนึ่งว่า
"สัตว์ที่จุติคือตายจากมนุษย์กลับมาเกิดในมนุษย์มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรกเกิด
ในกำเนิดเดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้"
ถ้าไม่อยากไปเกิดในนรก ในกำเนิดเดียรัจฉาน ในปิตติวิสัย ก็จงตั้งตนไว้ในธรรมของมนุษย์
คือกุศลกรรมบถ ๑๐ อันได้แก่การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ การงดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่
ให้ ๑ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ งดเว้น
จากการพูดคำหยาบ ๑ งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ของผู้อื่น ๑ ไม่พยาบาทปองร้ายผู้
อื่น ๑ มีความเห็นถูก คือเห็นว่าการทำบุญมีผล เป็นต้น ๑ หรือจะเจริญกุศลให้สูงยิ่งขึ้นจนได้ฌาน วิปัสสนา
และมรรค ผล นิพพาน ก็ยิ่งประเสริฐ
แม้ว่าการเกิดเป็นมนุษย์จะได้มาโดยยาก และมนุษย์จะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ถึงกระนั้น
การเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นทุกข์ ไม่ใข่จะเป็นสุขไปทุกอย่าง ทุกข์เพราะต้องแสวงหาสิ่งต่างๆมาปรนเปรอชีวิต
ทุกข์เพราะเจ็บป่วย ทุกข์เพราะต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก เป็นต้น แม้มนุษย์ที่มีความเป็นอยู่อุดมสม
บูรณ์ที่สุดอย่างพระเจ้าจักรพรรดิ ก็หนีทุกข์เป็นต้นเหล่านี้ไม่พ้น เกิดมาแล้วก็เป็นทุกข์บ้าง สุขบ้าง คละ
เคล้ากันไป
ในวัฏฏสงสารอันยาวนานนี้ เราจำกันได้หรือไม่ว่า เราได้เกิดมากี่ครั้ง เชื่อแน่ว่าไม่มี
ใครจำได้
*พระพุทธเจ้าตรัสว่าสงสารนี้กำหนดที่สุดและเบื้องต้นไม่ได้ เมื่อหมู่สัตว์ผู้มีอวิชชากางกั้น
มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดและเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฎ
*อนมตัคคสังยุตต์ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค
พระพุทธองค์ทรงแสดงให้เราทราบว่า ทุกคนที่เกิดมานี้ล้วนแต่มีบรรพบุรุษสืบสายกันมานับไม่
ถ้วน ทั้งทางฝ่ายมารดาและบิดา โดยทรงเปรียบเทียบกับผืนแผ่นดินใหญ่นี้ว่าถ้าเราจะเอาดินมาปั้นเป็นก้อน
เล็กๆเท่าเมล็ดกระเบา แล้วสมมุติให้ก้อนนี้เป็นมารดาของเรา ก้อนนี้เป็นมารดาของมารดาเราเป็นลำดับไป
มารดาของมารดาเราจะไม่ถึงความสิ้นสุด แต่ดินบนผืนแผ่นดินใหญ่นี้จะพึงหมดไปเสียก่อน แม้ในฝ่ายบรรพ
บุรุษของบิดาก็เช่นเดียวกัน
เราได้เสวยความทุกข์เดือดร้อน ร้องไห้ คร่ำครวญกันมานานไม่น้อยเลย พระพุทธองค์
ตรัสว่า น้ำตาของเราผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารอันยาวนานนี้ ยังมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ รวมกัน
เสียอีก ร่างกายของเรานั้นเล่าก็นอนทับถมพื้นดินกันมานานมิใช่น้อย จนนับประมาณมิได้
ตลอดเวลาที่เราท่องเที่ยวอยู่ในสงสารนี้ บางคราวก็จากโลกนี้ไปสู่โลกอื่น บางคราวก็จากโลก
อื่นมาสู่โลกนี้ เวียนวนไปมาอยู่อย่างนี้ โดยไม่อาจกำหนดที่สุดของการเกิดของเราได้เลย ตราบเท่าที่ยัง
ไม่เห็นอริยสัจ ๔
ทุกข์นั้นมีมากมาย แต่ไม่มีทุกข์อะไรที่น่ากลัวยิ่งกว่า ทุกข์ในวัฏฏะ อันมีการเวียนเกิดเวียนตาย
ที่หาจุดจบมิได้ เกิดทีไรก็เป็นทุกข์ทีนั้น
การเกิดบ่อยๆ จึงเป็นทุกข์ การไม่ต้องเกิดเป็นอะไรเลยเป็นความสุข
ทุกข์เหล่านี้มีตัณหาความอยาก ความต้องการเป็นมูล พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน
สองท่องเที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วงสงสารไปได้ เพราะฉะนั้นการดับตัณหาอันเป็นมูลเหตุของ
ทุกข์ทั้งมวลเสียได้ จึงเป็นความสุขอย่างยิ่ง
ตัณหาจะดับได้ก็เพราะได้ดำเนินตามทางสายกลางที่เรียกว่า อริยมรรคมีองค์ ๘ อันประกอบ
ด้วย สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๑
สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีพชอบ ๑ สัมมาวายามะ การเพียร ๑
สัมมาสติ การระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ การตั้งใจมั่นชอบ ๑ จนบรรลุพระอรหัตต์เป็นพระอรหันต์เท่านั้น
ความเป็นมนุษย์ของเราจะสมบูรณ์ที่สุดก็เพราะได้เข้าถึง อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อันเกษม
จากโยคะ หมดสิ้นทั้งกิเลสและขันธ์ทั้งปวง ไม่ต้องเกิดมาพบกับความทุกข์อีก


ที่มา ลานธรรมจักร • แสดงกระทู้ - เป็นมนุษย์นี้แสนยาก
__________________

พระพุทธศาสนา : คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์

คุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์

พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์
ธรรมรักษา


พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี ได้ตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ถึงคุณธรรมที่ทำให้คนเป็นพระอินทร์ หรือท้าวสักกะจอมเทพ เรียกว่า วัตรบท มี ๗ ข้อ คือ

.เลี้ยงมารดาบิดาตลอดชีวิต


.อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอดชีวิต

.พูดจาอ่อนหวานตลอดชีวิต

.ไม่พูดจาส่อเสียดตลอดชีวิต


.ยินดีในการบริจาคทานตลอดชีวิต


.พูดคำสัตย์ตลอดชีวิต


.ไม่โกรธตลอดชีวิต

ถ้าเกิดความโกรธก็ระงับโดยเร็ว

ภิกษุทั้งหลาย! ท้าวสักกะจอมเทพ เมื่อยังเป็นมนุษย์อยู่ในกาลก่อน ได้รักษาวัตรบท ๗ ประการนี้บริบูรณ์ จึงได้เป็นท้าวสักกะ.




ปฐมเทวสูตร ๑๕/๓๑๘














คติและคำสอนของพระพุทธศาสนา ไม่ผูกขาดชนชั้น หรือตำแหน่งต่าง ๆ แม้แต่ความเป็นพระพุทธเจ้า ที่จัดว่าเป็นยอดสุดของความเป็นสัตว์โลก
ทั้ง นี้เพราะพระพุทธศาสนา ถือหลักเหตุผลและความเป็นจริง อีกทั้งมีใจกว้างยิ่งนัก โดยเฉพาะพระศาสดาของเรา ทรงให้อิสระในความคิด ความเชื่อ และการกระทำเต็มที่

แม้ แต่ตำแหน่งเทพชั้นต่าง ๆ ทุกชั้น ถ้าใครต้องการก็สามารถไปอยู่ได้ ขอแต่ว่าให้สร้างเหตุให้ถึงฐานะนั้น ๆ เถิด เช่น พระพรหม พระอินทร์ และเทพชั้นรอง ๆ ลงมาทุกชั้น

คิด ดูเถิดในโลกนี้ จะมีพระศาสดาองค์ใดบ้าง ที่กล้าพูดความจริง และมีจิตใจที่กว้างใหญ่ไพศาลเช่นนี้ ควรที่ชาวพุทธเราจะภูมิใจ และพร้อมใจกัน ปฏิบัติตามคำสอนอย่างจริงจังและจริงใจ และผลแห่งการปฏิบัตินั้น นอกจากจะเป็นการบูชาพระพุทธองค์ด้วยการบูชาอย่างสูงสุดแล้ว เรายังได้อานิสงส์จากการปฏิบัตินั้น ตามฐานะที่ควรได้อีกด้วย

ใน พระสูตรนี้ ทรงระบุถึงการปฏิบัติตน ที่จะให้ไปเกิดเป็นพระอินทร์ ด้วยวัตรบท ๗ ประการ ใครอยากไปเกิดเป็นพระอินทร์ มีนางฟ้า ๕๐๐ เป็นบริวาร ก็จงปฏิบัติตามวัตรบท ให้ครบทั้ง ๗ ข้อเถิดได้เป็นแน่ ๆ

ถึง แม้ว่า เราจะปฏิบัติได้ไม่ครบ ๗ ข้อ แต่ละข้อที่เราทำได้ ก็ย่อมจะเสริมให้เรามีคุณธรรมสูงขึ้นไปตามลำดับ ทั้งจะเห็นผลได้ในชาตินี้เสียอีกด้วย.

นำมาจาก

พระไตรปิฏกฉบับ ดับทุกข์
ธรรมรักษา

พระพุทธศาสนา : ๓ ตำนาน พระบรมธาตุในประเทศไทย

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

ชาวอินเดียนำอารยธรรมมาเผยแพร่และตั้งหลักแหล่งครั้งแรกที่เมืองช้างค่อม หรือศิริธัมมาราช ซึ่งตรงกับพุทธศตวรรษที่ ๓ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ไม่นานนักเกิดสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุระหว่างท้าวโกสีหราชผู้ครองเมืองทน บุรีกับท้าวอังกุศราช ผู้ครองเมืองชนทุบรี ท้าวโกสีหราช เล็งเห็นว่าภัยจะเกิดเพราะมีกำพลังน้อยกว่า จึงรับสั่งให้พระนางเหมชาราพระธิดากับพระโอรสทันทกุมารนำพระบรมธาตุหนีภัย สงครามลง เรือสำเภาไปยังเมืองลังกา ขณะเดินทางผ่านเมืองช้างค่อม ศิริธัมมาราช (นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) ได้เกิดอาถรรพ์คลื่นลมปั่นป่วนด้วยอำนาจ ของ ครุฑ และ นาค ที่มานมัสการพระบรมธาตุ จนเป็นเหตุให้สำเภาแตกอับปางกลางทะเล เจ้าสองพี่น้องจึงนำพระบรมธาตุเสด็จขึ้นฝั่งและอธิฐานฝังลง ณ กลางหาดทรายแก้ว ประมาณ ปี พ.ศ.๖ – ๘ เริ่มสร้างเจดีย์ทรงศรีวิชัย อาถรรพ์ลึกลับในทุกรอบ ๗๐๐ ปี กาลเวลาเลยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๗๒ พระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าตะวันอธิราชเจ้าผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ( จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรีในปัจจุบัน) คือเจ้าเดือนเด่นฟ้าและเจ้าดาวเด่นฟ้า โดยจารึกกระเบื้องจารจาก คำพยากรณ์ของพระโสณะมหาเถระ ( หัวหน้าพระอรหันต์ที่มาเผยแพศาสนาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ ) กล่าวไว้ว่าสุวรรณภูมิจึงกาลอวสานในภายภาคหน้าและจะได้เมือง หลวงใหม่ชื่อว่า ศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมาเมืองนั้นก็คือ เมืองช้างค่อมศิริธัมมาราชและก็กลายมาเป็นเมือง นครศรธรรมราช ในปัจจุบันนั้นเอง จากคำพยากรณ์ทำให้เจ้าเดือนเด่นฟ้า และเจ้าดาวเด่นฟ้าพระโอรส 2 ฟี่น้อง ของ พระเจ้าตะวันอธิราช เดินทาง มายังเมืองช้างค่อมและได้สร้างบ้านเมือง และก่อตั้งกองทัพเรือและโรงเรียนนานเรือโดยมีชาวชวาและชนพื้นเมืองเดิมเป็น กำลังช่วยเหลือ จนได้มาค้นพบเนินดินอันเป็น ที่ฝังพระบรมธาตุ จึงสร้างพระเจดีย์ทรงศรีวิชัยคร่อมเนินดินไว้ให้เป็นที่สักการบูชา เป็นต้นมา..
จาก ตำนาน..พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ::: [กระทู้หมายเลข 1437] กระดาน ลี้ลับ คุยเรื่องผี น่ากลัว สยองขว=

พระปฐมเจดีย์


การ ก่อสร้างพระประโทณเจดีย์ยังไม่มีเอกสารหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่าสืบต่อกันมาคือ ตำนานพระประโทนเจดีย์ ฉบับนายอ่อง ไวกำลัง และตำนานพระปฐมเจดีย์และพระประโทณเจดีย์ ฉบับพระยามหาอรรคนิกรและฉบับนายทอง กล่าวความไว้คล้ายกัน คือ บริเวณที่ตั้งพระประโทนเจดีย์นั้น แต่เดิมเป็นตำบลบ้านพราหมณ์ เรียกว่า “บ้านโทณพราหมณ์” ซึ่งได้นำ ”ทะนานทอง” ที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในเรือนหิน เมื่อ พ.ศ.1133 ท้าวศรีสิทธิชัยพรหมเทพ มาสร้างเมืองนครไชยศรีขึ้นเป็นเมืองใหญ่ ได้ขอทะนานทองจากพราหมณ์เพื่อจะนำไปแลกเปลี่ยนกับพระบรมสารีริกธาตุจากเจ้า เมืองลังกา แต่ได้รับการปฏิเสธ ทำให้รู้สึกขัดเคืองพระทัยจึงยกรี้พลออกไปตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า “ปาวัน” และให้สร้างพระปฐมไสยาสน์องค์หนึ่งใหญ่ยาวมหึมา หลังจากนั้น จึงยกรี้พลมาแย่งทะนานทองไปให้เจ้าเมืองลังกาเพื่อบรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์ ต่อมาเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ 1199 พรรษา พระเจ้ากากะวรรณดิศราชแห่งเมืองละโว้ ได้มาก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลาที่เคยบรรจุทะนานทองไว้แล้วให้นามว่า”พระประ โทณเจดีย์”

นอกจากนี้แล้วยังมีนิทานพื้น บ้านเรื่องพระยากงและพระยาพาน เล่าสืบต่อกันมาจนติดปากชาวบ้านว่า พระยาพาน เป็นผู้สร้างพระปฐมเจดีย์ เพื่อไถ่บาปที่ฆ่าพระยากงผู้เป็นบิดา และสร้างพระประโทณเจย์ เพื่อไถ่บาปที่ฆ่ายายหอมผู้มีพระคุณ ที่มาของเรื่อง พระยากง และ พระยาพานนี้ ปรากฏอยู่ใน ตำนานพระปฐมเจดีย์ฉบับพระยาราชสัมภารากร และฉบับตาปะขาวรอด และในพงศาวดารเหนือ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด เรื่องมีอยู่ว่า

ท้าว สิกราชครองเมืองศรีวิไชย คือ เมืองนครไชยศรี มีบุตรชื่อพระยากง ต่อมาพระยากงได้ครองเมืองศรีวิไชยต่อจากบิดา และพระมเหสีได้ประสูติพระกุมาร โหรทำนายว่า พระกุมารเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก แต่จะกระทำปิตุฆาต พระยากงจึงมีรับสั่งให้นำพระกุมารไปทิ้งเสีย ทหารได้นำพระกุมารไปทิ้งไว้ที่ชายป่าไผ่ริมบ้านยายพรหม เมื่อยายพรหมมาพบจึงเก็บไปลี้ยงไว้ โดยไม่รู้ว่าเป็นบุตรของผู้ใด แต่ยายพรหมเป้นคนมีลูกหลานมาก จึงยกพระกุมารให้กับยายหอมไปเลี้ยงไว้แทน ต่อมาเจ้าเมืองราชบุรีได้รับพระกุมารไว้เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อพระกุมารเติบใหญ่ ได้ทราบว่าเมืองราชบุรีเป็นเมืองขึ้นของเมืองศรีวิไชย ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการทุกปี จึงคิดแข้งเมือง ไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการ พระยากงยึงได้ยกทัพมาปราบ และกระทำการยุทธหัตถีกับพระกุมาร พระยากงเสียทีถูกพระกุมารฟันด้วยของ้าวคอขาด สิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พระกุมารจึงยกรี้พลเข้าเมืองศรีวิไชย และประสงค์จะได้พระมเหสีของพระยากงเป็นภรรยา แต่เทพยดาได้แสดงนิมิต จนในที่สุดก็ทราบว่าเป็นแม่ลูกกัน จึงโกรธยายหอมที่ไม่ยอมเล่าความจริงให้ตนทราบ ทำให้ต้องทำปิตุฆาต จึงไปที่บ้านยายหอมและจับยายหอมฆ่าเสีย คนทั่วไปจึงเรียกพระกุมารว่า “พระยาพาล” ด้วยเหตุที่ฆ่าพ่อและยายหอมผู้มีพระคุณ เมื่อพระยาพานได้ครองเมืองนครไชยศรี รู้สึกสำนึกในบาปที่ตนได้กระทำไป จึงคิดไถ่บาปโดยจัดประชุมพระอรหันต์ เพื่อหารือและได้รับคำแนะนำว่าให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่สูงชั่วนกเขาเหิร จึงสั่งการให้ก่อรากพระเจดีย์สวมแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม นำฆ้องใหญ่ซึ่งตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนถึงค่ำ มาหนุนไว้ใต้พระแท่นบรรทม เจดีย์ที่สร้างเป็นทรงล้อมฟาง สูงชั่วนกเขาเหิร ไม่มีลานประทักษิณ ภายในบรรจุพระทันตธาตุ คือพระเขี้ยวแก้วองค์หนึ่งแล้วให้มีการฉลองเจ็ดวันเจ็ดคืน ต่อมาพระเจ้าหงษาผู้เป็นใหญ่ในเมืองมอญ ต้องการได้ฆ้องใหญ่ จึงยกรี้พลมาขุดเอาฆ้อง แต่เมื่อขุดฆ้องก็ยิ่งจมลงไปทำให้เจดีย์ทรุดพัง จึงบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ก่อเป็นองค์ปรางค์ ตั้งบนหลังองค์ระฆังของเจดีย์เดิมที่พังลง มีลานประทักษิณรายรอบ ก็ยังไม่สูงเท่าเก่า จึงสร้างพระเจดีย์รอบวิหารกังทั้งอุโบสถเพิ่มเติมลงอีก ความสำคัญในตำนานมีเพียงเท่านี้..
จาก [url=http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=justic&month=06-06-2008&group=3&gblog=2]Bloggang.com : justic :

อีกตำนาน
มาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติ ในแคว้นมคธของอินเดียเมื่อ พ.ศ. 274 ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี
พระเดชานุภาพใหญ่หลวงพระองค์สลดพระทัยในการรบพุ่ง มุ่งหมายจะแผ่พระเดชานุภาพทางธรรมเพราะทรงเห็นว่า
พระพุทธศาสนามีคติธรรมล้ำเลิศกว่าศาสนาอื่น ๆ จึงทรงอุปถัมภ์และเผยแพร่ในนานาประเทศ โดยส่งพระสงฆ์เป็น
สมณฑูตออกไป มีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือมหาวงศ์คือ พงศาวดารของเกาะลังกา โดยพรรณาไว้ว่า
"สุวรรณภูมิ เถเรเทวโสณ อุตตรเมวจ" แปลความว่า ให้พระโสณเถระกับพระอุตรไปยังสุวรรณภูมินักปราชญ์
ทั้งหลายเห็นพ้องกับอาจารย์ริสเดวิดส์ที่ว่า เริ่มต้นแต่รามัญประเทศ (คือเมืองมอญ) ไปจดเมืองญวน
และตั้งแต่พม่าไปจนถึงปลายแหลมมาลายูเมืองนครปฐม น่าจะเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิ และคงเรียกว่า
สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วยหลักฐานที่ปรากฏชัดว่าเมืองนครปฐมเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนา
มาเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่นี่คือ องค์พุทธเจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชยัง
ครองราชสมบัติอยู่แน่นอน เพราะลักษณะองค์เจดีย์นั้น เดิมเป็นสถูปกลมรูปทรงคล้ายบาตรคว่ำ (โอคว่ำ)
แบบสัญจิเจดีย์ ในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกในประเทศไทย ก็คือ
วัดพระปฐมเจดีย์นี่เองผู้ปกครองวัดหรือสมภารเจ้าวัดก็คือพระอรหันต์ ผู้นำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ในยุคนั้น
ผู้สร้างพระเจดีย์องค์เดิม จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีกำลังความสามารถมากและคงสร้างไว้ใน
เมืองหลวงด้วย พระสถูปองค์เดิมสูง 19 วา 2 ศอก (35 เมตร) หลักฐานอื่น ๆ ที่พบมากได้แก่ พระสถูปต่าง ๆ ศิลาธรรมจักร
จารึกพระธรรมเป็นภาษามคช คือ คาถาเยธมมา พระแท่นพุทธอาสน และรอยพระพุทธบาท
ทำเป็นที่สักการะแทนพระพุทธรูปในสมัยนั้น ยังไม่มีพระพุทธรูป ลักษณะขององค์พระเจดีย์ตอนบน
เป็นพุทธอาสนสี่เหลี่ยมตั้งไว้มีฉัตรปักเป็นยอด ฐานพระสถูปเป็นรูปสี่เหลี่ยมรอบฐานทำเป็นที่เดินประทักษิณ
มีรั้วล้อมรอบภายนอก ก่อด้วยอิฐชนิดเดียวกันเมื่อมีพระปฐมเจดีย์ก็น่าจะมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามมา
มีการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์เป็นครั้งคราวโดยเฉพาะในฤดูเข้าพรรษา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยามข้อ 3 ว่า…ที่ลานพระปฐมเจดีย์
ข้าพเจ้าได้ลองให้ขุดคูแห่งหนึ่งที่ริมถนนขวาพระก็พบซากห้องกุฏิพระสงฆ์แต่โบราณ....."
ก็แสดงว่าวัดแรกของประเทศไทยก็คือวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง และกุฏิสมัยนั้นอยู่ทางด้านขวาพระเมืองนครปฐม
ได้เจริญและเสื่อมลง วัดพระปฐมเจดีย์ก็เช่นเดียวกัน ได้ชำรุดทรุดโทรมรกร้างไปตามสภาพบ้านเมือง
จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี กุฏิของพระสงฆ์ได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์
คือทางด้านหน้าวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศาลาการเปรียญอยู่บริเวณด้านพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ ปลูกอยู่ทางด้าน
ตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ณ ที่เดิมคือ ด้านตะวันออก ตรงกับพระอุโบสถในปัจจุบัน
เพียงแต่ว่าตั้งอยู่กับพื้นดินการสร้างพระเจดีย์จะต้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
แน่นอนเพราะสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงมอบพระบรมสารีริกธาตุให้สมณฑูตทุกสาย สมณฑูต
เหล่านั้นเมื่อประกาศพระพุทธศาสนา ณ ที่ใดเป็นหลักฐานมั่งคงแล้ว ก็จะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงกระทำในชมพูทวีป

พระธาตุพนม


พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว
เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157 ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233 ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349 ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ
ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้
"กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ"
แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ ครั้ง

อิติปิ โสภะคะวา, นะมามิหัง ตัง ภะคะวันตัง, fficeffice" />>>




ปะระมะสารีริกธาตุยา สัทธิง, >>


อะระหังสัมมาสัมพุทโธวิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต, >>


โลกะวิทู,อะนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิ, >>


สัตถา เทวะ มะนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ.

วิถีการดำเนินชีวิตของฆราวาสที่เป็นพระอริยเจ้า





ถาม : พระโสดาบันเล่นหุ้นเล่นหวย ?

ตอบ: อ๋อ...ถ้าหากว่าได้มาโดยไม่ผิดศีลผิดธรรม ท่านยังทำเป็นปกติจ้ะ ไม่เกี่ยวเรื่องรับเงิน

ถาม : แล้วพระสกิทาคา ?

ตอบ: อันนั้นเริ่มจืดสนิทแล้วจ้ะ สกิทาคามีต้องดูตัวอย่างที่ชัดที่สุด ก็คือ พระมหากัสสป กับนางภัททกาปิลานี พระมหากัสสปนี่แม่มอบสมบัติให้ หวังจะให้ลูกจรรโลงให้รุ่งเรืองไป แต่ว่าท่านไม่ได้คิดใยดีในสมบัติอยากจะบวชอย่างเดียว นางภัททกาปิลานีก็เหมือนกัน แต่ว่าต่างคนต่างไม่ได้บอกกัน พอถึงเวลาเขาจับแต่งงานกัน แต่งก็แต่ง เคารพผู้ใหญ่นี่ไม่กล้าเถียง ไม่กล้าบอกใช่ไหม ? ถึงเวลากลางคืน นอนห้องเดียวกัน ก็เอาพวงมาลัยคั่นกลางไว้ ต่างคนต่างหันหลังให้กัน ลักษณะอย่างนั้น ถ้าไม่ถึงสกิทาคามี ทำไม่ได้หรอก ยังไงกามราคะมันต้องกำเริบแน่ จะหนักจะเบามันต้องมี ถ้าทำได้ขนาดนั้นมันต้องใช่ แล้วเสร็จแล้วรอจนพ่อแม่ตาย อึดขนาดไหน ? รอจนพ่อแม่ตาย พระมหากัสสปในตอนที่เป็นปิปผลิมาณพ ก็บอก นางภัททกาปิลานีว่า ภคินี ดูก่อนน้องหญิง สมบัติทั้งหลายของเรา เธอจงเอาไป ส่วนเราจะออกบวชนะ นางภัททกาปิลานีก็บอกว่า สมบัติทั้งหลายของท่านเหมือนน้ำลายที่ถ่มทิ้งแล้ว เรื่องอะไรเราจะรับเอาไว้ เราก็จะบวชเหมือนกัน

ในเมื่อใจเดียวกันก็เลยประกาศบอกว่า มหาชนใดก็ตามที่ต้องการสมบัติเห็นปานนี้ก็จงมา ทั้งหมดก็มาก็แบ่งสันปันส่วนกันไป ๒ คนก็ประเภทเหลือแต่ตัว นุ่งห่มผ้ากาสาวพัตร ตั้งใจว่าพระอรหันต์อยู่ที่ไหนในโลก ก็ตั้งใจจะบวชเพื่ออุทิศพระอรหันต์องค์นั้น แล้วก็ออกเดินทาง ปรากฏว่าไปถึงทางแยก คนหนึ่งก็ไปซ้าย คนหนึ่งก็ไปขวา หมดเรื่องไป พระมหากัสสปเดินไปถึง พหุปัตตนิโครธ พบพระพุทธเจ้านั่ง รอยอยู่ท่านตรวจดูอุปนิสัยสัตว์โลกตั้งแต่เช้าแล้วว่า ต้องไปโปรด รับฟังธรรม รับโอวาท ๓ ข้อ เสร็จเรียบร้อย ปฏิบัติกลายเป็นพระอรหันต์ นางภัททกาปิลานีเลี้ยวไปอีกทางหนึ่ง เจอสำนักภิกษุณีไปปฏิบัติกลายเป็นพระอรหันต์

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด เพราะว่าพระสกิทาคามีนี่ ราคะ โทสะ โมหะ เบาบางลงมาก พูดง่ายๆ ก็คือว่าร้อยวันพันปีอาจจะนึกสักแวบหนึ่งว่า เออ...คนโน้นก็สวยดี คนนั้นก็หล่อดี แล้วมันก็แค่นั้น เพราะว่าสติสมบูรณ์มากแล้ว พอนึกได้อารมณ์ใจก็เริ่มตัด มันก็หายไป อยู่ต่อไม่ได้ ดังนั้น ถ้าหากว่าไปแล้ว ว่าพระสกิทาคามียังเล่นหวยเล่นหุ้นไหม ? ถ้าถึงระดับนั้นไม่เอาจ้ะ ทุกอย่างมันเซ็งไปหมดแล้ว ไม่เป็นรสเป็นชาติ

คราวนี้ในเรื่องของอารมณ์กามราคะ ถ้าพระโสดาบันยังเป็นปกติ แต่ว่าจะไม่ฝืนในกาเมสุมิจฉาจาร คือหมายความว่า ถ้าหากว่าประเภทไปล่วงเกินบุคคลที่มีเจ้าของจะไม่ทำ ถ้าเจ้าของเขาไม่ได้อนุญาตนี่จะไม่มี พระสกิทาคามีนี่มันน่าจะเหลือแต่กามราคานุสัย ก็คือว่า สิ่งที่มันนอนเนื่องในสันดาน นานๆ มันก็โผล่ขึ้นมาทีหนึ่ง แต่ว่ากำลังใจถ้าละเอียดก็เลยตัดได้ ในเรื่องของพระอนาคามี ต้องใช้คำพูดว่า อยากจะบอกว่าส่วนต่างๆ ของร่างกาย ที่จะสร้างฮอร์โมนต่างๆ เกี่ยวกับทางกาม มันคงจะเลิกทำงานไปเลย

เจอสาวๆ คนหนึ่งสมัยก่อนบวช อายุน่าจะประมาณ ๒๕-๒๖ ปี แต่งตัวสวยพริ้งอยู่ทุกวัน ใช้เปลือกเพื่อปิดตัวเอง กลัวคนจะรู้ว่าเป็นนักปฏิบัติ แต่จริงๆ แล้วเป็นพระอริยเจ้า อยากจะเชื่อว่าเป็นพระอนาคามี ถามท่านว่า เมื่อทำถึงแล้วจะเป็นอย่างไร ? ท่านบอกว่า ร่างกายส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกามราคะ มันเหมือนหยุดทำงานหมด กระทั่งประจำเดือนก็หายไปเฉยๆ (หัวเราะ) ไม่น่าเป็นไปได้

ถาม : อายุ ๒๕ นี่นะคะ ไม่มี

ตอบ: จ้า... ๒๕ จ้ะ ไม่ใช่ ๕๕ (หัวเราะ) คือพอทำถึงปุ๊บ เหมือนกับว่าส่วนต่างๆ ที่จะเกี่ยวในเรื่องของกามมันหยุดหมดเลย เลิกทำงานไปเลย จะเป็นวิธีพิลึกพิลั่นอะไรก็แล้วแต่เถอะ เป็นอันว่ามันหยุดก็แล้วกัน ดังนั้นว่าน่าจะหมดตั้งแต่ตอนนี้ละ ในเรื่องของกามราคะของพระอรหันต์ก็คงไม่ต้องกล่าวถึง เดี๋ยวจะเล่าเรื่องต่อให้ฟังเกี่ยวกับเรื่องสาวคนนี้ เอาอีกหน่อยหนึ่ง คราวนี้สาวคนนี้เธอมีสามีเป็นปกติ ในเมื่อมีสามีเป็นปกติ พอมาถึงจุดนี้ ก็บอกกับสามีว่า ตอนนี้เรื่องเกี่ยวกับกามารมณ์นี่ไม่ต้องมายุ่งเกี่ยวกันแล้วนะ จะมีเมียน้อยกี่คนก็อนุญาตให้ จะไปเที่ยวอาบ อบ นวด ยังไงก็เชิญ หัวหกก้นขวิดขนาดไหนก็ไม่ว่า คนเรามันแปลก อะไรที่เขาหวงมันชอบ อนุญาตขนาดนั้นแล้ว ไปซ่าส์นอกบ้านได้ไม่นาน ก็คิดถึงเมียกูในบ้าน ถึงเวลาก็กลับบ้าน วันนี้ยังไงกูปล้ำเมียตัวเองแน่ ! พอมาถึงจับตัวปั๊บ ปรากฏว่า มันอัศจรรย์คงเป็นเรื่องบุญ เพราะว่าตัวเมียร้อนฉ่า จนผัวตกใจ คิดว่าไม่สบายหนักขนาดนี้แล้วทำไมไม่กินยา ไม่รักษาอะไร รายโน้นก็เออๆ คะๆ ไปตามเรื่อง ก็รอดไป ปรากฎว่า วันต่อมา ผัวเมากลับมา เอ๊า! ป่วยก็ป่วยละวะ กูไม่เว้นแล้ว จะปล้ำเมียตัวเอง ปรากฏว่า วันนั้น เมียก็ไม่รู้ว่า ? น่าจะเป็นเทวดาช่วย เอาเรี่ยวเอาแรงมาจากไหนไม่รู้ ตบผัวเปรี้ยงเดียว กระเด็นติดข้างฝาเลย แล้วเสียงที่ดังออกมา ผัวเขาบอกว่า “ต่อไปนี้ ถ้าหากยุ่งกับผู้หญิงคนนี้อีก จะเอาให้ถึงตาย” น่าจะเป็นเรื่องของเทวดาที่เขารักษา กลัวว่าการล่วงเกินพระอริยเจ้าระดับนั้น มันจะเป็นโทษสาหัส ไม่น่าเชื่อ ผู้หญิงตัวเล็กๆ ตบผัวทีเดียวปลิวติดข้างฝาเลย (หัวเราะ)

นั่นแหละ ตัวอย่างเห็นชัดๆ แต่ถ้าเราเห็นเปลือกนอกเขาจะไม่รู้เลย ที่ไม่รู้เพราะว่า เขายังแต่งหน้าสวยพริ้งตามปกติ ลักษณะนั้นแหละคือ ลักษณะที่ว่าปิดตัวเองไว้ เพื่อไม่ให้คนอื่นรู้ว่าตัวเองทำอะไร แต่อันนี้ไม่ยืนยันนะ เพราะว่าอาตมาไม่ใช่ผู้หญิง ก็เลยไม่กล้ายืนยันว่า ถ้าเป็นพระอริยเจ้าขึ้นไปถึงระดับนั้นแล้วร่างกายจะหยุดทำงานเหมือนสาวคน นั้นมั้ย ? (หัวเราะ)

ถาม : ต้องหาซัก ๒-๓ ตัวอย่าง ใช่เปล่าคะ ?

ตอบ: มันจะต้องเป็นเอง มันถึงจะยืนยันได้ (หัวเราะ)

ถาม : แล้วความผูกพันล่ะครับ ?

ตอบ: ความผูกพัน ความห่วงใย เป็นปกติ สำหรับพระอริยเจ้า อยากจะบอกในลักษณะเหมือนกับปรามาสพระรัตนตรัย แต่โปรดฟังให้จบ พระ พุทธเจ้าก็ห่วงใยครอบครัวท่านเป็นปกติ ถ้าไม่ห่วง ท่านก็ไม่เสด็จไปโปรดพุทธมารดา ไม่ห่วง ท่านก็ไม่เสด็จไปโปรดพุทธบิดา พร้อมพระประยูรญาติ ไม่ห่วงท่านก็ไม่เสด็จไปโปรดพระนางพิมพาพร้อมกับพระราหุล ท่านก็ห่วงเป็นปกติ พระสารีบุตรเองเป็นโรค ต้องใช้คำว่า “กระเพาะทะลุ” พูดอย่างอื่นแล้วฟังยาก ถ่ายเป็นเลือดอยู่ตลอด รู้ตัวว่าจะนิพพานคือ ตายแน่ๆ แล้ว ก็ยังคิดว่า แม่เราเป็นมิจฉาทิฐิอยู่ มีลูกตั้ง ๗ คน เป็นอรหันต์หมดเลยบ้านนี้ แต่แม่เป็นมิจฉาทิฐิอยู่ ต้องกลับไปสงเคราะห์แม่ตัวเอง ถ้าไม่ห่วงแล้วจะไปทำไม แต่ว่าท่านทั้งหลายเหล่านี้ท่านทำตามหน้าที่ของตัว ถ้าทำดีที่สุดแล้ว สงเคราะห์ไม่ได้ท่านจะปล่อยวาง มัน ไม่เหมือนพวกเราตรงที่ว่า พวกเราถ้าหากว่าทำไม่ได้ ก็จะไปกลุ้มไปกังวลอยู่ ใจมันหมอง แต่ว่าท่านผ่องใสเป็นปกติ ทำแค่ตามหน้าที่เท่านั้น ประเภทที่พูดง่ายๆ แบบเล่นลิ้นว่า “ห่วงใย แต่ไม่ผูกพัน” อะไรทำนองนั้น

ถาม : (ไม่ชัด) สังเกตุร่างกาย

ตอบ: ท่านปิงกลัวว่าเป็นผู้ชาย ถ้าถึงตรงนั้นแล้วมันจะเหี่ยว บอกแล้วว่าไม่ยืนยัน ใครทำถึงก็รู้เองล่ะ แล้วอีกคนหนึ่งก็...ที่หลวงพ่อเล่าไว้ในน่าจะหนังสืออ่านเล่นมั้ง ที่เด็กผู้หญิงอายุ ๕ ขวบ แล้วก็ตายโดยที่ยังไม่หมดอายุ แล้วเด็กผู้หญิงคนนี้ก็ร้องไห้อยู่ที่ตำหนักพระยายม ร้องจะหาแต่หลวงพ่อ ปกติที่ไปลงตรงนั้น บารมี ต้องใช้คำว่า บารมีของพระยายมท่าน ข่มอยู่สนิททุกรายอาละวาดไม่ออกหรอก แต่เด็กคนนี้จะหาหลวงพ่อ จะหาหลวงพ่อ(หัวเราะ) เทวทูตต้องมาตามหลวงพ่อไป ไปถึงพระยายมท่านก็ชี้แจงว่า เด็กคนนี้ถ้าโตขึ้นจะเป็นพระอนาคามี แต่ เธอสวยมาก ถ้าหากว่าเป็นพระอนาคามีแล้วโทษเก่าที่เคยทำอยู่ จะทำให้โดนผู้ชายเบียดเบียน มันจะเกิดโทษมหาศาลสำหรับผู้ที่เบียดเบียนเธอ ก็เลยตัดให้ตายเสียดีกว่า ขึ้นไปต่อเอาข้างบนแล้วกัน ก็มีเหมือนกันนะ ไม่ใช่วาระของอายุ แต่อยู่แล้วจะเป็นโทษต่อคนอื่นเขา แบบเดียวกับพระอรหันต์ว่า ทำไมพอท่านบรรลุแล้ว ถ้าอยู่ในความเป็นฆราวาสถึงอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน แต่ว่าจริงๆ แล้ว ปกติที่หลวงพ่อท่านเจอมา ท่านบอกว่า ถ้า บรรลุตอนกลางคืนจะไม่ได้เห็นตะวันขึ้น ถ้าบรรลุตอนกลางวันจะไม่ได้เห็นตะวันตก ต้องตายก่อนแน่นอน เพราะว่าถ้าอยู่ต่อจะเป็นโทษต่อคนอื่นมาก

เอาตัวอย่างแค่ว่า นางขุชุตตรา นาง ขุชุตตราในชาตินั้นนี่ เพื่อนท่านเป็นภิกษุณีอรหันต์ มาเยี่ยมแล้วนั่งคุยกัน ตัวแกก็แต่งตัวจะออกไปงานเขา ทีนี้เขามานั่งอยู่ขวางทางทำให้เธอหยิบกระเช้าเครื่องแต่งตัวไม่ได้ ก็บอกว่าพระแม่เจ้าโปรดช่วยหยิบส่งให้ดิฉันหน่อย เพื่อนเธอเป็นภิกษุณีอรหันต์ยังไม่พอ ยังเป็นปฏิสัมภิทาญาณด้วย สภาพจิตเร็วมาก มองปั๊บรู้เลย เธอใช้พระอรหันต์เธอต้องเกิดโทษแน่นอน ถ้าเราไม่หยิบให้เธอ เธอโกรธ เธอลง อวจีมหานรกไปเลย แต่ถ้าเราหยิบให้เธอ การใช้พระอรหันต์ทำให้เธอต้องเกิดเป็นคนใช้เขา ๕๐๐ ชาติ เอาเถอะเกิดเป็นคนใช้เขายังไงก็ยังเบากว่าลงอวเจีมหานรก ก็หยิบส่งให้ นั่นแหละแค่นั้นแหละ

แล้วอีกตัวอย่างก็คือ นางสิริมา ใน ชาติก่อนที่เธอเวียนเทียนอยู่ แล้วมีภิกษุณีอรหันต์องค์หนึ่ง ท่านก็เคี้ยวหมากเป็นปกติ ถึงเวลาบ้วนน้ำหมากละอองน้ำหมากมันกระเด็นไปเปื้อนชายผ้าเข้า เธอก็ด่าเอา บอกว่าหญิงแพศยาที่ไหนถึงได้บ้วนน้ำหมากมากระเด็นถูกผ้าเรา เกิดมาชาติใหม่ต้องไปเป็นหญิงแพศยา คือเป็นหญิงนครโสเภณีไปขายตัวให้เขาอยู่ แล้วก็บอกว่าต้องเป็นอย่างนั้นตลอด ๕๐๐ ชาติ นั่นขนาดอยู่ในอุดมเพส คือเพสของภิกษุ ภิกษุณีที่เขาเคารพอยู่แล่ว ยังเป็นโทษกับคนอื่นขนาดนั้น ถ้า เป็นฆราวาสเขาไม่เกรงใจหรอก ยิ่งประเภทอาวุโสกว่าด้วย เดี๋ยวก็ตบหัวโครมใช้งานไปเลยอะไรอย่างนั้น มันจะเป็นโทษใหญ่ต่อคนอื่นเขา ก็เลยตัดให้ตายซะก่อนดีกว่า อยู่ต่อไปคนพูดปรามาสแม้แต่คำเดียวก็ลงนรก ใช้เธอก็ลงนรก ด่าเธอก็ลงนรก อยู่ไปมีแต่โทษทั้งนั้นก็เลยไปเสียเลยดีกว่า

แต่ถ้าอยู่ในสภาพของพระอย่างนี้ คนเขาให้ความเคารพเป็นปกติอยู่แล้ว จะดีไม่ดีเขาก็ประเภท ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์อยู่แล้ว ไม่มายุ่งมาเกี่ยวด้วย ถึงได้อยู่ได้ แต่ถ้าเป็นฆราวาสหลวงพ่อท่านบอกเท่าที่ท่านดูมา ไม่เคยมีใครอยู่เกินอย่างที่ว่าเลย ใน พระไตรปิฎกบอกว่าอยู่ได้ไม่เกิน ๗ วัน ท่านเจอมาจริงๆ อยู่ได้ไม่เคยเกินวัน บรรลุกลางคืนตายไม่ได้เห็นกลางวัน บรรลุกลางวันตายไม่ได้เห็นกลางคืน



สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนมกราคม ๒๕๔๗(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ



.
__________________
สร้างสมเด็จองค์ปฐมหน้าตัก 10 วา
http://www.palungjit.com/board/showthread.php?t=65729


ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์ "สมเด็จองค์ปฐม" ก้บวัดธรรมยาน

http://board.palungjit.com/f105/ร่วมสร้างพระชำระหนี้สงฆ์-สมเด็จองค์ปฐม-ก้บวัดธรรมญาณ-119095.html