9/02/2009

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี-ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายด้านการให้ทาน




ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี-
ผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลายด้านการให้ทาน


พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายล้วนตรัสไว้เสมอว่าผู้รู้กาล รู้เวลา รู้ตน รู้บุคคล รู้ประชุมชน นั้นคือ .... เป็นผู้รู้โดยแท้จริง ......


ตามเรื่องราวในสวรรค์ชั้นดุสิตได้เคยนำเสนอในคราวก่อนนั้น ได้กล่าวไว้ถึงบุคคลที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ว่ามีหลายต่อหลายท่านที่ไปเกิดในสวรรค์ชั้นนี้ แต่ไม่ได้นำมากล่าวทั้งหมด...... ในที่นี้ ก็ขอยกเอาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี มากล่าวเป็นพอ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จัดเป็นบุคคลตัวอย่างในเรื่อง การให้ทาน เป็นตัวอย่างในการเข้าถึงพระรัตนตรัย มีศรัทธามาก ท่านเป็นอุบาสกที่มีชื่อเสียงมาก จัดเป็นมหาอุบาสกก็ว่าได้ เพราะท่านมีศรัทธา ในทาน ในศีลในธรรม

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้น ท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทมากในการบำรุงพระพุทธเจ้าและพระศาสนา ในสมัยนั้นพระพุทธเจ้าทรงยกย่อง ท่านว่า

“เป็นเลิศกว่าบรรดาอุบาสกและบุคคลทั้งหลาย ในด้านการให้ทาน”


ดังนั้น ควรที่จะกล่าวไว้เป็นเครื่องระลึก และเป็นแบบอย่างแก่พุทธศาสนิกชน ในที่นี้จะกล่าวเพียงบางตอนต่อไป........



ประวัติท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี



ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีมีนามเดิมว่า “สุทัตตะเศรษฐี” เป็นบุตรของ “ท่านสุมนเศรษฐี" อยู่ในกรุงสาวัตถี ท่านเป็นเศรษฐีที่ใจบุญ ชอบช่วยเหลือคนตกยาก ทำให้ท่านถูกเรียกจากชาวเมืองสาวัตถีว่า “อนาถบิณฑิกเศรษฐี” แปลว่า เศรษฐีผู้เป็นที่พึ่งของคนยาก


ท่านอนาถบิณฑิกะมีภรรยาชื่อว่า “บุญญลักษณา” ซึ่งเป็นน้องสาวของเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ที่มีชื่อว่า “ราชคฤหเศรษฐี” ส่วนน้องสาวของท่านอนาถบิณฑิกะก็เป็นภรรยาของราชคฤหเศรษฐีเช่นกัน ทั้งสองท่านจึงเป็นสหายกันด้วย


ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี จัดเป็นพ่อค้าที่ร่ำรวยมีกองเกวียนมาก และมักเดินทางไปค้าขายในต่างเมืองเป็นประจำ อยู่มาวันหนึ่ง ท่านได้เดินทางไปค้าขายที่กรุงราชคฤห์ และได้ไปพักอยู่ที่บ้านของท่านราชคฤหเศรษฐี ซึ่งเป็นพี่เขยนั้น จัดเป็นเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์

ในขณะที่พักอยู่นั้นก็ได้เห็น ท่านราชคฤหเศรษฐีตระเตรียมทานเป็นอันมาก จึงเกิดสงสัยว่า ที่บ้านจะมีพระราชาเสด็จ หรือมีงานมงคลอย่างใดอย่างหนึ่ง

ดังนั้น จึงกล่าวถามท่านราชคฤหเศรษฐีว่า "ที่บ้านท่านจะมีงานอะไรหรือ " ก็ได้รับคำตอบว่า"พระพุทธเจ้าจะเสด็จมา รับพระกระยาหารที่บ้านเราในตอนรุ่งเช้า"

เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังว่า"พระพุทธเจ้า" เท่านั้นก็ดีใจ เบิกบานใจอย่างบอกไม่ถูก.... ในคืนนั้นท่านนอนไม่หลับ เพราะอยากไปเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงตื่นถึงสามครั้งในคืนนั้น พอใกล้รุ่งแล้วตนเองทนไม่ไหวจึงออกเดินไปเฝ้าพระพุทธเจ้า.....

ในตอนนั้นพระพุทธเจ้าพักอยู่ที่ "สีตวัน" เมื่อทรงเห็นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว ก็ทรงตรัสเรียกชื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า "ท่านสุทัตตะ เชิญเข้าม" ท่านอนาถบิณฑิกะ ปลื้มใจมาก ที่พระพุทธเจ้าเรียกชื่อเดิมตน โดยไม่มีใครเคยเรียกเลย

เมื่อ พูดคุยถามแล้วพระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงอนุปุพพิกถา ที่พรรณนาเรื่องทาน ศีล สวรรค์ โทษของกาม และอานิสงส์การออกบวช แล้วก็จบลงด้วยอริยสัจ 4 เมื่อฟังแล้ว ท่านก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน .......

ต่อมาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้อาราธนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมเหล่าพระสาวกไปกรุงสาวัตถี แต่พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า


"ตถาคตเจ้าทั้งหลาย ย่อมยินดีในที่ที่สงบเงียบ"


จากนั้นท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็เข้าใจ จึงเดินทางกลับกรุงสาวัตถีก่อน ที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จมา


ในตำรากล่าวว่า ในระหว่างที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเดิน ทางกลับนั้น ท่านได้ให้คนสร้างศาลาที่พักไว้ ทุก ๆ ๑ โยชน์ และทุก ๆ ศาลาก็ให้จัดอาหารไว้ เพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าด้วย คิดรวมระยะทางแล้วประมาณ ๕๔ โยชน์

เมื่อ ตนกลับไปถึงแล้วก็เที่ยวแสวงหาสวนที่มีความสงบเงียบ ก็ไปเห็นสวนที่สงบเงียบ อยู่ห่างจากเมืองประมาณ ๑ กิโลเมตร จึงตัดสินใจซื้อด้วยเงินที่มากมายเลยเกิน


เพราะ เจ้าของที่ คือ เจ้าเชต บอกว่า ต้องเอาเงินทองมาปูพื้นที่ที่จะสร้างวัดให้เต็ม เจ้าของที่จึงจะยอมขายให้ ตามตำรากล่าวว่า การสร้างวัดเชตวันนั้น ใช้เงินไปมากกว่า ๕๔ โกฏิ ...... ในการสร้างวัดและรวมทั้งทำบุญด้วย.....เห็นได้ว่า เป็นเงินจำนวนมากมายมหาศาล การสละเงินจำนวนมากเช่นนี้ ย่อมใช้กำลังใจเสียสละในการให้ทานเป็นอย่างมาก ท่านจึงเป็นบุคคลคนที่หาได้ยากยิ่ง


ใน การสร้างวัดพระเชตวันที่ยิ่งใหญ่ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ถวายแด่พระพุทธเจ้านั้น พระพุทธองค์ได้ทรงได้ประทับอยู่ในวัดพระเชตวัน นานถึง ๑๙ พรรษา ในจำนวน ๔๕ พรรษาในการที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาของพระองค์...

ศักยภาพของหัวใจ คือ รักคนได้ทั้งโลก

พรหมวิหาร 4 ก็เป็นวิธีอธิบายพัฒนาการของความรักในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งคนที่จะปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ให้สมบูรณ์ได้นั้น จะต้องใช้ปัญญาขั้นสูงพอสมควร

ยก ตัวอย่างง่ายๆ หนึ่งเมตตา (ต่อคนและสรรพสัตว์ทั้งโลก) กรุณา (ต่อคนและสรรพสัตว์ทั้งโลก) มุทิตา (ต่อคนและสรรพสัตว์ทั้งโลก) อุเบกขา (ต่อคนและสรรพสัตว์ทั้งโลก)

พรหมวิหาร 4 เป็นหลักธรรมที่เป็นคุณสมบัติของบุคคลผู้เป็นพรหม ฉะนั้นคนที่จะเป็นพรหมได้จึงจะต้องใช้ปัญญากันมากพอสมควร พรหมนั้นเป็นที่รู้กันมาว่าในวัฒนธรรมความเชื่อแบบอินเดียโบราณ คือพระผู้สร้างโลกและสร้างสรรพสิ่ง เพราะฉะนั้น คนที่ได้ชื่อว่าเป็นพรหมนี ก็จะต้องมีคุณธรรมของพรหม 4 ประการ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขาให้สมบูรณ์



แต่ เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา นั้น จะปฏิบัติให้สมบูรณ์เป็นเรื่องยากมาก เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักจะเมตตาเฉพาะคนที่ตัวเองรัก คนที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง กรุณาเฉพาะคนที่รัก คนที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง มุทิตาเฉพาะคนที่ตัวเองรัก คนที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง เห็นไหม สามข้อนี้ปฏิบัติยากมากเพราะเป็นเรื่องของคนกับคน คนกับอารมณ์ พอมาถึงอุเบกขา ยิ่งยากมากกว่านั้นนับร้อยนับพันเท่า เพราะอุเบกขาเป็นเรื่องของคนกับธรรม หรือคนกับหลักการ

ธรรมชาติ ของมนุษย์มักจะมีความโน้มเอียงตกเป็นฝักเป็นฝ่าย ไม่บวกก็ลบ ไม่สูงก็ต่ำ ไม่ขวาก็ซ้าย ไม่เธอก็ฉัน แต่อุเบกขา คนที่จะปฏิบัติได้นั้น จะต้องเป็นคนที่มีลักษณะหรือพฤติกรรมในทางจิตใจ สามารถมองทะลุสมมติบัญญัติทั้งปวง มีโลกทัศน์ในลักษณะอยู่เหนือดูอัลลิตี (Duality) ก็คือ เหนือสิ่งซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามทั้งหมดทั้งปวง สามารถทะลุทะลวงสมมติแล้วลอยเด่นอยู่เหนือสิ่งสมมติทั้งหลายทั้งปวง มองโลกทั้งในแง่ดีทั้งในแง่ร้าย มองคนทั้งคนดีและคนร้าย มองสรรพสัตว์ทั้งคนดีและคนร้าย ด้วยราคาเดียวกัน ไม่มีใครสูงกว่าใคร ไม่มีใครต่ำกว่าใคร และตัวเองก็ไม่เลือกเข้าข้างใคร

การ ที่จะปฏิบัติเป็นคนที่อยู่ในโลกแต่มีภาวะจิตใจซึ่งเหนือโลกเช่นนี้ได้นั้น ต้องการปัญญาขั้นสูง ฉะนั้นพรหมวิหารธรรมจึงเป็นธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นพรหม ไม่ใช่ธรรมะตื้นๆ ธรรมดาๆ แต่เป็นธรรมะขั้นสูง ผู้ที่จะบำเพ็ญพรหมวิหารธรรมได้ครบสมบูรณ์ จึงหาไม่ได้ง่ายๆ แต่ใครก็ตามทำการบำเพ็ญพรหมวิหารธรรมได้สมบูรณ์ ต้องถือว่าคนนั้นมีคุณค่าเท่ากับเป็นพรหมทีเดียว เพราะคนคนนั้น จะสามารถสร้างโลกสร้างชีวิตได้อย่างร่มเย็นเป็นสุข พอๆ กับที่พระพรหมสร้างโลกทั้งผอง ให้มีความลงตัว ให้มีความสมบูรณ์ สร้างครั้งเดียวแล้วไม่ต้องกลับมาสร้างใหม่ เห็นไหม ฉะนั้นใครก็ตามที่มีพรหมวิหารธรรมในหัวใจ ก็จะสามารถปฏิบัติต่อคนทั้งโลก สามารถปฏิบัติต่อธรรมะ ซึ่งเป็นแกนกลางที่ทำให้โลกนี้มีความร่มเย็นเป็นสุขอยู่ได้อย่างมีความสมดุล

โดยสรุปคนที่จะปฏิบัติ พรหมวิหารธรรมในหัวใจได้นั้น จะต้องเป็นคนที่มีพุทธภาวะ ก็คือมีปัญญา มีวิสุทธิภาวะ ก็คือ มีจิตซึ่งหลุดพ้นจากอวิชชา และแน่นอนที่สุดก็ต้องมีกรุณาภาวะ คือรักที่แท้เป็นเรือนใจ จึงจะสามารถปฏิบัติพรหมวิหารธรรมได้อย่างสมบูรณ์ ไปๆ มาๆ ทั้งพรหมวิหารธรรมและรักสี่ประการที่กล่าวมาข้างต้นทั้งหมด เป็นเนื้อเดียวกัน

อุเบกขา เป็นเรื่องที่คนจำนวนมากปฏิบัติได้ยาก และทั้งๆ ที่ ปฏิบัติได้ยาก ถึงกระนั้นก็ยังปฏิบัติกันผิดๆ ไหนๆ ถามแล้วก็ขออธิบายลงลึกในรายละเอียดนิดหนึ่ง พรหมวิหารธรรมทั้งสี่ประการนั้น จะต้องปฏิบัติให้สอดคล้องกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมนั้นๆ เช่น เมตตา ใช้ในสถานการณ์ปกติ คือมองดูคนทั้งโลก มองดูสรรพชีพ สรรพสัตว์ทั่วทั้งโลกด้วยสายตาแห่งไมตรีจิต เป็นมิตรต่อคนทั้งโลก ในลักษณะ “We are the world” “โลกทั้งผองพี่น้องกัน” นั่นคือเมตตา

กรุณา ใช้ในสถานการณ์ที่คนซึ่งอยู่ข้างหน้าเรา สรรพชีพสรรพสัตว์กำลังตกทุกข์ได้ยาก เราจึงยื่นมือเข้าไปช่วย ถ้าเขาอยู่เฉยๆ เรายื่นมือเข้าไปช่วย เราก็จะโดนข้อหาหวังดีแต่ประสงค์ร้ายใช่ไหม เขาไม่ต้องการอาหาร เรายกอาหารไปให้เขา เราก็ถูกข้อหายัดเยียดอาหารให้เขา ทั้งๆ ที่เราหวังดี แต่เพราะทำไม่ถูกกาลเทศะ กลายเป็นหวังดีประสงค์ร้าย ฉะนั้นกรุณาถ้าไม่ถูกกาลเทศะกลายเป็นเสื-อกได้
มุทิตา ในสถานการณ์ที่คนซึ่งอยู่เบื้องหน้าของเราได้ดีมีความสุข เราให้กำลังใจเขา ทำไมต้องให้กำลังใจเขา เพราะถ้าเราไม่รีบให้กำลังใจ ใจของเราจะพลิกจากมุทิตาเป็นริษยา คือจะทนต่อคุณงามความดีของคนอื่นไม่ได้ เมื่อปล่อยให้ริษยาก่อตัวขึ้นในใจ ริษยานั้นก็จะเผาไหม้ใจของเราให้เป็นจุณ จากนั้นจะลุกลามไปเผาไหม้คนซึ่งเราริษยา พระพุทธเจ้าแนะให้มุทิตาก็เพื่อป้องกันริษยา และเป็นการยกระดับจิตใจของเราให้สูงขึ้น ปรารถนาให้คนอื่นดีกว่าตน นั่นคือ เป็นปฏิบัติการที่ฝึกใจให้เป็นพระโพธิสัตว์องค์น้อยๆ มุทิตานี่นะเป็นรอยต่อทำให้คนเป็นพระโพธิสัตว์นะ

ถ้า เราเห็นคนอื่นได้ดีแล้วเข็มไมล์หัวใจของเราไม่กระดิกด้วยริษยา แสดงว่าเราเริ่มมีพัฒนาการที่จะเป็นพระโพธิสัตว์เกิดขึ้นแล้ว ฉะนั้นใครอยากเป็นพระโพธิสัตว์ให้บำเพ็ญมุทิตาจิตให้มากๆ นะ เห็นคนอื่นได้ดีมีสุขแล้วเข็มไมล์หัวใจนี่ไม่กระดิกในทางลบเลย มีแต่เบิกบาน ผ่องใสกับเขา เหมือนสายฝนตกมาแล้วหลังฝนพรำ เห็ดก็งอกออกจากพื้นดิน เห็ด เพราะมุทิตาต่อสายฝน เห็ดจึงสามารถผุดออกมาจากผืนดินได้ เช่นเดียวกัน คน เพราะมุทิตาต่อคนอื่น หัวใจจึงสามารถหลุดพ้นจากความคับแคบของโซ่ตรวนแห่งความริษยาได้

อุเบกขา ใช้ในสถานการณ์ที่คนกำลังขัดแย้งกับหลักธรรม หลักการแห่งความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม และหลักกฎหมาย เราควรปล่อยให้คนเหล่านั้นได้รับผิดชอบผลแห่งการกระทำด้วยตัวของเขาเอง โดยปราศจากการแทรกแซงโดยสิ้นเชิง เราวางตัวเป็นกลางด้วยความตื่นรู้ แล้วก็กันตัวเองออกมา เฝ้าดูคนที่ทำผิดหลักการ ผิดหลักกรรม ผิดหลักธรรมนั้น รับผลแห่งการกระทำของเขาเอง อย่างตรงไปตรงมา ตามลักษณะของความเป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ว่า สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิดขึ้นเพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้ดับไปก็เพราะสิ่งนี้ดับไป เราเป็นผู้ดู ผู้สังเกตการณ์ ปล่อยให้คนที่สวนทางกับหลักการ หลักธรรม หลักกรรมทั้งหลายนั้น รับผลซึ่งเขาได้ก่อเหตุเอาไว้ด้วยตัวของเขาเองอย่างตรงไปตรงมา นั่นแหละคือการวางตัวเป็นกลาง

การ วางตัวเป็นกลางอย่างนี้ จะต้องใช้ปัญญาขั้นสูง เพราะมีคนจำนวนมากที่พยายามจะวางตัวเป็นกลาง แต่เนื่องจากปราศจากปัญญา การพยายามวางตัวเป็นกลาง เลยกลายเป็นการปล่อยปละละเลย ฉะนั้นอุเบกขาจึงมีสองลักษณะ หนึ่ง อุเบกขาที่มาพร้อมกับปัญญา เป็นอุเบกขาที่แท้จริง พึงประพฤติปฏิบัติ สองอุเบกขาที่มาพร้อมกับความโง่ เรียกว่า อัญญานุเบกขา เป็นอุเบกขาที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะหากวางอุเบกขาด้วยความโง่ ยิ่งพยายามวางอุเบกขา กลายเป็นว่ายิ่งทอดธุระ ยิ่งปล่อยปละละเลย ฉะนั้น พรหมวิหารธรรมทั้งสี่ประการ จะปฏิบัติให้สมบูรณ์ต้องดูสภาพแวดล้อมด้วยเสมอไป ถ้าไม่ดูสภาพแวดล้อม จู่ๆ ก็เมตตา ก็กลายเป็นเมตตาจนเกินพอดี เขามีปัญหาช่วยเหลือมากเกินไป กลายเป็นแบกภาระแทนเขา เขาได้ดีมีสุข มุทิตาไม่ดูกาลเทศะ ทำให้คนที่ถูกมุทิตาหลงตัวเอง อุเบกขาพอไม่ใช้ปัญญากลายเป็นการทอดธุระ ปล่อยปละละเลย เฉยมั่ว เฉยเมย และเฉยเมิน

ใน การฝึกมุทิตากับคนอื่น ให้เรามองตัวเรากับมองตัวเขา ว่าเราทั้งคู่นี่ช่างโชคดีจังเลยนะ ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ แล้วท่ามกลางการเป็นมนุษย์นี้ กว่าจะเกิดมาก็แสนยาก กว่าจะดำรงชีวิตรอดก็แสนยาก แล้วทั้งๆ ที่เกิดแสนยาก ดำรงชีวิตแสนยากนั้น เขาก็ยังอุตส่าห์สู้ฟันฝ่าอุปสรรคมาได้จนประสบความสำเร็จ คนเช่นนี้ช่างน่านับถือในความวิริยะอุตสาหะจังเลย ฉันขอชื่นชมต่อคุณนะ แล้ววันหนึ่ง ฉันจะพยายามพัฒนาตัวเองให้เป็นเหมือนคุณบ้าง

นี่ เห็นไหม มองกว้างๆ อย่างนี้ แล้วเราไม่อิจฉาไม่ริษยาเขาเลย เพราะอะไร เพราะเขาก็คือเพื่อนร่วมโลกเหมือนกันกับเรา ให้มองคนที่อยู่ตรงหน้าว่าเขากับเราต่างก็เป็นเพื่อนผู้ร่วมเกิดแก่เจ็บตาย ในสังสารวัฏอันเดียวกัน การที่เราไปชิงชังรังเกียจเขาไปริษยาเขา ก็คือ เรากำลังโกรธเกลียดชิงชังเพื่อนของเรานั่นเอง แล้วคนที่เกลียดเพื่อน สุดท้ายก็จะเสียเพื่อน และจะกลายเป็นคนไม่มีเพื่อน ดังนั้นการทำร้ายเพื่อน การริษยาเพื่อน แท้ที่จริงก็คือการทำร้ายตัวเรานั่นแหละ เรื่องอะไรเราจะไปทำร้ายตัวเราด้วยการทำร้ายเพื่อน เห็นไหม ดังนั้น หากเราแผ่มุทิตาต่อเขา ใจของเราก็เบิกบาน
เหมือน ดอกไม้ ทันทีที่แสงตะวันสาดมาต้อง ดอกไม้ไม่ขังตัวเองไว้ เปิดใจรับแสงตะวัน ดอกตูมก็กลายเป็นดอกบาน เห็นไหม แต่ถ้าดอกไม้ตูมไม่เปิดใจรับแสงตะวัน ทั้งปีทั้งชาติก็ตูมอยู่อย่างนั้น แล้วกลิ่นหอมจะมาแต่ไหน

ความ เป็นดอกไม้ก็ไม่สมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของดอกไม้อยู่ที่คุณเป็นดอกไม้แล้วคุณได้บาน แล้วร่วงโรยไปตามกาลเวลา ความสมบูรณ์ของคนก็อยู่ที่คุณเป็นคน แล้วจิตใจของคุณได้เบิกบานเพราะปราศจากไฟริษยา ความริษยานั้นเป็นคุกชนิดหนึ่ง เมื่อเราเติมมุทิตาเข้าไป จิตใจของเราก็เบิกบาน เมื่อเบิกบาน ความเป็นมนุษย์ของเราก็สมบูรณ์ จุดเดียวกับดอกไม้ เมื่อเปิดใจรับแสงตะวัน กลีบของดอกไม้ก็คลี่บานแล้วส่งกลิ่นหอม ความเป็นดอกไม้ก็สมบูรณ์ เมื่อคนคนหนึ่ง เปิดหัวใจให้กว้างขวาง ผลิบานต่อความเจริญก้าวหน้าของเพื่อนมนุษย์ เขาก็กำลังก้าวไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เพราะว่ามุทิตาคือภาวะของจิตใจของคนที่กำลังเป็นพระโพธิสัตว์องค์น้อยๆ ได้เกิดขึ้นแล้ว

รายงานโดย :ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย:

อริยสัจ แปลว่าของจริง

















รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name: 80-81.2.1.jpg Views: 139 Size: 115.0 KB ID: 685935 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name: 84-85.2.jpg Views: 135 Size: 160.6 KB ID: 685939 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name: 86-87.1.jpg Views: 137 Size: 139.6 KB ID: 685940

คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name: 82-83.1.jpg Views: 118 Size: 175.0 KB ID: 685958 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name: 82-83.2.jpg Views: 117 Size: 164.7 KB ID: 686389 คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่  Name: 84-85.1.jpg Views: 70 Size: 175.2 KB ID: 686457

__________________
นัดวันร้อยผ้ากฐินที่ซอยสายลม ที่ตึกถวายสังฆทานชั้น 2ในวันที่ ๒๙, ๓๐ ส.ค. เวลา 11.00 โทร.. 0820909-432สองเดือนสุดท้ายที่เราจะนัดกัน สาธุ ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพทอดกฐินสร้างตึกฝึกกรรมฐานและผ้ากฐินสีเงินประดับคริสตัลวันที่ 24-25 ตุลาคม พ.ศ.2552ประกาศเลื่อนกฐินวัดป่าศิริสมบูรณ์ มาเป็น วันที่ 24-25ตุลาคม 2552 อีก2 เดือนผ้าห่มพระจะเสร็จแล้วนะครับผมทำบุญกันไว้เถิด บุญจะติดตามเราไปทุกภพทุกชาติจนกว่าจะนิพพาน สาธุ เครื่องวัดบารมี...โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำงานทอดกฐินที่วัดท่าซุง วันที่ ๑๗ ต.ค. เริ่มงานกฐิน วันที่ ๑๘ ต.ค. เวลาประมาณ ๑๓.๐๐ น. ถวายผ้ากฐิน
ที่ศาลา ๑๒ ไร่ เวลา ๑๗.๐๐ น. พระสงฆ์วัดท่าซุง กรานกฐินในอุโบสถ
นับถอยหลังสู่กฐินปีนี้ไปที่หลายจัง