8/06/2009

พระพุทธศาสนา : ๓ ตำนาน พระบรมธาตุในประเทศไทย

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช

ชาวอินเดียนำอารยธรรมมาเผยแพร่และตั้งหลักแหล่งครั้งแรกที่เมืองช้างค่อม หรือศิริธัมมาราช ซึ่งตรงกับพุทธศตวรรษที่ ๓ ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ไม่นานนักเกิดสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุระหว่างท้าวโกสีหราชผู้ครองเมืองทน บุรีกับท้าวอังกุศราช ผู้ครองเมืองชนทุบรี ท้าวโกสีหราช เล็งเห็นว่าภัยจะเกิดเพราะมีกำพลังน้อยกว่า จึงรับสั่งให้พระนางเหมชาราพระธิดากับพระโอรสทันทกุมารนำพระบรมธาตุหนีภัย สงครามลง เรือสำเภาไปยังเมืองลังกา ขณะเดินทางผ่านเมืองช้างค่อม ศิริธัมมาราช (นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) ได้เกิดอาถรรพ์คลื่นลมปั่นป่วนด้วยอำนาจ ของ ครุฑ และ นาค ที่มานมัสการพระบรมธาตุ จนเป็นเหตุให้สำเภาแตกอับปางกลางทะเล เจ้าสองพี่น้องจึงนำพระบรมธาตุเสด็จขึ้นฝั่งและอธิฐานฝังลง ณ กลางหาดทรายแก้ว ประมาณ ปี พ.ศ.๖ – ๘ เริ่มสร้างเจดีย์ทรงศรีวิชัย อาถรรพ์ลึกลับในทุกรอบ ๗๐๐ ปี กาลเวลาเลยมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๗๒ พระโอรสสองพี่น้องของพระเจ้าตะวันอธิราชเจ้าผู้ครองกรุงสุวรรณภูมิ ( จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรีในปัจจุบัน) คือเจ้าเดือนเด่นฟ้าและเจ้าดาวเด่นฟ้า โดยจารึกกระเบื้องจารจาก คำพยากรณ์ของพระโสณะมหาเถระ ( หัวหน้าพระอรหันต์ที่มาเผยแพศาสนาครั้งแรกในดินแดนสุวรรณภูมิ ) กล่าวไว้ว่าสุวรรณภูมิจึงกาลอวสานในภายภาคหน้าและจะได้เมือง หลวงใหม่ชื่อว่า ศรีวิชัยสุวรรณภูมิ ซึ่งต่อมาเมืองนั้นก็คือ เมืองช้างค่อมศิริธัมมาราชและก็กลายมาเป็นเมือง นครศรธรรมราช ในปัจจุบันนั้นเอง จากคำพยากรณ์ทำให้เจ้าเดือนเด่นฟ้า และเจ้าดาวเด่นฟ้าพระโอรส 2 ฟี่น้อง ของ พระเจ้าตะวันอธิราช เดินทาง มายังเมืองช้างค่อมและได้สร้างบ้านเมือง และก่อตั้งกองทัพเรือและโรงเรียนนานเรือโดยมีชาวชวาและชนพื้นเมืองเดิมเป็น กำลังช่วยเหลือ จนได้มาค้นพบเนินดินอันเป็น ที่ฝังพระบรมธาตุ จึงสร้างพระเจดีย์ทรงศรีวิชัยคร่อมเนินดินไว้ให้เป็นที่สักการบูชา เป็นต้นมา..
จาก ตำนาน..พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ::: [กระทู้หมายเลข 1437] กระดาน ลี้ลับ คุยเรื่องผี น่ากลัว สยองขว=

พระปฐมเจดีย์


การ ก่อสร้างพระประโทณเจดีย์ยังไม่มีเอกสารหลักฐานที่ยืนยันแน่ชัด มีเพียงตำนานเล่าสืบต่อกันมาคือ ตำนานพระประโทนเจดีย์ ฉบับนายอ่อง ไวกำลัง และตำนานพระปฐมเจดีย์และพระประโทณเจดีย์ ฉบับพระยามหาอรรคนิกรและฉบับนายทอง กล่าวความไว้คล้ายกัน คือ บริเวณที่ตั้งพระประโทนเจดีย์นั้น แต่เดิมเป็นตำบลบ้านพราหมณ์ เรียกว่า “บ้านโทณพราหมณ์” ซึ่งได้นำ ”ทะนานทอง” ที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ในเรือนหิน เมื่อ พ.ศ.1133 ท้าวศรีสิทธิชัยพรหมเทพ มาสร้างเมืองนครไชยศรีขึ้นเป็นเมืองใหญ่ ได้ขอทะนานทองจากพราหมณ์เพื่อจะนำไปแลกเปลี่ยนกับพระบรมสารีริกธาตุจากเจ้า เมืองลังกา แต่ได้รับการปฏิเสธ ทำให้รู้สึกขัดเคืองพระทัยจึงยกรี้พลออกไปตั้งเมืองใหม่ชื่อว่า “ปาวัน” และให้สร้างพระปฐมไสยาสน์องค์หนึ่งใหญ่ยาวมหึมา หลังจากนั้น จึงยกรี้พลมาแย่งทะนานทองไปให้เจ้าเมืองลังกาเพื่อบรรจุไว้ในสุวรรณเจดีย์ ต่อมาเมื่อพระพุทธศักราชล่วงได้ 1199 พรรษา พระเจ้ากากะวรรณดิศราชแห่งเมืองละโว้ ได้มาก่อพระเจดีย์ล้อมเรือนศิลาที่เคยบรรจุทะนานทองไว้แล้วให้นามว่า”พระประ โทณเจดีย์”

นอกจากนี้แล้วยังมีนิทานพื้น บ้านเรื่องพระยากงและพระยาพาน เล่าสืบต่อกันมาจนติดปากชาวบ้านว่า พระยาพาน เป็นผู้สร้างพระปฐมเจดีย์ เพื่อไถ่บาปที่ฆ่าพระยากงผู้เป็นบิดา และสร้างพระประโทณเจย์ เพื่อไถ่บาปที่ฆ่ายายหอมผู้มีพระคุณ ที่มาของเรื่อง พระยากง และ พระยาพานนี้ ปรากฏอยู่ใน ตำนานพระปฐมเจดีย์ฉบับพระยาราชสัมภารากร และฉบับตาปะขาวรอด และในพงศาวดารเหนือ แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียด เรื่องมีอยู่ว่า

ท้าว สิกราชครองเมืองศรีวิไชย คือ เมืองนครไชยศรี มีบุตรชื่อพระยากง ต่อมาพระยากงได้ครองเมืองศรีวิไชยต่อจากบิดา และพระมเหสีได้ประสูติพระกุมาร โหรทำนายว่า พระกุมารเป็นผู้มีบุญญาธิการมาก แต่จะกระทำปิตุฆาต พระยากงจึงมีรับสั่งให้นำพระกุมารไปทิ้งเสีย ทหารได้นำพระกุมารไปทิ้งไว้ที่ชายป่าไผ่ริมบ้านยายพรหม เมื่อยายพรหมมาพบจึงเก็บไปลี้ยงไว้ โดยไม่รู้ว่าเป็นบุตรของผู้ใด แต่ยายพรหมเป้นคนมีลูกหลานมาก จึงยกพระกุมารให้กับยายหอมไปเลี้ยงไว้แทน ต่อมาเจ้าเมืองราชบุรีได้รับพระกุมารไว้เป็นบุตรบุญธรรม เมื่อพระกุมารเติบใหญ่ ได้ทราบว่าเมืองราชบุรีเป็นเมืองขึ้นของเมืองศรีวิไชย ต้องส่งเครื่องราชบรรณาการทุกปี จึงคิดแข้งเมือง ไม่ยอมส่งเครื่องราชบรรณาการ พระยากงยึงได้ยกทัพมาปราบ และกระทำการยุทธหัตถีกับพระกุมาร พระยากงเสียทีถูกพระกุมารฟันด้วยของ้าวคอขาด สิ้นพระชนม์บนหลังช้าง พระกุมารจึงยกรี้พลเข้าเมืองศรีวิไชย และประสงค์จะได้พระมเหสีของพระยากงเป็นภรรยา แต่เทพยดาได้แสดงนิมิต จนในที่สุดก็ทราบว่าเป็นแม่ลูกกัน จึงโกรธยายหอมที่ไม่ยอมเล่าความจริงให้ตนทราบ ทำให้ต้องทำปิตุฆาต จึงไปที่บ้านยายหอมและจับยายหอมฆ่าเสีย คนทั่วไปจึงเรียกพระกุมารว่า “พระยาพาล” ด้วยเหตุที่ฆ่าพ่อและยายหอมผู้มีพระคุณ เมื่อพระยาพานได้ครองเมืองนครไชยศรี รู้สึกสำนึกในบาปที่ตนได้กระทำไป จึงคิดไถ่บาปโดยจัดประชุมพระอรหันต์ เพื่อหารือและได้รับคำแนะนำว่าให้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่สูงชั่วนกเขาเหิร จึงสั่งการให้ก่อรากพระเจดีย์สวมแท่นที่พระพุทธเจ้าเสด็จมาบรรทม นำฆ้องใหญ่ซึ่งตีสามโหม่งดังกระหึ่มไปจนถึงค่ำ มาหนุนไว้ใต้พระแท่นบรรทม เจดีย์ที่สร้างเป็นทรงล้อมฟาง สูงชั่วนกเขาเหิร ไม่มีลานประทักษิณ ภายในบรรจุพระทันตธาตุ คือพระเขี้ยวแก้วองค์หนึ่งแล้วให้มีการฉลองเจ็ดวันเจ็ดคืน ต่อมาพระเจ้าหงษาผู้เป็นใหญ่ในเมืองมอญ ต้องการได้ฆ้องใหญ่ จึงยกรี้พลมาขุดเอาฆ้อง แต่เมื่อขุดฆ้องก็ยิ่งจมลงไปทำให้เจดีย์ทรุดพัง จึงบูรณะเจดีย์ขึ้นใหม่ก่อเป็นองค์ปรางค์ ตั้งบนหลังองค์ระฆังของเจดีย์เดิมที่พังลง มีลานประทักษิณรายรอบ ก็ยังไม่สูงเท่าเก่า จึงสร้างพระเจดีย์รอบวิหารกังทั้งอุโบสถเพิ่มเติมลงอีก ความสำคัญในตำนานมีเพียงเท่านี้..
จาก [url=http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=justic&month=06-06-2008&group=3&gblog=2]Bloggang.com : justic :

อีกตำนาน
มาสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชขึ้นครองราชสมบัติ ในแคว้นมคธของอินเดียเมื่อ พ.ศ. 274 ทรงเป็นกษัตริย์ที่มี
พระเดชานุภาพใหญ่หลวงพระองค์สลดพระทัยในการรบพุ่ง มุ่งหมายจะแผ่พระเดชานุภาพทางธรรมเพราะทรงเห็นว่า
พระพุทธศาสนามีคติธรรมล้ำเลิศกว่าศาสนาอื่น ๆ จึงทรงอุปถัมภ์และเผยแพร่ในนานาประเทศ โดยส่งพระสงฆ์เป็น
สมณฑูตออกไป มีข้อความตอนหนึ่งในหนังสือมหาวงศ์คือ พงศาวดารของเกาะลังกา โดยพรรณาไว้ว่า
"สุวรรณภูมิ เถเรเทวโสณ อุตตรเมวจ" แปลความว่า ให้พระโสณเถระกับพระอุตรไปยังสุวรรณภูมินักปราชญ์
ทั้งหลายเห็นพ้องกับอาจารย์ริสเดวิดส์ที่ว่า เริ่มต้นแต่รามัญประเทศ (คือเมืองมอญ) ไปจดเมืองญวน
และตั้งแต่พม่าไปจนถึงปลายแหลมมาลายูเมืองนครปฐม น่าจะเป็นราชธานีของสุวรรณภูมิ และคงเรียกว่า
สุวรรณภูมิ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศด้วยหลักฐานที่ปรากฏชัดว่าเมืองนครปฐมเป็นเมืองที่พระพุทธศาสนา
มาเผยแพร่เป็นครั้งแรกที่นี่คือ องค์พุทธเจดีย์ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยเดียวกับครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชยัง
ครองราชสมบัติอยู่แน่นอน เพราะลักษณะองค์เจดีย์นั้น เดิมเป็นสถูปกลมรูปทรงคล้ายบาตรคว่ำ (โอคว่ำ)
แบบสัญจิเจดีย์ ในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชสร้างไว้และวัดที่สร้างขึ้นเป็นวัดแรกในประเทศไทย ก็คือ
วัดพระปฐมเจดีย์นี่เองผู้ปกครองวัดหรือสมภารเจ้าวัดก็คือพระอรหันต์ ผู้นำพระพุทธศาสนามาเผยแพร่ในยุคนั้น
ผู้สร้างพระเจดีย์องค์เดิม จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีกำลังความสามารถมากและคงสร้างไว้ใน
เมืองหลวงด้วย พระสถูปองค์เดิมสูง 19 วา 2 ศอก (35 เมตร) หลักฐานอื่น ๆ ที่พบมากได้แก่ พระสถูปต่าง ๆ ศิลาธรรมจักร
จารึกพระธรรมเป็นภาษามคช คือ คาถาเยธมมา พระแท่นพุทธอาสน และรอยพระพุทธบาท
ทำเป็นที่สักการะแทนพระพุทธรูปในสมัยนั้น ยังไม่มีพระพุทธรูป ลักษณะขององค์พระเจดีย์ตอนบน
เป็นพุทธอาสนสี่เหลี่ยมตั้งไว้มีฉัตรปักเป็นยอด ฐานพระสถูปเป็นรูปสี่เหลี่ยมรอบฐานทำเป็นที่เดินประทักษิณ
มีรั้วล้อมรอบภายนอก ก่อด้วยอิฐชนิดเดียวกันเมื่อมีพระปฐมเจดีย์ก็น่าจะมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ตามมา
มีการปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์เป็นครั้งคราวโดยเฉพาะในฤดูเข้าพรรษา สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ได้ทรงกล่าวไว้ในหนังสือมูลเหตุแห่งการสร้างวัดในประเทศสยามข้อ 3 ว่า…ที่ลานพระปฐมเจดีย์
ข้าพเจ้าได้ลองให้ขุดคูแห่งหนึ่งที่ริมถนนขวาพระก็พบซากห้องกุฏิพระสงฆ์แต่โบราณ....."
ก็แสดงว่าวัดแรกของประเทศไทยก็คือวัดพระปฐมเจดีย์นี่เอง และกุฏิสมัยนั้นอยู่ทางด้านขวาพระเมืองนครปฐม
ได้เจริญและเสื่อมลง วัดพระปฐมเจดีย์ก็เช่นเดียวกัน ได้ชำรุดทรุดโทรมรกร้างไปตามสภาพบ้านเมือง
จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 2 ในราชวงศ์จักรี กุฏิของพระสงฆ์ได้ย้ายมาอยู่ทางด้านทิศเหนือขององค์พระปฐมเจดีย์
คือทางด้านหน้าวิหารพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศาลาการเปรียญอยู่บริเวณด้านพระศรีมหาโพธิ์ หมู่กุฏิพระสงฆ์ ปลูกอยู่ทางด้าน
ตะวันตกของศาลาการเปรียญ ส่วนพระอุโบสถคงอยู่ณ ที่เดิมคือ ด้านตะวันออก ตรงกับพระอุโบสถในปัจจุบัน
เพียงแต่ว่าตั้งอยู่กับพื้นดินการสร้างพระเจดีย์จะต้องบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
แน่นอนเพราะสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงมอบพระบรมสารีริกธาตุให้สมณฑูตทุกสาย สมณฑูต
เหล่านั้นเมื่อประกาศพระพุทธศาสนา ณ ที่ใดเป็นหลักฐานมั่งคงแล้ว ก็จะสร้างพระเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงกระทำในชมพูทวีป

พระธาตุพนม


พระธาตุพนม ประดิษฐานอยู่ ณ วัดพระธาตุพนมวรวิหาร ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตำบล และอำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม สถานที่ประดิษฐานองค์พระธาตุ อยู่บนภูกำพร้า หรือดอยกำพร้า ภาษาบาลีว่า กปณบรรพตหรือ กปณคีรี ริมฝั่งแม่น้ำขลนที อันเป็นเขตแขวงนครศรีโคตบูรโบราณ
ตามตำนานพระธาตุพนม ในอุรังคนิทานกล่าวว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมทั้งพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางทิศตะวันออก โดยทางอากาศ ได้มาลงที่ดอนกอนเนา แล้วเสด็จไปหนองคันแทเสื้อน้ำ (เวียงจันทน์) ได้พยากรณ์ไว้ว่า ในอนาคตจะเกิดบ้านเมืองใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จากนั้นได้เสด็จไปตามลำดับ ได้ทรงประทานรอยพระพุทธบาทไว้ที่ โพนฉัน (พระบาทโพนฉัน) อยู่ตรงข้ามอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย แล้วเสด็จมาที่ พระบาทเวินปลา ซึ่งอยู่เหนือเมืองนครพนมปัจจุบัน ได้ทรงพยากรณ์ที่ตั้งเมืองมรุกขนคร (นครพนม) และได้ประทับพักแรมที่ภูกำพร้าหนึ่งคืน วันรุ่งขึ้นเสด็จข้ามแม่น้ำโขง ไปบิณฑบาตที่เมืองศรีโคตบูร พักอยู่ที่ร่มต้นรังต้นหนึ่ง (พระธาตุอิงฮังเมืองสุวรรณเขต) แล้วกลับมาทำภัตกิจ (ฉันอาหาร) ที่ภูกำพร้าโดยทางอากาศ
พญาอินทร์ได้เสด็จมาเฝ้าและทูลถามพระพุทธองค์ ถึงเหตุที่มาประทับที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้าทั้ง 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุ มาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า พระพุทธองค์เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสปะ ผู้เป็นสาวก ก็จะนำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ ณ ที่นี้เช่นกัน จากนั้นพระพุทธองค์ก็ได้ทรงปรารภถึงเมืองศรีโคตบูร และมรุกขนคร แล้วเสด็จไปหนองหารหลวง ได้ทรงเทศนาโปรดพญาสุวรรณพิงคาระ และพระเทวี ประทานรอยพระพุทธบาทไว้ ณ ที่นั้น แล้วเสด็จกลับพระเชตวัน หลังจากนั้นก็เสด็จปรินิพพานที่เมืองกุสินารา
เมื่อพระพุทธองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว มัลลกษัตริย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระสรีระ แต่ไม่สำเร็จ จนเมื่อพระมหากัสสปะมาถึงได้อธิษฐานว่า พระธาตุองค์ใดที่จะอัญเชิญไปประดิษฐานที่ภูกำพร้า ขอพระธาตุองค์นั้นเสด็จมาอยู่บนฝ่ามือ ดังนี้แล้ว พระอุรังคธาตุ ก็เสด็จมาอยู่บนฝ่ามือขวาของพระมหากัสสปะ ขณะนั้นไฟธาตุก็ลุกขึ้นโชติช่วง เผาพระสรีระได้เองเป็นอัศจรรย์ เมื่อถวายพระเพลิงและแจกพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระมหากัสสปะพร้อมด้วยพระอรหันต์ 500 องค์ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาทางอากาศ แล้วมาลงที่ดอยแท่น (ภูเพ็กในปัจจุบัน) จากนั้นได้ไปบิณฑบาตที่เมืองหนองหารหลวง เพื่อบอกกล่าวแก่พญาสุวรรณพิงคาระ ตำนานตอนนี้ตรงกับตำนานพระธาตุเชิงชุม และพระธาตุนารายณ์เจงเวง ซึ่งมีรายละเอียดอยู่แล้ว
เมื่อพญาทั้ง 5 ซึ่งอยู่ ณ เมืองต่าง ๆ อันได้แก่ พญานันทเสน แห่งเมืองศรีโคตบูร พญาจุลณีพรหมทัต พญาอินทปัตถนคร พญาคำแดง แห่งเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณพิงคาระ แห่งเมืองหนองหารหลวง ได้พากันปั้นดินดิบก่อแล้วเผาไฟ ตามคำแนะนำของพระมหากัสสปะ แบบพิมพ์ดินกว้างยาวเท่ากับฝ่ามือพระมหากัสสปะ
ครั้นปั้นดินเสร็จแล้วก็พากันขุดหลุมกว้าง 2 วา ลึก 2 ศอก เท่ากันทั้ง 4 ด้าน เมื่อก่อดินขึ้นเป็นรูปเตา 4 เหลี่ยม สูง 1 วา โดยพญาทั้ง 4 แล้ว พญาสุวรรณภิงคาระก็ได้ก่อส่วนบน โดยรวมยอดเข้าเป็นรูปฝาปารมีสูง 1 วา รวมความสูงทั้งสิ้น 2 วา แล้วทำประตูเตาไฟทั้ง 4 ด้าน เอาไม้จวง จันทน์ กฤษณา กระลำพัก คันธรส ชมพู นิโครธ และไม้รัง มาเป็นพื้น ทำการเผาอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อสุกแล้วจึงเอาหินหมากคอยกลางโคก มาถมหลุม เมื่อสร้างอุโมงค์ดังกล่าวเสร็จแล้ว พญาทั้ง 5 ก็ได้บริจาคของมีค่าบรรจุไว้ในอุโมงค์เป็นพุทธบูชา
จากนั้น พระมหากัสสปะ ก็ได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุ เข้าบรรจุภายในที่อันสมควร แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์ไว้ทั้ง 4 ด้าน โดยสร้างประตูด้วยไม้ประดู่ ใส่ดาลปิดไว้ทั้ง 4 ด้าน แล้วให้คนไปนำเอาเสาศิลาจากเมืองกุสินารา 1 ต้น มาฝังไว้ที่มุมเหนือตะวันออก แปลงรูปอัศมุขี (ยักษิณีหน้าเป็นม้า) ไว้โคนต้นเพื่อเป็นหลักชัยมงคลแก่บ้านเมืองในชมพูทวีป นำเอาเสาศิลาจากเมืองพาราณสี 1 ต้น ฝังไว้มุมใต้ตะวันออก แปลงรูปอัศมุขีไว้โคนต้น เพื่อหมายมงคลแก่โลก นำเอาเสาศิลาจากเมืองตักศิลา 1 ต้น ฝังไว้มุมเหนือตะวันตก พญาสุวรรณพิงคาระให้สร้างรูปม้าอาชาไนยไว้ตัวหนึ่ง หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อแสดงว่าพระบรมธาตุเสด็จออกมาทางทิศทางนั้น และพระพุทธศาสนาจักเจริญรุ่งเรืองจากเหนือเจือมาใต้ พระมหากัสสปะให้สร้างม้าพลาหกไว้ตัวหนึ่ง คู่กัน หันหน้าไปทางทิศเหนือ เพื่อเป็นปริศนาว่า พญาศรีโคตบูรจักได้สถาปนาพระอุรังคธาตุไว้ตราบเท่า 5,000 พระวัสสา เกิดทางใต้และขึ้นไปทางเหนือ เสาอินทขีล ศิลาทั้ง 4 ต้น ยังปรากฏอยู่ 2 ต้น ทางทิศตะวันออก ส่วนอีก 2 ต้น ได้ก่อหอระฆังหุ้มไว้ ส่วนม้าศิลาทั้ง 2 ตัว ก็ยังปรากฏอยู่ถึงปัจจุบัน
พระธาตุพนม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตามลำดับ การบูรณะครั้งแรกและครั้งที่สอง ไม่ได้บันทึกปีที่บูรณะไว้ การบูรณะครั้งที่สามเมื่อปี พ.ศ. 2157 ครั้งที่สี่เมื่อปี พ.ศ. 2233 ครั้งที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2349 ครั้งที่ 6 เมื่อปี พ.ศ. 2444 เป็นการบูรณะครั้งใหญ่ และต่อจากนั้นมาก็มีการบูรณะทั่วไป เช่น บริเวณโดยรอบพระธาตุ
ได้มีพิธียกฉัตรทองคำขึ้นประดิษฐานไว้ที่ยอดองค์พระธาตุ และนำฉัตรเก่ามาเก็บไว้ เมื่อปี พ.ศ. 2497 มีพุทธศาสนิกชนจากดินแดนสองริมฝั่งโขงทั้ง ไทยและลาว หลั่งไหลมาร่วมมงคลสันนิบาต และนมัสการองค์พระธาตุเป็นเวลาถึงหนึ่งเดือน
เมื่อปี พ.ศ. 2518 องค์พระธาตุพนมชำรุดล้มลง ทางราชการได้ดำเนินการก่อสร้างขึ้นใหม่ ให้คงสภาพเดิม ภายในปีเดียวกัน และได้ยืนยงคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้
งานนมัสการพระธาตุพนมประจำปี เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 12 ค่ำ ถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 3
คำนมัสการพระธาตุพนมมีดังนี้
"กปณคิริสฺมิ ปพฺพเต มหากสฺสเปน ฐาปิตํ พุทฺธอุรงฺคธาตุ สิรสา นมามิ"
แปลว่า "ข้าพเจ้าขอนมัสการ พระบรมอุรังคธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหากัสสปเถระเจ้า นำมาฐาปนาไว้ ณ ภูกำพร้า ด้วยเศียรเกล้า"



นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ ๓ ครั้ง

อิติปิ โสภะคะวา, นะมามิหัง ตัง ภะคะวันตัง, fficeffice" />>>




ปะระมะสารีริกธาตุยา สัทธิง, >>


อะระหังสัมมาสัมพุทโธวิชชาจะระณะสัมปันโน, สุคะโต, >>


โลกะวิทู,อะนุตตะโรปุริสะทัมมะสาระถิ, >>


สัตถา เทวะ มะนุสสานัง, พุทโธ, ภะคะวาติ.

No comments: