การสร้างพระพุทธรูป
ผู้ถาม
หลวงพ่อคะ การสร้างพระพุทธรูป กับการถวายปัจจัย อย่างไหนมีอานิสงส์ดีกว่าค่ะ...?
หลวงพ่อ
การสร้างพระพุทธรูปจัดว่าเป็นพุทธบูชา ถ้าในเรื่องกรรมฐานจัดเป็นพุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าตายจากคนไปเกิดเป็นเทวดา มีรัศมีกายสว่างไสวมาก ถ้าถวายปัจจัยถวายเป็นของสงฆ์ จัดว่าเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา จัดเป็นจาคานุสสติกรรมฐาน เกิดมาชาติหน้าก็รวย การสร้างพระถวาย ด้วยอำนาจพุทธบูชาทำให้มีรัศมีกายมาก เป็นคนสวยตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "พุทธบุชา มหาเตชะวัณโต" "การบูชาพระพุทธเจ้ามีเดชอำนาจมาก" แต่ถ้ามีอำนาจแต่ขาดสตางค์ก็อดตายนะ ใช่ไหม.... แต่งตัวเป็นจอมพลแต่ไม่มีสตางค์ในกระเป๋า แย่นะ..... อีกแบบหนึ่ง มีสตางค์มาก ๆ แต่ขาดอำนาจราชศักดิ์ ก็โดนโจรปล้นอีก ฉะนั้นทำมันเสีย ๒ อย่างเลยดีไหม....?
ผู้ถาม
ดีค่ะ... แต่ได้ยินเขาว่า ถ้าสร้างพระพุทธรูปนี่ควรสร้างพระประธานจึงมีบุญมาก
หลวงพ่อ
ก็เขียนไว้ซิสร้างพระประธาน องค์เล็กองค์ใหญ่ก็เขียนไว้ ก็เป็นพระพุทธรูปเหมือนกัน เราสร้างก็ได้บุญแล้ว ใครไปโยนทิ้งก็ซวยเอง
ผู้ถาม
ถ้าหากว่าจะย้ายพระประธานไปบูชาเป็นพระประธานวัดอื่นจะได้ไหมค่ะ...?
หลวงพ่อ
เรื่องของบูชา สำหรับที่วัดนี้ถือว่าเขาถวายมาเพื่อบูชาตั้งอยู่ที่ใดก็ตามถ้าพระย้ายไปที่ อื่นนอกเขตถือว่าย้ายเจดีย์ ทางวินัยท่านปรับอาบัติ และถ้าของนั้นเขาถวายสงฆ์เขามีเจตนาเฉพาะจุดนั้น ถ้าเราเอาไปถือว่าขโมยของสงฆ์ อันดับแรกเขาลง บัญชีอเวจีไว้ก่อน ของสงฆ์นี่แม้แต่เศษกระเบื้องถ้านำไปก็ลงบัญชีอเวจีเลย
ผู้ถาม
หลวงพ่อเจ้าคะ การสร้างพระพุทธรูป ทำด้วยโลหะกับทำด้วยปูน อย่างไหนจะดีกว่ากัน เจ้าค่ะ....?
หลวงพ่อ
ถ้าเป็นเจตนาของฉันนะ ชอบให้ทำด้วยปูนมากกว่า ปั้นด้วยปูนแล้วปิดทอง เพราะอะไรรู้ไหม....... เพราะพระปูนไม่มีใครขโมย พระโลหะเผลอหน่อยเดียวคนตัดเศียรแล้ว ดีไม่ดีเอาไปทั้งองค์ ฉะนั้นปูนดีกว่า มีอานิสงส์เท่ากัน ราคาถูกกว่า ทนทานและรักษาง่ายกว่า
การสร้างพระพุทธรูปนี่เป็นพุทธบูชา เป็นพุทธานุสสติ ในกรรมฐาน ๔๐ กอง ท่านบอกว่ากำลังพุทธานุสสติ เป็นเหตุให้เข้าถึงนิพพานได้ง่ายที่สุด ง่ายกว่ากองอื่น ก็เห็นจะจริง เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านอยู่นิพพานนี่ และท่านก็เป็นต้นตระกูลของพระนิพพานใช่ไหม.... ทีนี้ถ้าเราต้องการสร้างให้สวยตามที่เราชอบ เห็นแล้วก็ทำให้จิตใจสดชื่น จิตมันก็นึกถึงพระอยู่เสมอ ถ้าจิตนึกถึงพระพุทธรูปองค์นั้นอยู่เสมอ ก็จัดเป็น พุทธานุสสติกรรมฐาน ถ้าใจเราเกาะพระพุทธเจ้าเป็นปกติ ตายแล้วลงนรกไม่เป็น ฉะนั้นถ้าหากโยมเห็นว่าพระที่ทำด้วยโลหะสวยกว่า ชอบมากกว่า โยมก็สร้างแบบนั้น
ผู้ถาม
หลวงพ่อคะ ถ้าหากว่าเราเดินไปเช่าตามร้านกับการจ้างเขาหล่อให้แล้วเททองเอง อานิสงส์จะได้เท่ากันไหมคะ...?
หลวงพ่อ
กุศลน้อยกว่าที่เขาทำสำเร็จแล้ว เพราะว่าเราต้องเหน็ดเหนื่อย ดีไม่ดีหัวเสีย ที่เขาทำเสร็จแล้วนะ เราก็เลือกดูเอาตามชอบใจ ใช่ไหมล่ะ วิธีการแบบนั้นไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรเลยนี่ ร้อนก็ร้อน เหนื่อยก็เหนื่อย บางทีไอ้ตัวร้อนตัวเหนื่อยนี่มันตัดเลย
ทำบุญทุกอย่าง ทำให้จิตสบาย กายสบาย อันนี้ถือว่ามีผลสูง ถวายสังฆทานนี่มีค่าสูงมาก การที่นิมนต์พระมาเลี้ยงข้าวที่บ้าน ๔-๕ องค์ อานิสงส์เป็นสังฆทานเหมือนกัน แต่ดีไม่ดีมันน้อยกว่าอย่างนี้ เพราะยุ่งกว่า ดีไม่ดีคนแกงบ้าง คนต้มบ้าง เราไม่ชอบใจก็โมโห ไอ้ตัวโมโหนี่แหละมันตัด ใช่ไหม.....?
ผู้ถาม
หลวงพ่อคะ ถ้าเรามีพระบูชาเราควรจะหันหน้าไปทางทิศไหนคะ....?
หลวงพ่อ
พระบูชาที่นิยมกัน เขาหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ถ้าหันไปทางทิศใต้ กับทิศตะวันตก สตางค์ไม่เหลือใช้ ลองดูก็ได
ผู้ถาม
เป็นเพราะเหตุใดคะ....?
หลวงพ่อ
อันนี้ฉันไม่รู้ละ รู้แต่ว่าสมัยหลวงพ่อปาน ถ้าลูกศิษย์ท่านหันหน้าพระพุทธไปทางทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ท่านบอกว่าควรหันไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือ
ผู้ถาม
แล้วอย่างพระพุทธรูปที่บอกว่ายังไม่เบิกพระเนตร หมายความว่าอย่างไรคะ...?
หลวงพ่อ
ถ้ายังไม่เบิกพระเนตร แสดงว่ายังไม่มีลูกตา พระองค์ไหนมีลูกตาแล้วพระองค์นั้นเบิกพระเนตรแล้ว ใช่ไหม...."(ผู้ถามหัวเราะ)
หลวงพ่อ
ฉันว่าเป็นเป็นพิธีสมัยก่อนโน้นละมั้ง คือเขาปั้นเป็น พระพุทธรูปแล้ว ยังไม่ได้ทำลูกตา เลยหาช่างมาทำลูกตามากกว่า เวลานี้ก็เลยเอาวิธีการนั้น พระที่วัดฉันไม่ต้องเบิกพระเนตร เห็นท่านมีตาทุกองค์ ใครเขาถามว่า เบิกพระเนตรหรือยัง...ฉันไม่ทำละ มีแล้วนี่ ควรจะเบิกเนตรเราให้ดีเท่าเนตรท่านดีกว่าใช่ไหม....?
ผู้ถาม
แล้วถ้าหากว่าเรามีพระพุทธรูป แต่พระเนตรท่านปิด อย่างนี้ต้องเบิกพระเนตรไหมคะ..?
หลวงพ่อ
เอาล่ะซิ ขืนไปเบิกเข้าตาท่านฉีกแน่ บาป ต่อไปชาติหน้าตาเหลือก
ผู้ถาม
(หัวเราะ) "คือท่านหลังตานั่งสมาธิค่ะ
หลวงพ่อ
เขาทำหลับตาก็ปล่อยให้หลับตา ทำสมาธิก็ต้องหลับตา ใช่ไหม......?
ผู้ถาม
แล้วอย่างทำพิธีหล่อพระ ต้องมีการอัญเชิญเทวดาให้มารักษาไหมคะ......?
หลวงพ่อ
เขาต้องมี ช่างเขาทำพิธีกรรมอยู่แล้ว
10/14/2009
บุญใดจะวิเศษยิ่งกว่าทำบุญกับพ่อแม่
บุญใดจะวิเศษยิ่งกว่าทำบุญกับพ่อแม่
คัดจากฐานิยปูชาปี ๒๕๔๑
ถ้าหากเราเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่เราไม่ดี เราไปตักบาตรพระล้านครั้ง
ไม่เท่าเรายื่นอาหารให้คุณพ่อคุณแม่เรารับประทานเพียงครั้งเดียว
คนเราในเมื่อเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ไม่ดี ไปเที่ยวหาเลี้ยงคนอื่นมันจะมีประโยชน์อะไร
บางทีเราทำกับข้าวส่งกลิ่นหอมฉุย ยายแก่ได้กลิ่น เดินมือไพล่หลัง หลังค่อมๆ
"อูย...น่ารับประทานจังเลย แม่ขอชิมหน่อยได้ไหม"
"ไม่ได้ๆ ฉันจะไปทำบุญ อย่ามายุ่ง ยายแก่นี่"
ตกนรกตายเลย นี่คือสูตรแห่งการทำบุญ
มาตาปิตุอุปัฏฐานัง เลี้ยงดูบิดามารดาให้ดี เอตัมมังคลมุตตมัง
เป็นมงคลอันสูงสุด
แม้แต่พวกภูติผีปีศาจยักโขอะไร เวลามันทะเลาะกันมันเถียงกัน
คำว่าท่านต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ใช่ไหม มันจะต้องถามกันเสมอ
พระปิตุลากับลักษมัณเถียงกัน ทีนี้พระปิตุลาหาว่าลักษมัณเด็กน้อยจองหอง
ถ้าไม่นึกสงสารจะฆ่ามันเสียเดี๋ยวนี้ ลักษมัณก็คว้าลูกศร
เราเป็นวรรณะกษัตริย์ ไม่เคยปฏิเสธคำท้าใคร
แต่ว่าเราเป็นวรรณะกษัตริย์
๑. ไม่ฆ่าสมณพราหมณ์ ๒. ไม่ฆ่าผู้หญิง ๓. ไม่ฆ่าโค
นี่เพราะประเพณีอันนี้มันบังคับเราอยู่ ไม่งั้นพระปิตุลาแหลกไปตรงนี้
แล้วท่านบำเพ็ญตบะเดชะ มีอิทธิฤทธิ์
ทำไมมีแต่ความโหดร้าย ทำไมไม่มีความดีสักหน่อยหนึ่ง
ท่านไม่เลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ของท่านหรืออย่างไร ลักษมัณต่อว่าคนแก่
เพราะฉะนั้น ทำบุญอันใดหนอจะไปวิเศษยิ่งกว่าทำบุญกับพ่อกับแม่
ที่มา...มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์
http://mahamakuta.inet.co.th/practice/mk732.html
ป้ายกำกับ:
บุญใดจะวิเศษยิ่งกว่าทำบุญกับพ่อแม่
ทำบุญกับขอทานขึ้นสวรรค์ ทำบุญกับพระอรหันต์ตกนรก
ผมได้รับฟังมาจากพระอาจารณ์อีกทีหนึ่งเห็นว่ามีประโยชน์เลยนำมาเล่าให้ฟังต่อแต่ก็ถูกลบไปนะครับ ก็ขอเล่าอีกทีนะครับ
เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลมีพระอรหันต์หนึ่งองค์ท่านก็ออกบิณฑบาตรทุกวันตาม กิจสงฆ์ของท่าน ชาวบ้านก็ใส่บาตรตามปกติทุกวันและมีขอทานคนหนึ่งออกเทียวขอทานตลอดเวลาชาว บ้านเห็นแล้วบ้างก็ให้ทานบ้างก็ไม่ให้ตามแต่ใจของแต่ละคน ต่อมาขอทานคนนี้ได้เห็นพระอริยสงฆ์อรหันต์ออกบิณฑบาตรชาวบ้านใส่บาตรกันมาก มาย ขอทานจึงมีความคิดว่าเราจะปลอมเป็นพระสงฆ์เพื่อหวังผลคือลาภสักการะไม่ต้อง เที่ยวขอทานอีก จึงได้ไปโกนหนวดโกนหัวโกนเคราแล้วนำจีวรมาห่มปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เที่ยวออก บิณฑบาตร ชาวบ้านไม่รู้เลยพากันใส่บาตรให้ ด้วยตนเป็นขอทานปลอมตัวมาด้วยความกลัวว่าชาวบ้านจะจับได้จึงสำรวมเป็นที่สุด ชาวบ้านเห็นพระสำรวมคิดว่าเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจึงเกิดศรัทธาเลื่อมใส กันใหญ่ ต่อมาพระอรหันต์องค์จริงได้ออกบิณฑบาทตามปกติเนื่องจากท่านเป็นพระอรหันต์ แล้วหมดสิ้นกิเลสตัณหาแล้วท่านก็เดินบิณฑบาตรตามปกติชาวบ้านก็ใส่บาตรให้ พอใส่บาตรเสร็จก็ปากเสียไปด่าพระอรหันต์ว่า พระอะไรไม่สำรวมเลย สู้พระอีกองค์ไม่ได้ (หมายถึงขอทานปลอมตัวมา)สำรวมกว่าอีก เมื่อเวลาผ่านไปชาวบ้านได้สิ้นชีวิตลง ชาวบ้านที่ใส่บาตรพระอรหันต์ได้ไปเกิดในนรกเนื่องเพราะปากเสียไปด่าพระ อรหันต์เข้า ส่วนชาวบ้านที่ใส่บาตรทำบุญกับขอทานได้ไปสวรรค์เพราะทำบุญด้วยจิตศรัทธาอัน บริสุทธิ์นิทานเรื่องนี้มีข้อคิดหลายอย่างมากอยู่ที่ปัญญาของแต่ละท่านว่าจะ คิดยังไงก็แล้วแต่ครับแต่ผมชอบนิทานเรื่องนี้มากเพราะทำให้ผมใหว้พระด้วยจิต ศรัทธาโดยไม่สนใจว่าท่านจะเป็นยังไงกรรมใครกรรมมันครับใครทำอย่างใดได้ยัง งั้นเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันชอบนิทาพระว่า องค์นี้เป็นยังงี้องค์นั้นเป็นยังงั้น ระวังนะครับนรกรออยู่ครับ สาธุ
เรื่องจากธรรมบท อปุตตกเศรษฐี
........ ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี มีเศรษฐีผู้หนึ่งไร้ความศรัทธา ทั้งตระหนี่เหนียวแน่นแสนหนักหนา อยู่มาวันหนึ่งเมื่อเศรษฐีจะไปเข้าเฝ้าพระราชา ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า ตครสิขี กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ เกิดใจดี จึงสั่งคนรับใช้ให้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า ไปรับอาหารที่บ้านของตน แล้วรีบรุดไปเฝ้าพระราชา ส่วนคนรับใช้นั้น เมื่อนำพระปัจเจกพุทธเจ้าไปถึงเรือนของเศรษฐีแล้วจึงบอกกับภรรยาเศรษฐีตามคำ สั่งที่ได้รับมาทุกประการ
ฝ่ายภรรยาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการทำบุญ อยู่แล้ว พอได้ยินคำนั้นก็ดีใจว่า " เป็นเวลานานทีเดียว กว่าที่เราได้ยินคำว่า ทำบุญถวายทาน จากปากของเศรษฐี ความตั้งใจของเราจะเต็มเปี่ยมในวันนี้ เราจักได้ถวายทาน " นางจึงรีบจัดแจงโภชนาหารอันประณีตครบทุกอย่าง แล้วได้ถวายอาหารอันประณีตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าพอรับอาหารแล้วก็เดินจากไป ด้วยสีหน้าเบิกบานผ่องใสเป็นปกติ
เศรษฐีครั้นเฝ้าพระราชากลับมาแล้ว ได้สวนทางกับพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มีความเข้าใจว่าท่านคงรับบิณฑบาตที่บ้านตนมาแล้ว จึงดูยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้สงสัยว่าจะต้องมีอาหารอะไรพิเศษแน่ ว่าแล้วก็ขอดูในบาตร ครั้นเห็นอาหารในบาตรมีความประณีตมาก จึงเกิดความร้อนใจเสียดายขึ้นมา แล้วคิดในใจว่า " ให้พวกทาสหรือกรรมกรกินอาหารนี้ยังดีกว่า เพราะพวกเขากินแล้วจะทำการงานให้เราได้ ส่วนสมณะนี้เมื่อบริโภคอาหารอันประณีตนี้แล้วก็มิได้ทำการงานใด อาหารที่เราถวายไปจะเปล่าประโยชน์ " เมื่อคิดอย่างนี้จึงไม่อาจจะรักษาเจตนาระยะสุดท้ายให้บริบูรณ์ได้
....... อีกคราวหนึ่ง เศรษฐีได้ฆ่าหลานชายคนหนึ่งของตน ( พ่อของหลานชายเป็นพี่ชายได้ไปบวชเป็นดาบส )เพราะความโลภในสมบัติ เนื่องจากหลายชายชอบพูดว่า " ยานพาหนะนี้เป็นของพ่อฉัน โคนี้เป็นของอา "พอเศรษฐีได้ยินคำนี้จึงโกรธ เกิดความริษยาและคิดว่า " ตอนนี้หลานยังเล็กอยู่ ยังพูดถึงขนาดนี้ ถ้าโตขึ้นจะไม่พูดถึงสมบัติยิ่งกว่านี้หรือ " จึงลวงหลานไปในป่า แล้วฆ่าทิ้งเสีย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าบุพกรรมนี้ให้แก่พระเจ้า ปเสนทิโกศลทราบ แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่เศรษฐีได้ถวายบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทำให้ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๗ ครั้ง และผลที่เป็นเศษกรรมทำให้เข้าถึงความเป็นเศรษฐี ๗ ครั้ง
ผลกรรมที่ ถวายทานแล้วร้อนใจ เสียดายในภายหลัง ( กระแสกิเลสบังคับใจให้คิดตระหนี่ถี่เหนียว ) ทำให้จิตใจของเศรษฐีนั้นไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหาร เพื่อใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อใช้ยานพาหนะ เพื่อความสุขสบายอย่างเต็มที่ ( คือไม่สามารถใช้สมบัติที่ตนมีอยู่ได้อย่างเต็มที่ และความสุขที่จะได้จากสมบัตินั้นก็ไม่เต็มบริบูรณ์ )
ด้วยกรรมที่ เศรษฐีนั้นฆ่าหลานชายจึงเข้าถึงอบายภูมิเป็นเวลานาน ผลที่เป็นเศษกรรมทำให้ถูกยึดสมบัติเข้าพระคลังหลวง ดูก่อนมหาบพิตร ด้วยว่าบุญเก่าของเศรษฐีหมดแล้ว และบุญใหม่ก็ไม่ได้สั่งสมไว้ดังนั้นในวันนี้เศรษฐีนั้นจึงยังอยู่ในมหาโรรุ วนรก "
พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร บุคคลผู้มีปัญญาทรามได้โภคะแล้ว ย่อมไม่แสวงหาพระนิพพาน อนึ่ง ตัณหาเกิดขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นตลอดกาลนาน "
.......ฉะนั้นบุญที่ได้ถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ มีองค์แห่งผู้รับครบทั้ง ๓ ประการแล้ว
ถ้าผู้ให้รักษาเจตนา ๓ ได้ครบด้วย จะเกิดผลบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้ และบุญส่งต่อไปให้มีความสุข
ต่อเนื่องตลอดไป ดังเรื่องที่เล่านี้ เศรษฐีได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเนื้อนาบุญที่เลิศ ที่บริสุทธิ์ แต่ไม่รักษา
เจตนาให้บริบูรณ์ โดยเฉพาะเจตนาระยะสุดท้าย คือ เกิดความร้อนใจ เสียดายทรัพย์ ไม่สามารถตัดความตระหนี่
ขาดจากใจ บุญจึงหกหล่นไป ส่งผลไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มที่ และบุญที่จะส่งต่อเกื้อกูลให้ทำความดียิ่งๆ ขึ้นไปก็ไม่มี
ทั้งยังมีใจที่โลภ ริษยา จึงเป็นเหตุให้ฆ่าหลานชาย และต้องตกนรกไปในที่สุด
เมื่อครั้งสมัยพุทธกาลมีพระอรหันต์หนึ่งองค์ท่านก็ออกบิณฑบาตรทุกวันตาม กิจสงฆ์ของท่าน ชาวบ้านก็ใส่บาตรตามปกติทุกวันและมีขอทานคนหนึ่งออกเทียวขอทานตลอดเวลาชาว บ้านเห็นแล้วบ้างก็ให้ทานบ้างก็ไม่ให้ตามแต่ใจของแต่ละคน ต่อมาขอทานคนนี้ได้เห็นพระอริยสงฆ์อรหันต์ออกบิณฑบาตรชาวบ้านใส่บาตรกันมาก มาย ขอทานจึงมีความคิดว่าเราจะปลอมเป็นพระสงฆ์เพื่อหวังผลคือลาภสักการะไม่ต้อง เที่ยวขอทานอีก จึงได้ไปโกนหนวดโกนหัวโกนเคราแล้วนำจีวรมาห่มปลอมตัวเป็นพระสงฆ์เที่ยวออก บิณฑบาตร ชาวบ้านไม่รู้เลยพากันใส่บาตรให้ ด้วยตนเป็นขอทานปลอมตัวมาด้วยความกลัวว่าชาวบ้านจะจับได้จึงสำรวมเป็นที่สุด ชาวบ้านเห็นพระสำรวมคิดว่าเป็นพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจึงเกิดศรัทธาเลื่อมใส กันใหญ่ ต่อมาพระอรหันต์องค์จริงได้ออกบิณฑบาทตามปกติเนื่องจากท่านเป็นพระอรหันต์ แล้วหมดสิ้นกิเลสตัณหาแล้วท่านก็เดินบิณฑบาตรตามปกติชาวบ้านก็ใส่บาตรให้ พอใส่บาตรเสร็จก็ปากเสียไปด่าพระอรหันต์ว่า พระอะไรไม่สำรวมเลย สู้พระอีกองค์ไม่ได้ (หมายถึงขอทานปลอมตัวมา)สำรวมกว่าอีก เมื่อเวลาผ่านไปชาวบ้านได้สิ้นชีวิตลง ชาวบ้านที่ใส่บาตรพระอรหันต์ได้ไปเกิดในนรกเนื่องเพราะปากเสียไปด่าพระ อรหันต์เข้า ส่วนชาวบ้านที่ใส่บาตรทำบุญกับขอทานได้ไปสวรรค์เพราะทำบุญด้วยจิตศรัทธาอัน บริสุทธิ์นิทานเรื่องนี้มีข้อคิดหลายอย่างมากอยู่ที่ปัญญาของแต่ละท่านว่าจะ คิดยังไงก็แล้วแต่ครับแต่ผมชอบนิทานเรื่องนี้มากเพราะทำให้ผมใหว้พระด้วยจิต ศรัทธาโดยไม่สนใจว่าท่านจะเป็นยังไงกรรมใครกรรมมันครับใครทำอย่างใดได้ยัง งั้นเป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนเพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ในปัจจุบันชอบนิทาพระว่า องค์นี้เป็นยังงี้องค์นั้นเป็นยังงั้น ระวังนะครับนรกรออยู่ครับ สาธุ
เรื่องจากธรรมบท อปุตตกเศรษฐี
........ ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี มีเศรษฐีผู้หนึ่งไร้ความศรัทธา ทั้งตระหนี่เหนียวแน่นแสนหนักหนา อยู่มาวันหนึ่งเมื่อเศรษฐีจะไปเข้าเฝ้าพระราชา ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า ตครสิขี กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ เกิดใจดี จึงสั่งคนรับใช้ให้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า ไปรับอาหารที่บ้านของตน แล้วรีบรุดไปเฝ้าพระราชา ส่วนคนรับใช้นั้น เมื่อนำพระปัจเจกพุทธเจ้าไปถึงเรือนของเศรษฐีแล้วจึงบอกกับภรรยาเศรษฐีตามคำ สั่งที่ได้รับมาทุกประการ
ฝ่ายภรรยาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในการทำบุญ อยู่แล้ว พอได้ยินคำนั้นก็ดีใจว่า " เป็นเวลานานทีเดียว กว่าที่เราได้ยินคำว่า ทำบุญถวายทาน จากปากของเศรษฐี ความตั้งใจของเราจะเต็มเปี่ยมในวันนี้ เราจักได้ถวายทาน " นางจึงรีบจัดแจงโภชนาหารอันประณีตครบทุกอย่าง แล้วได้ถวายอาหารอันประณีตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นั้น ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าพอรับอาหารแล้วก็เดินจากไป ด้วยสีหน้าเบิกบานผ่องใสเป็นปกติ
เศรษฐีครั้นเฝ้าพระราชากลับมาแล้ว ได้สวนทางกับพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น มีความเข้าใจว่าท่านคงรับบิณฑบาตที่บ้านตนมาแล้ว จึงดูยิ้มแย้มแจ่มใส ทำให้สงสัยว่าจะต้องมีอาหารอะไรพิเศษแน่ ว่าแล้วก็ขอดูในบาตร ครั้นเห็นอาหารในบาตรมีความประณีตมาก จึงเกิดความร้อนใจเสียดายขึ้นมา แล้วคิดในใจว่า " ให้พวกทาสหรือกรรมกรกินอาหารนี้ยังดีกว่า เพราะพวกเขากินแล้วจะทำการงานให้เราได้ ส่วนสมณะนี้เมื่อบริโภคอาหารอันประณีตนี้แล้วก็มิได้ทำการงานใด อาหารที่เราถวายไปจะเปล่าประโยชน์ " เมื่อคิดอย่างนี้จึงไม่อาจจะรักษาเจตนาระยะสุดท้ายให้บริบูรณ์ได้
....... อีกคราวหนึ่ง เศรษฐีได้ฆ่าหลานชายคนหนึ่งของตน ( พ่อของหลานชายเป็นพี่ชายได้ไปบวชเป็นดาบส )เพราะความโลภในสมบัติ เนื่องจากหลายชายชอบพูดว่า " ยานพาหนะนี้เป็นของพ่อฉัน โคนี้เป็นของอา "พอเศรษฐีได้ยินคำนี้จึงโกรธ เกิดความริษยาและคิดว่า " ตอนนี้หลานยังเล็กอยู่ ยังพูดถึงขนาดนี้ ถ้าโตขึ้นจะไม่พูดถึงสมบัติยิ่งกว่านี้หรือ " จึงลวงหลานไปในป่า แล้วฆ่าทิ้งเสีย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าบุพกรรมนี้ให้แก่พระเจ้า ปเสนทิโกศลทราบ แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่เศรษฐีได้ถวายบิณฑบาตแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ทำให้ได้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๗ ครั้ง และผลที่เป็นเศษกรรมทำให้เข้าถึงความเป็นเศรษฐี ๗ ครั้ง
ผลกรรมที่ ถวายทานแล้วร้อนใจ เสียดายในภายหลัง ( กระแสกิเลสบังคับใจให้คิดตระหนี่ถี่เหนียว ) ทำให้จิตใจของเศรษฐีนั้นไม่น้อมไปเพื่อบริโภคอาหาร เพื่อใช้เครื่องนุ่งห่ม เพื่อใช้ยานพาหนะ เพื่อความสุขสบายอย่างเต็มที่ ( คือไม่สามารถใช้สมบัติที่ตนมีอยู่ได้อย่างเต็มที่ และความสุขที่จะได้จากสมบัตินั้นก็ไม่เต็มบริบูรณ์ )
ด้วยกรรมที่ เศรษฐีนั้นฆ่าหลานชายจึงเข้าถึงอบายภูมิเป็นเวลานาน ผลที่เป็นเศษกรรมทำให้ถูกยึดสมบัติเข้าพระคลังหลวง ดูก่อนมหาบพิตร ด้วยว่าบุญเก่าของเศรษฐีหมดแล้ว และบุญใหม่ก็ไม่ได้สั่งสมไว้ดังนั้นในวันนี้เศรษฐีนั้นจึงยังอยู่ในมหาโรรุ วนรก "
พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร บุคคลผู้มีปัญญาทรามได้โภคะแล้ว ย่อมไม่แสวงหาพระนิพพาน อนึ่ง ตัณหาเกิดขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นตลอดกาลนาน "
.......ฉะนั้นบุญที่ได้ถวายทานกับพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ มีองค์แห่งผู้รับครบทั้ง ๓ ประการแล้ว
ถ้าผู้ให้รักษาเจตนา ๓ ได้ครบด้วย จะเกิดผลบุญอย่างจะนับจะประมาณไม่ได้ และบุญส่งต่อไปให้มีความสุข
ต่อเนื่องตลอดไป ดังเรื่องที่เล่านี้ เศรษฐีได้พบพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเนื้อนาบุญที่เลิศ ที่บริสุทธิ์ แต่ไม่รักษา
เจตนาให้บริบูรณ์ โดยเฉพาะเจตนาระยะสุดท้าย คือ เกิดความร้อนใจ เสียดายทรัพย์ ไม่สามารถตัดความตระหนี่
ขาดจากใจ บุญจึงหกหล่นไป ส่งผลไม่บริบูรณ์ ไม่เต็มที่ และบุญที่จะส่งต่อเกื้อกูลให้ทำความดียิ่งๆ ขึ้นไปก็ไม่มี
ทั้งยังมีใจที่โลภ ริษยา จึงเป็นเหตุให้ฆ่าหลานชาย และต้องตกนรกไปในที่สุด
วิธีที่จะเอาเงินที่ถูกยืมไป คืนมา (สมเด็จพระญาณสังวรฯ
ท่านพระอาจารย์ ฝั้น อาจาโร แห่งวัดถ้ำขาม สกลนคร เคยเล่าให้ศิษยานุศษย์ฟังว่า ศิษย์ผู้หนึ่งของท่านมีความทุกข์ใจมาก เพราะถูกขอยืมเงินไปสองแสนบาท ซึ่งในเวลากว่า ๒๐ ปี มาแล้วนับว่าจำนวนมาก สัญญาว่าจะใช้คืนเมื่อนั้นเมื่อนี้
แต่ถึงเวลาแล้วก็ไม่ได้คืน จำเป็นต้องใช้ ไปขอคืนก็ปฏิเสธบิดพริ้วต่างๆ นานา เจ้าของเงินจำเป็นต้องใช้จริงๆ แต่ก็ไม่สามารถขอคืนได้ ได้อ้อนวอนขอให้ท่านอาจารย์ท่านช่วยภาวนาให้ได้เงินคืน เพราะจำเป็นต้องใช้จริงๆ ไม่ได้คืนต้องแย่แน่
ท่านอาจารย์ท่านได้เล่าว่า ท่านช่วยอะไรไม่ได้หรอก นอกจากจะบอกให้วิธีให้ช่วยตัวเอง ทำเองตามท่านบอกแล้วจะได้เงินจำนวนนั้นคืนแน่ และท่านก็บอกวิธีให้เขา เขาก็ทำตามและเขาก็ได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ให้ยืมไป
วิธีท่านอาจารย์ฝั้นท่านบอกศิษย์ของท่านเพื่อให้ได้เงินคืนก็คือ ทุกครั้งที่สวดมนต์ไหว้พระแล้ว ให้อธิษฐานจิตขอให้ผู้เป็นลูกหนี้นำเงินจำนวนนั้นมาคืนเถิด อธิษฐานจิตให้แน่วแน่ แล้วก็หยุดความคิดถึงเงินนั้นให้เด็ดขาดไป เพ่งจิตไปที่คำภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ นั้นเอง
ภาวนาไปเรื่อยๆ จะกี่วันกี่เดือนกี่ปี แล้วแต่จิตของเขาจะรวมได้เมื่อไร ก็เมื่อนั้นจะได้เงินคืนตามจำนวนที่เขาขอยืมไป ท่านอาจารย์เล่าว่าวันสองวันเท่านั้นศิษย์ของท่านก็ทำสำเร็จ เขามาหาท่านอย่างยิ้มแย้มแช่มชื่นมีความสุขและเล่าให้ท่านฟังว่า เขาได้เงินสองแสนที่ให้ยืมไปกลับคืนครบถ้วนแล้ว หลังจากทำตามที่ท่านอาจารย์สอน
ท่านบอกว่าเขาเล่าว่า เมื่อเขาอธิษฐานแล้วก็หยุดคิดถึงเงิน หยุดคิดถึงคำอธิษฐาน ตั้งใจภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ เท่านั้น จนกระทั่งวันที่ ๒ หรือวันที่ ๓ ต่อมา จิตก็สงบ เกิดความสว่างไสวและลูกหนี้ก็นำเงินมาใช้คืนให้ครบถ้วน ไม่บิดพริ้วอีกต่อไป
เขาก็ได้ใช้เงินนั้นสบายใจ ไม่เดือดร้อนอีกต่อไป ท่านอาจารย์ท่านเบิกบานแจ่มใสเมื่อสอนศิษย์ต่อไปว่า ให้พากันช่วยตัวเองตามวิธีง่ายๆ ที่ท่านแนะนำเถิด จะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องเงินขาดอีกต่อไป
: แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๓
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
__________________แต่ถึงเวลาแล้วก็ไม่ได้คืน จำเป็นต้องใช้ ไปขอคืนก็ปฏิเสธบิดพริ้วต่างๆ นานา เจ้าของเงินจำเป็นต้องใช้จริงๆ แต่ก็ไม่สามารถขอคืนได้ ได้อ้อนวอนขอให้ท่านอาจารย์ท่านช่วยภาวนาให้ได้เงินคืน เพราะจำเป็นต้องใช้จริงๆ ไม่ได้คืนต้องแย่แน่
ท่านอาจารย์ท่านได้เล่าว่า ท่านช่วยอะไรไม่ได้หรอก นอกจากจะบอกให้วิธีให้ช่วยตัวเอง ทำเองตามท่านบอกแล้วจะได้เงินจำนวนนั้นคืนแน่ และท่านก็บอกวิธีให้เขา เขาก็ทำตามและเขาก็ได้รับเงินคืนตามจำนวนที่ให้ยืมไป
วิธีท่านอาจารย์ฝั้นท่านบอกศิษย์ของท่านเพื่อให้ได้เงินคืนก็คือ ทุกครั้งที่สวดมนต์ไหว้พระแล้ว ให้อธิษฐานจิตขอให้ผู้เป็นลูกหนี้นำเงินจำนวนนั้นมาคืนเถิด อธิษฐานจิตให้แน่วแน่ แล้วก็หยุดความคิดถึงเงินนั้นให้เด็ดขาดไป เพ่งจิตไปที่คำภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ นั้นเอง
ภาวนาไปเรื่อยๆ จะกี่วันกี่เดือนกี่ปี แล้วแต่จิตของเขาจะรวมได้เมื่อไร ก็เมื่อนั้นจะได้เงินคืนตามจำนวนที่เขาขอยืมไป ท่านอาจารย์เล่าว่าวันสองวันเท่านั้นศิษย์ของท่านก็ทำสำเร็จ เขามาหาท่านอย่างยิ้มแย้มแช่มชื่นมีความสุขและเล่าให้ท่านฟังว่า เขาได้เงินสองแสนที่ให้ยืมไปกลับคืนครบถ้วนแล้ว หลังจากทำตามที่ท่านอาจารย์สอน
ท่านบอกว่าเขาเล่าว่า เมื่อเขาอธิษฐานแล้วก็หยุดคิดถึงเงิน หยุดคิดถึงคำอธิษฐาน ตั้งใจภาวนา พุทโธ พุทโธ พุทโธ เท่านั้น จนกระทั่งวันที่ ๒ หรือวันที่ ๓ ต่อมา จิตก็สงบ เกิดความสว่างไสวและลูกหนี้ก็นำเงินมาใช้คืนให้ครบถ้วน ไม่บิดพริ้วอีกต่อไป
เขาก็ได้ใช้เงินนั้นสบายใจ ไม่เดือดร้อนอีกต่อไป ท่านอาจารย์ท่านเบิกบานแจ่มใสเมื่อสอนศิษย์ต่อไปว่า ให้พากันช่วยตัวเองตามวิธีง่ายๆ ที่ท่านแนะนำเถิด จะได้ไม่เดือดร้อนเรื่องเงินขาดอีกต่อไป
: แสงส่องใจ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๓
: สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
คนอยากสุข
เทียบอานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )
โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
ทาน
การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิต ของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ
องค์ประกอบข้อที่ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"
วัตถุ ทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ
ตัวอย่าง ๑ ได้ มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือ เนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย
ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะที่ไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ ด้วยนำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคโดยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างไร สมัยหนึ่งในรัชการที่ ๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อ "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแก ทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็น วิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะว่าเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูก ๆ แต่มาขายแพงจนเกินส่วนนั้น ย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน
วัตถุ ทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลว ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่
องค์ประกอบข้อที่ ๒. "เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์"
การ ให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส" และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย เมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น
ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ
(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังมือให้ทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตใจโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้น เมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
เจตนาบริสุทธิ์ ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากเมตตาจิต ที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์ และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาบริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ยิ่ง ๆ บริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ใดให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยการวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความ โลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านตั้งแต่ก่อนนั้น ได้ล้มหายตายจากไปแล้วทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลยจนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึง เรา ให้เราได้กินได้ใช้ไดยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จึงนับว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลงนับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราได้ถาวรได้ตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ต้องอยูในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็แก่เฒ่าและตายไปใน ที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง
เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็ยังมีข้ออันควรระวังอยู่ก็คือ "การทำทานนั้นอย่าได้เบียดเบียนตนเอง" เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มาก ๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้วตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะว่าไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ
ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่า "ทำทานด้วยความโลภ" ไม่ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ๆได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ
ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียหาย เช่นทีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้างแต่มีทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งก็นึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมาก ๆ จนเกิดโทสะจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป
ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะว่าอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะว่าหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้รำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ทำทาน ๑๐๐ บาท แต่ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากและหนาขึ้นก็คือ"ความโลภ"
ผล หรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วง เมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญเติบโตและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนัก ย่อมน้อมนำให้เกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมากก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง ประกอบกับไม่มีอกุศลกรรมอื่นแทรกให้ผลก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดในมนุษย์อีก ครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยมั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ
แต่จะมั่งคั่งร่ำรวยในวัยใดก็ย่อมแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อน ๆ จะส่งผล คือ
๑. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูนสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันทั้ง ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้นโดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหน ทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆแต่ก็ยังฝืนใจทำทานไปเพราะเสียไม่ได้หรือเพราะ ตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆแม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่ อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัย ชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้นแต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งเจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคนและจนปัจฉิมวัย
๒. ร่ำรวยในวัยกลางคนการที่ร่ำรวยในวัยกลางคนนั้น สืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อนแต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่าเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่ นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรื่อง และหากเจตนาในการทำทานได้งามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้นย่อมส่งผลรุ่งเรื่องตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลังส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลาชีวิต
๓. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่น ทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียมิได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้วต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริง ยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนข้นแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วง วัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบกับความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการนั้นเจริญรุ่งเรื่องทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริง ๆ ของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก
องค์ประกอบข้อที่ ๓. "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"
คำว่า "เนื้อนาบุญ" ในที่นี่ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล
เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ
แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์)
และผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป้นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ" หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่าง ๆ
ฉะนั้นในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้นคติโบราณที่กล่าวว่า "ทำบุญอย่าถามพระ หรือ ตักบาตรอย่าเลือกพระ" เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะว่าในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผลและนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ "บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน" ธรรมวินัยใดๆท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปัญหาว่า
ทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อ นี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งสลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อน ๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้ วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉานแม้ จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญ ที่ดี
๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัยแม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
พระ ด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระ ที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ "พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า" และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์แม้ จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)
๗. ถวายทานแก่พระโสดาบันแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้ จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ ร่วมกัน" อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น "โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ" ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน
๑๔. การถวายวิหารทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ"
๑๕. การให้ธรรมทานแม้ จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะ เป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
อย่าง ไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน
ป้ายกำกับ:
เทียบอานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน,
ภาวนา ),
ศีล
" เมตตา แผ่ให้ได้ผล "
พุทธศาสตร์ศึกษาโดยวิธีอุปมาอุปมัย
เรื่อง "วิธีทำบุญให้ได้ผลที่สุด" (ตอนที่ ๕ การแผ่เมตตา)
พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
ข้อปฏิบัติประการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ของผู้ที่ปฏิบัติธรรม หลังจากการสวดมนต์ภาวนา และปฏิบัติกัมมัฏฐานแล้ว คือ "การสวดแผ่เมตตา" ซึ่งมีบทสวดเป็นภาษาบาลีที่อ่านเป็นไทยได้ว่า "สัพ เพ สัตตา สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ" แปลเป็นไทยได้ว่า "สัตว์โลกทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น จงอย่ามีเวรซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด จงอย่าพยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอย่ามีความลำบาก จงอย่ามีความเดือดร้อน จงอย่ามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย"
การสวดแผ่เมตตานี้เป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่งจัดอยู่ในประเภท "การทำทาน" ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๒ และเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยให้เจตสิกของท่านผู้นั้นได้รับการฝึกและพัฒนา เกิดเป็น "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่เฝ้าคอยกระตุ้นจิตให้ระลึก มีอารมณ์มีความสงสารเห็นใจผู้ที่กำลังได้รับทุกข์เวทนา มีความอยากที่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์ที่กำลังได้รับอยู่ หรือ กำลังจะได้รับ ไม่นิ่งดูดายต่อทุกข์ของผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เขาได้รับทุกข์กาย ทุกข์ใจ อยู่เป็นประจำ "อัปปมัญญาเจตสิก" นี้เป็นเจตสิกหนึ่งในกลุ่ม "โสภณเจตสิก" ซึ่งเป็นเจตสิกฝ่ายกุศลที่คอยกระตุ้นให้จิตเป็นกุศลระลึกแนบแน่นอยู่กับความ ดีงาม ปราศจากความเร่าร้อน ตั้งอยู่ในศีลธรรม เว้นจากการกระทำบาป ทุจริตต่างๆ อยู่ตลอดเวลา สามารถประหาร "โลภเจตสิก" ที่คอยกระตุ้นให้จิตมีตัณหาอารมณ์มีความกระหายทะเยอทะยาน อยากได้อยากเป็น ได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้เกิดกุศลเจตนาขึ้น ตั้งใจประกอบแต่กุศลกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว
คำ ว่า "เมตตา" หมายถึง ไมตรี ความรัก ความปรารถนาดี ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ความใส่ใจ หรือต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมตตา จัดเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และเจรจากันด้วยเหตุด้วยผล ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว มีอคติ คือ ความโกรธ ความเกลียด เป็นที่ตั้ง
การแสดงความเมตตา หรือ การแผ่เมตตานี้ เป็นธรรมชาติ หรือคุณสมบัติพื้นฐานของจิตมนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ ประเสริฐอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่เป็นโรคทางจิต คลุ้มคลั่งจนไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะของตนได้ หรือ มีจิตโหดเหี้ยมที่สุดจนไม่อาจจะสมมุตินามของผู้นั้นได้ว่า เป็นมนุษย์ จะต้องมีการแสดงความเมตตาออกทางจิตอยู่เป็นประจำ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกิเลสสันดานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เพียงแต่เจ้าตัวมิได้สังเกตจดจำไว้เท่านั้น อาทิ วันไหนที่มีอารมณ์ดี เจ้าตัวจะยินดีพอใจที่จะกล่าวทักทายปราศรัยกับเพื่อนบ้าน หยอกล้อกับสัตว์เลี้ยงมากเป็นพิเศษ หรือ บางครั้ง ขับรถจะไปทำงาน เปิดวิทยุในรถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียง จส.๑๐๐ หรือ สวพ.๙๑ ได้ทราบข่าว รถบัสแสวงบุญประสบอุบัติเหตุตกเหวระหว่างเดินทาง มีผู้โดยสารบาดเจ็บ ล้มตายเป็นเรือนร้อย "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกสลดใจ สมเพช สงสารในทุกข์เวทนาของบุคคลเหล่านั้นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
ธรรมชาติ ของจิตในเรื่องความเมตตานี้ หากกล่าวในเชิงอุปมา ก็เปรียบได้กับต้นไม้ผล หรือต้นไม้ดอก ซึ่งต่อไปจะเรียกวา "ต้นเมตตา" ที่ได้เจริญเติบโตขึ้นมาโดยธรรมชาติ ปราศจากเจ้าของที่หมั่นเฝ้าดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ เมื่อถึงฤดูกาล ต้นเมตตาก็จะให้ผล หรือให้ดอก ผลิบานสุกงอม แล้วก็ร่วงหล่นลงดินเป็นอาหารของนก กา กระรอก หรือสัตว์อื่นๆ โดยที่ มิได้บังเกิดประโยชน์แก่เจ้าของต้นเมตตานั้นแต่อย่างใด เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจากต้นเมตตาไม่ว่าจะเป็นดอก หรือผลนี้ ย่อมจะไม่สมบูรณ์ได้ทัดเทียมกับต้นเมตตาที่เจ้าของเอาใจใส่ หมั่นดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ อยู่เป็นประจำ เมื่อใดก็ตาม ที่เจ้าของได้เอาใจใส่รดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย ต้นเมตตานั้นย่อมจะเจริญเติบใหญ่ มีลำต้นอวบใหญ่แข็งแรง มีรากแก้วงอกยาวฝังลึกลงไปในดิน ยึดแน่นจนยากที่จะโค่นล้มได้ ดอก หรือผลของต้นเมตตาก็จะมีขนาดใหญ่ มีคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น สี หรือ รส จัดเป็นผลผลิตที่อำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของได้อย่างแท้จริง
จึง กล่าวได้ว่า "เมตตา" นี้เป็นหลักธรรมประจำใจของแต่ละบุคคล และเป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน หรือ ที่เรียกว่า "สารณียธรรม" ซึ่งสามารถแสดงออกได้ทั้งทางกาย คือ "เมตตากายกรรม" ได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อเห็นคนยืนตากแดดรอจะข้ามถนน เราหยุดรถให้เขาข้ามถนน การแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน เช่น เมื่อมีคนหยุดรถให้เราข้ามถนน เราแสดงกิริยาขอบคุณ เคารพในน้ำใจดีของเขาด้วยการน้อมศีรษะ ส่งยิ้มให้ เป็นต้น ทางวาจา คือ "เมตตาวจีกรรม" ได้แก่ การมีวาจาที่อ่อนหวานสุภาพ สอบถามสารทุกข์สุกดิบ บอกแจ้งแนะนำ กล่าวคำตักเตือนด้วยความหวังดี และจริงใจ และทางความคิดต่อกัน คือ "เมตตามโนกรรม" ได้แก่ การมองกันในแง่ดี มีความปรารถนาดี มีความหวังดี มีความสงสาร มีความเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ คิดทำประโยชน์ให้มีความสุข
เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นการยืนยันว่า การแสดงความเมตตาไม่ว่าจะโดยทางกาย วาจา หรือ ทางใจนั้น มิใช่เป็นข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากลำบากเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตของมนุษย์อยู่แล้ว เพียงแต่เราให้ความสนใจหมั่นทำนุบำรุง ฝึกฝน บริหาร เฝ้ากระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกว่า จะต้องถือปฏิบัติเป็นกิจประจำวันเพื่อให้เป็นนิสัยที่จะขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับการ ตื่นนอนในตอนเช้า จะต้องเข้าห้องน้ำ ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ แปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ ฯลฯ "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ยากที่จะลบล้างให้หมดสิ้นไป เช่นเดียวกับการตอกตะปูลงไปในเนื้อไม้ ตอกวันแรก ตะปูจะฝังลงไปในเนื้อไม้เพียงเล็กน้อย จึงไม่เป็นการยากที่จะถอนดึงตะปูนั้นออก ต่อมาในวันรุ่งขึ้น และวันถัดไป เมื่อเราตอกซ้ำเป็นประจำทุกๆ วัน ตะปูจะฝังลึกลงไปในเนื้อไม้ทุกที จนกระทั่ง ไม่สามารถถอนดึงเอาออกได้โดยกรรมวิธีธรรมดา
"เมตตา" เป็นส่วนหนึ่งของ "พรหมวิหาร ๔" ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมยึดมั่นถือปฏิบัติอยู่ในหลัก "พรหมวิหาร ๔" เป็นประจำ จึงถือได้ว่า จิตของผู้นั้นได้รับการพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัยของพรหม เพราะคำว่า "วิหาร" แปลว่า "ที่อยู่อาศัย" คำว่า "พรหม" ตามหลักของพระพุทธ ศาสนานั้น มิได้หมายความถึง พระพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นสูงที่สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งตามหลักศาสนาฮินดู พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ที่สร้างโลก จึงได้มีการนิยมสร้างรูปปั้น รูปหล่อแทนพระองค์ของท่าน แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อเคารพสักการะบูชาเป็นที่พึ่งทางใจ แต่มีความหมายว่า "ท่านผู้เป็นใหญ่" ท่านผู้เป็นใหญ่ในที่นี้ หมายถึง ผู้ประเสริฐ คือ ผู้ที่มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม
ความหมายของคำว่า "พรหมวิหาร ๔" นี้ ตรงกับคำศัพท์บาลีว่า "อัปปมัญญา ๔" และคำว่า "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่ปรากฏอยู่ในพระอภิธรรม ซึ่งผมได้กล่าวถึงข้างต้น ก็คือ "ธรรมชาติ ที่กระตุ้นให้จิตมีความรู้สึกเมตตา สงสาร เห็นใจ อยากจะช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับทุกข์ในภายภาคหน้า ให้มีความสุขโดยทั่วถ้วนหน้า ความรู้สึกนี้สามารถแผ่กระจายไปถึงมนุษย์สัตว์ทั้งหลายทุกหนทุกแห่งอย่าง สม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต" การที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสมมุติบัญญัติคำว่า "พรหม" ขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อความหมายของสัจจธรรมที่เกี่ยวข้องไว้หลายประการ อาทิ พรหมจรรย์ พรหมกาย รูปพรหม อรูปพรหม นั้น แสดงให้เห็นถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ที่จะทรง หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง หรือสวนกระแสความเลื่อมใส เชื่อมั่นในลัทธิศาสนาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเสด็จจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศอินเดียเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาจึงเป็นไปได้ด้วยดี
การสวดแผ่เมตตาจึงเป็นการปฏิบัติในลักษณะ "เมตตามโนกรรม" ซึ่งจะบังเกิดเป็นอานิสงส์แก่ผู้ปฏิบัติดังที่ได้แสดงไว้ใน อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ดังนี้
การมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าสร้างวิหารทานถวายสงฆ์
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕ มีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
การที่มีจิตเจริญด้วยเมตตาแม้เพียงเวลาชั่วสูดของหอมมีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕
อย่างไรก็ตาม หากการสวดแผ่เมตตา รวมทั้งการสวดมนต์ ไม่ว่า จะเป็นบทสวดมนต์ "อิติปิโส ภควา...." ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านรู้จักดีเพราะต้องสวดบทนี้กันมา ตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือ หรือจะเป็นบทสวดพระคาถา "ชินปัญชร" ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และการสวดพระคาถาของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ เป็นการสวดในลักษณะท่องจำเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ย่อมจะไม่บังเกิดประโยชน์ ไม่บังเกิดความขลังตามที่ผู้สวดได้ตั้งจิตปรารถนาไว้ เว้นแต่ว่า ในระหว่างที่ทำการสวดภาวนานั้น ผู้สวดได้ตั้งสติกระตุ้นให้จิตเกาะติด หรือน้อมดิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว คือ มีความเมตตาระลึกไปถึงผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง แม้แต่ผู้ที่เคยเป็นศัตรู ผู้ที่เคยอิจฉาริษยา หรือมีเจตนาร้ายอื่นๆ แก่เรา ที่กำลังประสบความทุกข์เวทนาอยู่ เช่น ผู้ที่ต้องมีส่วนร่วมได้รับเคราะห์กรรมจากวิกฤติปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ต้องแปรสภาพจากจากผู้ที่เคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีเงินเดือน มีรายได้ฐานะดี มาเป็นแม่ค้าขายข้าวแกง คนขายของข้างถนน แล้วตั้งอธิษฐานจิตขอให้เขาเหล่านั้นพ้นทุกข์ หรือผ่อนบรรเทาทุกข์ กลับมามีฐานะดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
การ บริกรรมภาวนานี้ จึงน้อมนำให้จิตเข้าไปสู่ภาวะให้พุ่งดิ่งเข้าสู่สิ่งที่ศรัทธาเลื่อมใส เชื่อถือ นิยมชื่นชอบ และด้วยแรงศรัทธานี้เองจะเพิ่มพลังให้จิตพุ่งแล่นไปในทางเดียวด้วยความกล้า หาญ เข้มแข็งมั่นคงและมั่นใจ เปี่ยมล้นด้วยความเพียร มีความปิติปราโมทย์ แล้วตามมาด้วยความสงบนิ่งบังเกิดเป็นสมาธิขึ้น อานิสงส์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นจึงจะเกิดขึ้น และเมื่อได้ถือปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นประจำ จนเป็นนิสัย เจตสิกของผู้ปฏิบัติย่อมได้รับการบริหาร ได้รับการพัฒนาเป็นโสภณเจตสิกที่คอยเฝ้ากระตุ้นเตือนจิตให้ใฝ่แต่กุศลอยู่ อย่างสม่ำเสมอ มีความมั่นคง ไม่เสื่อมถอยให้อกุศลเจตสิกฉวยโอกาสเข้ามาแทรกแซงได้ ดังเช่นข้ออุปมาเรื่องการตอกตะปูลงในเนื้อไม้ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และบังเกิดผลเป็นบารมีที่เรียกว่า ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเมื่อครั้งยังเสวยพระชาติเป็นพระ โพธิสัตว์ ก่อนที่จะได้ทรงปฏิสนธิมาเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธิทัตถะ แล้วได้ตรัสรู้ในที่สุด
เรียบเรียง ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๑
*********************
เอกสารอ้างอิง
๑. หนังสือ "พุทธธรรม", พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒. "เจตสิกปรมัตถ์", ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุคนธ์), มูลนิธิปริญญาธรรม
ที่มาตามลิ้งค์.....
http://www.dabos.or.th/tm5.html
เรื่อง "วิธีทำบุญให้ได้ผลที่สุด" (ตอนที่ ๕ การแผ่เมตตา)
พลตำรวจตรี สุชาติ เผือกสกนธ์
ข้อปฏิบัติประการหนึ่งที่จะขาดไม่ได้ของผู้ที่ปฏิบัติธรรม หลังจากการสวดมนต์ภาวนา และปฏิบัติกัมมัฏฐานแล้ว คือ "การสวดแผ่เมตตา" ซึ่งมีบทสวดเป็นภาษาบาลีที่อ่านเป็นไทยได้ว่า "สัพ เพ สัตตา สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ สัพเพ สัตตา อัพยาปัชฌา โหนตุ สัพเพ สัตตา อะนีฆา โหนตุ สัพเพ สัตตา สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ" แปลเป็นไทยได้ว่า "สัตว์โลกทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น จงอย่ามีเวรซึ่งกันและกันเลย จงเป็นสุข เป็นสุขเถิด จงอย่าพยาบาท เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอย่ามีความลำบาก จงอย่ามีความเดือดร้อน จงอย่ามีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย"
การสวดแผ่เมตตานี้เป็นบุญกิริยาอย่างหนึ่งจัดอยู่ในประเภท "การทำทาน" ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๒ และเป็นกิจกรรมที่มีส่วนช่วยให้เจตสิกของท่านผู้นั้นได้รับการฝึกและพัฒนา เกิดเป็น "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่เฝ้าคอยกระตุ้นจิตให้ระลึก มีอารมณ์มีความสงสารเห็นใจผู้ที่กำลังได้รับทุกข์เวทนา มีความอยากที่จะช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์ที่กำลังได้รับอยู่ หรือ กำลังจะได้รับ ไม่นิ่งดูดายต่อทุกข์ของผู้อื่น ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เขาได้รับทุกข์กาย ทุกข์ใจ อยู่เป็นประจำ "อัปปมัญญาเจตสิก" นี้เป็นเจตสิกหนึ่งในกลุ่ม "โสภณเจตสิก" ซึ่งเป็นเจตสิกฝ่ายกุศลที่คอยกระตุ้นให้จิตเป็นกุศลระลึกแนบแน่นอยู่กับความ ดีงาม ปราศจากความเร่าร้อน ตั้งอยู่ในศีลธรรม เว้นจากการกระทำบาป ทุจริตต่างๆ อยู่ตลอดเวลา สามารถประหาร "โลภเจตสิก" ที่คอยกระตุ้นให้จิตมีตัณหาอารมณ์มีความกระหายทะเยอทะยาน อยากได้อยากเป็น ได้เป็นอย่างดี จึงส่งผลให้เกิดกุศลเจตนาขึ้น ตั้งใจประกอบแต่กุศลกรรมแต่เพียงฝ่ายเดียว
คำ ว่า "เมตตา" หมายถึง ไมตรี ความรัก ความปรารถนาดี ความเห็นอกเห็นใจ ความเข้าใจดีต่อกัน ความใส่ใจ หรือต้องการสร้างเสริมประโยชน์สุขให้แก่เพื่อนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย เมตตา จัดเป็นธรรมพื้นฐานของใจขั้นแรก ในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งทำให้มองกันในแง่ดี หวังดีต่อกัน พร้อมที่จะรับฟัง และเจรจากันด้วยเหตุด้วยผล ไม่ยึดเอาความเห็นแก่ตัว มีอคติ คือ ความโกรธ ความเกลียด เป็นที่ตั้ง
การแสดงความเมตตา หรือ การแผ่เมตตานี้ เป็นธรรมชาติ หรือคุณสมบัติพื้นฐานของจิตมนุษย์ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นสัตว์ที่ ประเสริฐอยู่แล้ว ในชีวิตประจำวันของแต่ละคนที่เป็นโรคทางจิต คลุ้มคลั่งจนไม่สามารถควบคุมสติสัมปชัญญะของตนได้ หรือ มีจิตโหดเหี้ยมที่สุดจนไม่อาจจะสมมุตินามของผู้นั้นได้ว่า เป็นมนุษย์ จะต้องมีการแสดงความเมตตาออกทางจิตอยู่เป็นประจำ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกิเลสสันดานที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด เพียงแต่เจ้าตัวมิได้สังเกตจดจำไว้เท่านั้น อาทิ วันไหนที่มีอารมณ์ดี เจ้าตัวจะยินดีพอใจที่จะกล่าวทักทายปราศรัยกับเพื่อนบ้าน หยอกล้อกับสัตว์เลี้ยงมากเป็นพิเศษ หรือ บางครั้ง ขับรถจะไปทำงาน เปิดวิทยุในรถรับฟังสถานีวิทยุกระจายเสียง จส.๑๐๐ หรือ สวพ.๙๑ ได้ทราบข่าว รถบัสแสวงบุญประสบอุบัติเหตุตกเหวระหว่างเดินทาง มีผู้โดยสารบาดเจ็บ ล้มตายเป็นเรือนร้อย "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะกระตุ้นให้จิตเกิดความรู้สึกสลดใจ สมเพช สงสารในทุกข์เวทนาของบุคคลเหล่านั้นขึ้นมาโดยอัตโนมัติ
ธรรมชาติ ของจิตในเรื่องความเมตตานี้ หากกล่าวในเชิงอุปมา ก็เปรียบได้กับต้นไม้ผล หรือต้นไม้ดอก ซึ่งต่อไปจะเรียกวา "ต้นเมตตา" ที่ได้เจริญเติบโตขึ้นมาโดยธรรมชาติ ปราศจากเจ้าของที่หมั่นเฝ้าดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ เมื่อถึงฤดูกาล ต้นเมตตาก็จะให้ผล หรือให้ดอก ผลิบานสุกงอม แล้วก็ร่วงหล่นลงดินเป็นอาหารของนก กา กระรอก หรือสัตว์อื่นๆ โดยที่ มิได้บังเกิดประโยชน์แก่เจ้าของต้นเมตตานั้นแต่อย่างใด เป็นที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตจากต้นเมตตาไม่ว่าจะเป็นดอก หรือผลนี้ ย่อมจะไม่สมบูรณ์ได้ทัดเทียมกับต้นเมตตาที่เจ้าของเอาใจใส่ หมั่นดูแลพรวนดิน ให้ปุ๋ย รดน้ำ อยู่เป็นประจำ เมื่อใดก็ตาม ที่เจ้าของได้เอาใจใส่รดน้ำ พรวนดิน ให้ปุ๋ย ต้นเมตตานั้นย่อมจะเจริญเติบใหญ่ มีลำต้นอวบใหญ่แข็งแรง มีรากแก้วงอกยาวฝังลึกลงไปในดิน ยึดแน่นจนยากที่จะโค่นล้มได้ ดอก หรือผลของต้นเมตตาก็จะมีขนาดใหญ่ มีคุณภาพสูง ไม่ว่าจะเป็นกลิ่น สี หรือ รส จัดเป็นผลผลิตที่อำนวยประโยชน์ให้แก่เจ้าของได้อย่างแท้จริง
จึง กล่าวได้ว่า "เมตตา" นี้เป็นหลักธรรมประจำใจของแต่ละบุคคล และเป็นหลักธรรมพื้นฐานสำหรับสร้างความสามัคคีและเอกภาพของหมู่ชน หรือ ที่เรียกว่า "สารณียธรรม" ซึ่งสามารถแสดงออกได้ทั้งทางกาย คือ "เมตตากายกรรม" ได้แก่ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เช่น เมื่อเห็นคนยืนตากแดดรอจะข้ามถนน เราหยุดรถให้เขาข้ามถนน การแสดงกิริยาสุภาพเคารพนับถือกัน เช่น เมื่อมีคนหยุดรถให้เราข้ามถนน เราแสดงกิริยาขอบคุณ เคารพในน้ำใจดีของเขาด้วยการน้อมศีรษะ ส่งยิ้มให้ เป็นต้น ทางวาจา คือ "เมตตาวจีกรรม" ได้แก่ การมีวาจาที่อ่อนหวานสุภาพ สอบถามสารทุกข์สุกดิบ บอกแจ้งแนะนำ กล่าวคำตักเตือนด้วยความหวังดี และจริงใจ และทางความคิดต่อกัน คือ "เมตตามโนกรรม" ได้แก่ การมองกันในแง่ดี มีความปรารถนาดี มีความหวังดี มีความสงสาร มีความเห็นใจ อยากช่วยเหลือให้พ้นทุกข์ คิดทำประโยชน์ให้มีความสุข
เท่าที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ย่อมเป็นการยืนยันว่า การแสดงความเมตตาไม่ว่าจะโดยทางกาย วาจา หรือ ทางใจนั้น มิใช่เป็นข้อปฏิบัติที่ยุ่งยากลำบากเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตของมนุษย์อยู่แล้ว เพียงแต่เราให้ความสนใจหมั่นทำนุบำรุง ฝึกฝน บริหาร เฝ้ากระตุ้นให้เกิดจิตสำนึกว่า จะต้องถือปฏิบัติเป็นกิจประจำวันเพื่อให้เป็นนิสัยที่จะขาดไม่ได้ เช่นเดียวกับการ ตื่นนอนในตอนเช้า จะต้องเข้าห้องน้ำ ถ่ายปัสสาวะ อุจจาระ แปรงฟัน ล้างหน้า อาบน้ำ ฯลฯ "อัปปมัญญาเจตสิก" ก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ยากที่จะลบล้างให้หมดสิ้นไป เช่นเดียวกับการตอกตะปูลงไปในเนื้อไม้ ตอกวันแรก ตะปูจะฝังลงไปในเนื้อไม้เพียงเล็กน้อย จึงไม่เป็นการยากที่จะถอนดึงตะปูนั้นออก ต่อมาในวันรุ่งขึ้น และวันถัดไป เมื่อเราตอกซ้ำเป็นประจำทุกๆ วัน ตะปูจะฝังลึกลงไปในเนื้อไม้ทุกที จนกระทั่ง ไม่สามารถถอนดึงเอาออกได้โดยกรรมวิธีธรรมดา
"เมตตา" เป็นส่วนหนึ่งของ "พรหมวิหาร ๔" ซึ่งประกอบด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ผู้ที่มีจิตใจเต็มเปี่ยมยึดมั่นถือปฏิบัติอยู่ในหลัก "พรหมวิหาร ๔" เป็นประจำ จึงถือได้ว่า จิตของผู้นั้นได้รับการพัฒนาให้เป็นที่อยู่อาศัยของพรหม เพราะคำว่า "วิหาร" แปลว่า "ที่อยู่อาศัย" คำว่า "พรหม" ตามหลักของพระพุทธ ศาสนานั้น มิได้หมายความถึง พระพรหมซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นสูงที่สำคัญยิ่งพระองค์หนึ่งตามหลักศาสนาฮินดู พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ที่สร้างโลก จึงได้มีการนิยมสร้างรูปปั้น รูปหล่อแทนพระองค์ของท่าน แล้วอัญเชิญไปประดิษฐานอยู่ตามสถานที่สำคัญต่างๆ เพื่อเคารพสักการะบูชาเป็นที่พึ่งทางใจ แต่มีความหมายว่า "ท่านผู้เป็นใหญ่" ท่านผู้เป็นใหญ่ในที่นี้ หมายถึง ผู้ประเสริฐ คือ ผู้ที่มีจิตใจกว้างขวางยิ่งใหญ่ หรือ ยิ่งใหญ่ด้วยคุณธรรมความดีงาม
ความหมายของคำว่า "พรหมวิหาร ๔" นี้ ตรงกับคำศัพท์บาลีว่า "อัปปมัญญา ๔" และคำว่า "อัปปมัญญาเจตสิก" ที่ปรากฏอยู่ในพระอภิธรรม ซึ่งผมได้กล่าวถึงข้างต้น ก็คือ "ธรรมชาติ ที่กระตุ้นให้จิตมีความรู้สึกเมตตา สงสาร เห็นใจ อยากจะช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ที่กำลังได้รับทุกข์อยู่ หรือที่จะได้รับทุกข์ในภายภาคหน้า ให้มีความสุขโดยทั่วถ้วนหน้า ความรู้สึกนี้สามารถแผ่กระจายไปถึงมนุษย์สัตว์ทั้งหลายทุกหนทุกแห่งอย่าง สม่ำเสมอทั่วกัน ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต" การที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสมมุติบัญญัติคำว่า "พรหม" ขึ้นเพื่อใช้ในการสื่อความหมายของสัจจธรรมที่เกี่ยวข้องไว้หลายประการ อาทิ พรหมจรรย์ พรหมกาย รูปพรหม อรูปพรหม นั้น แสดงให้เห็นถึงพระปัญญาคุณของพระพุทธองค์ที่จะทรง หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง หรือสวนกระแสความเลื่อมใส เชื่อมั่นในลัทธิศาสนาดั้งเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น การเสด็จจาริกไปตามสถานที่ต่างๆ ในประเทศอินเดียเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาจึงเป็นไปได้ด้วยดี
การสวดแผ่เมตตาจึงเป็นการปฏิบัติในลักษณะ "เมตตามโนกรรม" ซึ่งจะบังเกิดเป็นอานิสงส์แก่ผู้ปฏิบัติดังที่ได้แสดงไว้ใน อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ดังนี้
การมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะ มีผลมากกว่าสร้างวิหารทานถวายสงฆ์
การที่บุคคลมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕ มีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย
การที่มีจิตเจริญด้วยเมตตาแม้เพียงเวลาชั่วสูดของหอมมีผลมากกว่าการมีจิตเลื่อมใสสมาทานศีล ๕
อย่างไรก็ตาม หากการสวดแผ่เมตตา รวมทั้งการสวดมนต์ ไม่ว่า จะเป็นบทสวดมนต์ "อิติปิโส ภควา...." ซึ่งเป็นบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนทุกท่านรู้จักดีเพราะต้องสวดบทนี้กันมา ตั้งแต่เริ่มเรียนหนังสือ หรือจะเป็นบทสวดพระคาถา "ชินปัญชร" ของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) และการสวดพระคาถาของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ เป็นการสวดในลักษณะท่องจำเหมือนนกแก้วนกขุนทอง ย่อมจะไม่บังเกิดประโยชน์ ไม่บังเกิดความขลังตามที่ผู้สวดได้ตั้งจิตปรารถนาไว้ เว้นแต่ว่า ในระหว่างที่ทำการสวดภาวนานั้น ผู้สวดได้ตั้งสติกระตุ้นให้จิตเกาะติด หรือน้อมดิ่งอยู่ในอารมณ์เดียว คือ มีความเมตตาระลึกไปถึงผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ โดยไม่เลือกที่รัก มักที่ชัง แม้แต่ผู้ที่เคยเป็นศัตรู ผู้ที่เคยอิจฉาริษยา หรือมีเจตนาร้ายอื่นๆ แก่เรา ที่กำลังประสบความทุกข์เวทนาอยู่ เช่น ผู้ที่ต้องมีส่วนร่วมได้รับเคราะห์กรรมจากวิกฤติปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศ ต้องแปรสภาพจากจากผู้ที่เคยมีตำแหน่งหน้าที่การงานสูง มีเงินเดือน มีรายได้ฐานะดี มาเป็นแม่ค้าขายข้าวแกง คนขายของข้างถนน แล้วตั้งอธิษฐานจิตขอให้เขาเหล่านั้นพ้นทุกข์ หรือผ่อนบรรเทาทุกข์ กลับมามีฐานะดีกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้
การ บริกรรมภาวนานี้ จึงน้อมนำให้จิตเข้าไปสู่ภาวะให้พุ่งดิ่งเข้าสู่สิ่งที่ศรัทธาเลื่อมใส เชื่อถือ นิยมชื่นชอบ และด้วยแรงศรัทธานี้เองจะเพิ่มพลังให้จิตพุ่งแล่นไปในทางเดียวด้วยความกล้า หาญ เข้มแข็งมั่นคงและมั่นใจ เปี่ยมล้นด้วยความเพียร มีความปิติปราโมทย์ แล้วตามมาด้วยความสงบนิ่งบังเกิดเป็นสมาธิขึ้น อานิสงส์ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นจึงจะเกิดขึ้น และเมื่อได้ถือปฏิบัติในลักษณะนี้เป็นประจำ จนเป็นนิสัย เจตสิกของผู้ปฏิบัติย่อมได้รับการบริหาร ได้รับการพัฒนาเป็นโสภณเจตสิกที่คอยเฝ้ากระตุ้นเตือนจิตให้ใฝ่แต่กุศลอยู่ อย่างสม่ำเสมอ มีความมั่นคง ไม่เสื่อมถอยให้อกุศลเจตสิกฉวยโอกาสเข้ามาแทรกแซงได้ ดังเช่นข้ออุปมาเรื่องการตอกตะปูลงในเนื้อไม้ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และบังเกิดผลเป็นบารมีที่เรียกว่า ซึ่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติเมื่อครั้งยังเสวยพระชาติเป็นพระ โพธิสัตว์ ก่อนที่จะได้ทรงปฏิสนธิมาเสวยพระชาติเป็นเจ้าชายสิทธิทัตถะ แล้วได้ตรัสรู้ในที่สุด
เรียบเรียง ณ วันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๔๑
*********************
เอกสารอ้างอิง
๑. หนังสือ "พุทธธรรม", พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุต.โต) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
๒. "เจตสิกปรมัตถ์", ขุนสรรพกิจโกศล (โกวิท ปัทมะสุคนธ์), มูลนิธิปริญญาธรรม
ที่มาตามลิ้งค์.....
http://www.dabos.or.th/tm5.html
กวีธรรมะ ประพันธ์โดยพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
บรมศาสดาศากยมุนีสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระนวโลกุตตรธรรม ๙ ประการ
และพระอริยสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้านั้น
บัดนี้ข้าพเจ้าจักกล่าวซึ่งธรรมขันธ์โดยสังเขปตามสติปัญญาฯ
ยังมีท่านคนหนึ่งรักตัวคิดกลัวทุกข์ อยากได้สุขพ้นภัยเที่ยวผายผัน
เขาบอกว่าสุขมีที่ไหนก็อยากไป แต่เที่ยวหมั่นไปมาอยู่ช้านาน
นิสัยท่านนั้นรักตัวกลัวตายมาก อยากจะพ้นแท้ๆ เรื่องแก่ตาย
วันหนึ่งท่านรู้จริงซึ่งสมุทัยพวกสังขาร ท่านก็ปะถ้ำสนุกสุขไม่หาย
เปรียบเหมือนดังกายนี้เอง ชะโงกดูถ้ำสนุกทุกข์คลาย
แสนสบายรู้ตัวเรื่องกลัวนั้นเบา ดำเนินไปเมินมาอยู่หน้าเขา
จะกลับไปป่าวร้องพวกพ้องเล่า ก็กลัวเขาเหมาว่าเป็นบ้า
เป็นอันจบเรื่องคิดไม่ติดต่อ ดีกว่าเที่ยวรุ่มร่ามทำสอพลอ
เดี๋ยวถูกยอถูกติเป็นเรื่องเครื่องรำคาญ ยังมีบุรุษคนหนึ่งคิดกลัวตายน้ำใจฝ่อ
มาหาแล้วพูดตรงๆ น่าสงสาร ถามว่าท่านพากเพียรมาก็ช้านาน
เห็นธรรมที่จริงแล้วหรือยังที่ใจหวัง เอ๊ะ! ทำไมจึงรู้ใจฉัน
บุรุษผู้นั้นก็อยากอยู่อาศัย ท่านว่าดีดีฉันอนุโมทนา
จะพาดูเขาใหญ่ถ้ำสนุกทุกข์ไม่มี คือ กายคตาสติภาวนา
ชมเล่นให้เย็นใจหายเดือดร้อน หนทางจรอริยวงศ์
จะไปหรือไม่ไปฉันไม่เกณฑ์ ไปหลอกเล่นบอกความให้ตามจริง
แล้วกล่าวปริศนาท้าให้ตอบ ปริศนานั้นว่าระวิ่งคืออะไร
ตอบวิ่งเร็วคือวิญญาณอาการใจ เดินเป็นแถวตามแนวกัน
สัญญาตรงไม่สงสัย ใจอยู่ในวิ่งไปมา
สัญญาเหนี่ยวภายนอกหลอกลวงจิต ทำให้จิตวิ่นวายเที่ยวส่ายหา
หลอกเป็นธรรมต่างๆ อย่างมายา ถามว่าห้าขันธ์ใครพ้นจนทั้งปวง
แก้ว่าใจซิพ้นอยู่คนเดียว ไม่เกาะเกี่ยวพัวพันติดสิ้นพิศวง
หมดที่หลงอยู่เดียวดวง สัญญาทะลวงไม่ได้หมายหลงตามไป
ถามว่าที่ตายใครเขาตายที่ไหนกัน แก้ว่าสังขารเขาตายทำลายผล
ถามว่าสิ่งใดก่อให้ต่อวน แก้ว่ากลสัญญาพาให้เวียน
เชื่อสัญญาจึงผิดคิดยินดี ออกจากภพนี้ไปภพนั้นเที่ยวหันเหียน
เลยลืมจิตจำปิดสนิทเนียน ถึงจะเพียรหาธรรมก็ไม่เห็น
ถามว่าใครกำหนดใครหมายเป็นธรรม แก้ว่าใจกำหนดใจหมาย
เรื่องหาเจ้าสัญญานั้นเอง คือว่าดีว่าชั่วผลักจิตติดรักชัง
ถามว่ากินหนเดียวเที่ยวไม่กิน แก้ว่าสิ้นอยากดูไม่รู้หวัง
ในเรื่องเห็นต่อไปหายรุงรัง ใจก็นั่งแท่นนิ่งทิ้งอาลัย
ถามว่าสระสี่เหลี่ยมเปี่ยมด้วยน้ำ แก้ว่าธรรมสิ้นอยากจากสงสัย
ใสสะอาดหมดราคีไม่มีภัย สัญญาในนั้นพรากสังขารขันธ์นั้นไม่ถอน
ใจจึงเปี่ยมเต็มที่ไม่มีพร่อง เงียบสงัดดวงจิตไม่คิดตรอง
เป็นของควรชมชื่นทุกคืนวัน แม้ได้สมบัติทิพย์สักสิบแสน
หากแม้นเหมือนรู้จริงทิ้งสังขาร หมดความอยากเป็นยิ่งสิ่งสำคัญ
จำส่วนจำกั้นอยู่ไม่ก้ำเกิน ใจไม่เพลินทั้งสิ้นหายดิ้นรน
เหมือนอย่างว่ากระจกส่องหน้า ส่องแล้วอย่าคิดติดสัญญา
เพราะสัญญานั้นดังเงา อย่างได้เมาไปตามเรี่องเครื่องสังขาร
ใจขยันจับใจที่ไม่ปน ไหวส่วนตนรู้แน่เพราะแปรไป
ใจไม่เที่ยวของใจใช่ต้องว่า รู้ขันธ์ห้าต่างชนิดเมื่อจิตใหว
แต่ก่อนนั้นหลงสัญญาว่าเป็นใจ สำคัญว่าในว่านอกจึงหลอกลวง
คราวนี้ใจเป็นใหญ่ไม่หมายพึ่ง สัญญาหนึ่งสัญญาใดมิได้ห่วง
เกิดก็ตามดับก็ตามสิ่งทั้งปวง ไม่ต้องหวงไม่ต้องกันหมู่สัญญา
เหมือนยืนบนยอดเขาสูงแท้แลเห็นดิน แลเห็นสินทุกตัวสัตว์แต่ว่าสูงยิ่งนัก
แลเห็นเรื่องของตนแต่ต้นมา เป็นมรรคาทั้งนั้นเช่นบันได
ถามว่านี้ขึ้นลงตรงสัจจังนั้นหรือ ตอบว่าสังขารแปรก็ไม่ได้
ธรรมดากรรมแต่งไม่แกล้งใคร ขึ้นผลักไสจับต้องก็หมองมัว
ชั่วในจิตไม่ต้องคิดผิดธรรมดา สภาพสิ่งเป็นจริงดีชั่ว
ตามแต่เรื่องของเรื่องเปลื้องแต่ตัว ไม่พัวพันสังขารเป็นการเย็น
รู้จักจริงต้องทิ้งสังขารเมื่อผันแปรเมื่อแลเห็น เบื่อแล้วปล่อยได้คล่องไม่ต้องเกณฑ์
ธรรมก็ใจเย็นใจระงับดับสังขาร รับอาการถามว่าห้าหน้าที่มีครบครัน
แก้ว่าขันธ์แย่งแยกแจกห้าฐาน เรื่องสังขารต่างกองรับหน้าที่มีกิจการ
จะรับงานอื่นไม่ได้เต็มในตัว แม้ลาภยศสรรเสริญเจริญสุข
นินทาทุกข์เสื่อมยศหมดลาภทั่ว รวมลงตามสภาพตามเป็นจริง
ทั้ง ๘ สิ่งใจไม่หันไปพัวพัน เพราะว่ารูปขันธ์ก็ทำแก้ไข้มิได้ถ้วน
นานก็มิได้พักเหมือนจักรยนต์ เพราะรับผลของกรรมที่ทำมา
เรื่องดีถ้าเพลิดเพลินเจริญใจ เรื่องชั่วขุ่นวุ่นจิตคิดไม่หยุด
เหมือนไฟจุดจิตหมองไม่ผ่องใส นึกขึ้นเองทั้งรักทั้งโกรธไม่โทษใคร
อยากไม่แก่ไม่ตายได้หรือคน เป็นของพ้นวิสัยจะได้เชย
เช่นไม่อยากให้จิตเที่ยวคิดรู้ อยากให้อยู่เป็นหนึ่งหวังพึ่งเฉย
จิตเป็นของผันแปรไม่แน่เลย สัญญาเคยอยู่ได้บ้างเป็นครั้งคราว
ถ้ารู้เท่าธรรมดาทั้งห้าขันธ์ ใจนั้นก็ขาวสะอาดหมดมลทินสิ้นเรื่องราว
ถ้ารู้ได้ย่างนี้จึงดียิ่ง เพราะเห็นจริงถอนหลุดสุดวิธี
ไม่ฝ่าฝืนธรรมดาตามเป็นจริง จะจนจะมีตามเรื่องเครื่องนอกใน
ดีหรือชั่วต้องดับเลื่อนลับไป ยึดสิ่งใดไม่ได้ตามใจหมาย
ในไม่เที่ยวของใจไหววะวับ สังเกตจับรู้ได้สบายยิ่งเล็กบังใหญ่รู้ไม่ทัน
ขันธ์บังธรรมไม่เห็นเป็นธุลีไป ส่วนธรรมมีใหญ่กว่าขันธ์นั้นไม่แล
ถามว่า-มี-ไม่มี ไม่มีมีนี้คืออะไร
ทีนี้ติดหมดคิดแก้ไม่ไหว เชิญชี้ให้ชัดทั้งอรรถแปลโปรดแก้เถิด
ที่ว่าเกิดมีต่างๆ ทั้งเหตุผล แล้วดับไม่มีชัดใช่สัตว์คน
นี่ข้อต้นมีไม่มีอย่างนี้ตรง ข้อปลายไม่มีมีนี้เป็นธรรม
ที่ล้ำลึกใครพบจบประสงค์ ไม่มีสังขารมีธรรมที่มั่นคง
นั่นแลองค์ธรรมเอกวิเวกจริง ธรรมเป็นหนึ่งไม่แปรผันเลิศพบสงบนิ่ง
เป็นอารมณ์ของใจไม่ไหวติง ระงับยิ่งเงียบสงัดชัดกับใจ
ใจก็สร่างจากเมาหายเร่าร้อน ความอยากถอนได้หมดปลดสงสัย
เรื่องพัวพันขันธ์ห้าชาสิ้นไป เครื่องหมุนในไตรจักรก็หักลง
ความอยากใหญ่ยิ่งก็ทิ้งหลุด ความรักหยุดหายสนิทสิ้นพิศวง
ร้อนทั้งปวงก็หายหมดดังใจจง เชิญเถิดขี้อีกสักอย่างหนทางใจ
สมุทัยของจิตที่ปิดธรรม แก้ว่าสมุทัยกว้างใหญ่นัก
ย่อลงคือความรักบีบใจทำลายขันธ์ ถ้าธรรมมีกับจิตเป็นนิจนิรันดร์
เป็นเลิศกันสมุทัยมิได้มี จงจำไว้อย่างนี้วิถีจิต
ไม่ต้องคิดเวียนวนจนป่นปี้ ธรรมไม่มีอยู่เป็นนิจติดยินดี
ใจจากที่สมุทัยอาลัยตัว ว่าอย่างย่อทุกข์กับธรรมประจำจิต
จิตคิดรู้เห็นจริงจึงเย็นทั่ว จะสุขทุกข์เท่าไรมิได้กลัว
สร่างจากเครื่องมัวคือสมุทัยไปที่ดี รู้เท่านี้ก็จะคลายหายความร้อน
พอดักผ่อนสืบแสวงหาทางดี จิตรู้ธรรมลืมจิตที่ติดธุลี
ใจรู้ธรรมที่เป็นสุข ขันธ์ทุกขันธ์แน่ประจำ
ธรรมคงเป็นธรรม ขันธ์คงเป็นขันธ์เท่านั้นแล
คำว่าเย็นสบายหายเดือดร้อน หมายจิตถอนจากผิดที่ติดแก้
ส่วนสังขารขันธ์ปราศจากสุขเป็นทุกข์แท้ เพราะต้องแก่ไข้ตายไม่วายวัน
จิตรู้ธรรมที่ล้ำเลิศจิตก็ถอน จากผิดเครื่องเศร้าหมองของแสลง
ผิดเป็นโทษของใจอย่างร้ายแรง เห็นธรรมแจ้งธรรมผิดหมดพิษใจ
จิตเห็นธรรมดีเลิศที่พ้น พบปะธรรมปลดเปลื้องเครื่องกระสัน
มีสติอยู่กับตัวบ่พัวพัน เรื่องรักขันธ์หายสิ้นขาดยินดี
สิ้นธุลีทั้งปวงหมดห่วงใย ถึงจะคิดก็ไม่ห้ามตามนิสัย
เมื่อไม่ห้ามกลับไม่ฟุ้งยุ่งไป พึงรู้ได้ว่าบาปมีขื้นเพราะขืนจริง
ตอบว่าบาปเกิดได้เพราะไม่รู้ ถ้าปิดประตูเขลาได้สบายยิ่ง
ชั่วทั้งปวงเงียบหายไม่ไหวติง ขันธ์ทุกสิ่งย่อมทุกข์ไม่สุขเลย
แต่ก่อนข้าพเจ้ามืดเขลาเหมือนเข้าถ้ำ อยากเห็นธรรมยึดใจจะให้เฉย
ยึดความจำว่าเป็นใจหมายจนเคย เลยเพลินเชยชมจำธรรมมานาน
ความจำผิดปิดไว้ไม่ให้เห็น จึงหลงเล่นขันธ์ ๕ น่าสงสาร
ให้ยกตัวออกตนพ้นประมาณ เที่ยวระรานติคนอื่นเป็นพื้นไป
ไม่ได้ผลเที่ยวดูโทษคนอื่นขื่นใจ เหมือนก่อไฟเผาตัวต้องมัวมอม
ใครผิดถูกดีชั่วก็ตัวเขา ใจของเราเพียงระวังตั้งถนอม
อย่าให้อกุศลวนมาตอม ควรถึงพร้อมบุญกุศลผลสบาย
เห็นคนอื่นเขาชั่วตัวก็ดี เป็นราคียึดขันธ์ที่มั่นหมาย
ยึดขันธ์ต้องร้อนแท้เพราะแก่ตาย เลยซ้ำร้ายกิเลสเข้ากลุ้มรุมกวน
เต็มทั้งรักทั้งโกรธโทษประจักษ์ ทั้งหลงนักหนักจิตคิดโทษหวล
ทั้งอารมณ์การห้าก็มาชวน ยกกระบวนทุกอย่างต่างๆ กัน
เพราะยึดขันธ์ทั้ง ๕ ว่าของตน จึงไม่พ้นทุกข์ร้ายไปได้เลย
ถ้ารู้โทษของตัวแล้วอย่าช้าเฉย ดูอาการสังขารที่ไม่เที่ยงร่ำไปให้ใจเคย
คงได้เชยชมธรรมอันเอกวิเวกจิต ไม่เพียงนั้นหมายใจไหวจากจำ
เห็นแล้วขำดูดูอยู่ไหว อารมณ์นอกดับระงับไปหมดปรากฏธรรม
เห็นธรรมแล้วย่อมหายวุ่นวายจิต จิตนั้นไม่ติดคู่
จริงเท่านี้หมดประตู รู้ไม่รู้อย่างนี้วิธีจิต
รู้เท่าที่ไม่เที่ยงจิตต้นฟื้นริเริ่ม คงจิตเดิมอย่างเที่ยงแท้
รู้ต้นจิตพ้นจากผิดทั้งปวงไม่ห่วง ถ้าออกไปปลายจิตผิดทันที
คำที่ว่ามืดนั้นเพราะจิตคิดหวงดี จิตหวงนี้ปลายจิตคิดออกไป
จิตต้นที่เมื่อธรรมะปรากฏหมดสงสัย เห็นธรรมอันเกิดเลิศโลกา
เรื่องจิตค้นวุ่นหามาแต่ก่อน ก็เลิกถอนเปลื้องปลดหมดได้ไปสิ้น
ยังมีทุกข์ต้องหลับนอนกับกินไปตามเรื่อง ธรรมดาของจิตต้องคิดนึก
พอรู้สึกจิตคุ้นพ้นรำคาญ เงียบสงัดจากมารเครื่องรบกวน
ธรรมดาสังขารปรากฏหมดด้วยกัน เสื่อมทั้งนั้นคงไม่มีเลย
ระวังใจเมื่อจำทำละเอียด มันจะเบียดให้จิตไปติดเฉย
ใจไม่เที่ยงของใจซ้ำให้เคย เมื่อถึงเฮยหากรู้เองพลงของจิต
เหมือนดังมายาที่หลอกลวง ท่านว่าวิปัสสนูกิเลสจำแลงเพศ
เหมือนดังจริงที่แท้ไม่ใช่จริง รู้ขึ้นเองนามว่าความเห็น
ไม่ใช่เข่นฟังเข้าใจชั้นไต่ถาม ทั้งไตรตรองแยกแยะและรูปนาม
ก็ใช่ความเห็นต้องจงเล็งดู จิตตนพ้นรำคาญ ต้นจิตรู้ตัวว่าสังขาร
เรื่องแปรปรวนใช่กระบวนไป ดูหรือรู้จริงอะไรรู้อยู่เพราะหมายคู่ก็ไม่ใช่
จิตคงรู้จิตเองเพราะเพลงไหว จิตรุ้ไหวไหวก็จิตคิดกันไป
แยกไม่ได้ตามจริงสิ่งเดียวกัน จิตเป็นอาการเรียกว่าสัญญาพาพัวพัน
ไม่เที่ยงนั้นก็ตัวเองไปเล็งใคร ใจรู้เสื่อมรสหมดสงสัย
ขาดต้นคว้หาเรื่องเครื่องนอกใน เรื่องจิตอยากก็หยุดให้หายหิว
พ้นหนักใจทั้งหลายหายอิดโหย เหมือนฝนโปรยใจก็เย็นด้วยเห็นใจ
ใจเย็นเพราะไม่ต้องเที่ยวมองคน รู้จิตค้นปัจจุบันพ้นหวั่นไหว
ดีหรือชั่วทั้งปวงไม่ห่วงใย เพราะดับไปทั้งเรื่องเครื่องรุงรัง
อยู่เงียบๆ ต้นจิตไม่คิดอ่าน ตามแต่การของจิตสิ้นคิดหวัง
ไม่ต้องวุ่นไม่ต้องวายหายระวัง นอนหรือนั่งนึกพ้นอยู่ต้นจิต
ท่านชี้มรรคทั้งหลักแหลม ช่างต่อแต้มกว้างขวางสว่างไสว
ยังอีกอย่างทางใจไม่หลุดสมุทัย ขอจงโปรดชี้ให้พิสดารเป็นการดี
ตอบว่าสมุทัยคืออาลัยรักเพลินยิ่งนัก ทำภพใหม่ไม่หน่ายหนี
ว่าอย่างต่ำกามคุณห้าเป็นการดี อย่างสูงชี้สมุทัยอาลัยฌาน
ถ้าจะจับตามวิธีมีในจิต ก็เรื่องคิดเพลินไปในสังขาร
เคยทั้งปวงเพลินมาเสียช้านาน กลับเป็นการดีไปให้เจริญจิต
ไปในส่วนที่ผิดก็เลยแตกกิ่งก้านฟุ้งซ่านใหญ่ เที่ยวเพลินไปในผิดไม่คิดเขิน
สิ่งใดชอบอารมณ์ก็ชมเพลิน เพลินจนเกินลืมตัวไม่กลัวภัย
เพลินโทษคนอื่นดื่นด้วยชั่ว โทษของตัวไม่เห็นเป็นไฉน
โทษคนอื่นเขามากสักเท่าไร ไม่ทำให้เราตกนรกเสียเลย
โทษของเราเศร้าหมองไม่ต้องมาก ลงวิบากไปตกนรกแสนสาหัส
หมั่นดูโทษตนไว้ให้ใจเคย เว้นเสียซึ่งโทษนั้นคงได้เชยชมสุขพ้นทุกข์ภัย
เมื่อเห็นโทษตนชัดถึงตัดทิ้ง ทำอ้อยอิ่งคิดมากจากไม่ได้
เรื่องอยากดีไม่หยุดคือตัวสมุทัย เป็นโทษไหญ่กลัวจะไม่ดีนี้ก็แรง
ดีไม่ดีนี้เป็นผิดของจิตนัก เหมือนไข้หนักถูกต้องของแสลง
กำเริบโรคด้วยพิษผิดสำแดง ธรรมไม่แจ้งเพราะอยากดีนี้เป็นเดิม
ความอยากดีมีมากมักลากจิต ให้เที่ยวคิดวุ่นไปจนใจเหิม
สรรพชั่วมัวหมองก็ต้องเติม ผิดยิ่งเพิ่มร่ำไปไกลจากธรรม
ที่จริงชี้สมุทัยนี้ใจฉันคร้าม ฟังเนื้อความไปข้างฟุ้งทางยุ่งยิ่ง
เมื่อชี้มรรคฟังใจไม่ไหวติง ระงับนิ่งใจสงบจบกันที
อันนี้ชื่อว่าขันธะวิมุติสมังคีธรรม ประจำอยู่กับที่ไม่มีอาการไปไม่มีอาการมา
สภาวธรรมที่เป็นจริงสิ่งเดียวเท่านั้น และไม่มีเรื่องจะแวะเวียน
สิ้นเนื้อความแต่เพียงเท่านี้ ผิดหรือถูกจงใช้ปัญญาตรองดูให้รู้เถิด
พระภูริทัตโต (มั่น) วัดสระปทุมวันเป็นผู้แต่ง
ป้ายกำกับ:
กวีธรรมะ ประพันธ์โดยพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต
10/13/2009
กาลก่อนหมดอายุพระพุทธศาสนา
พระ พุทธเจ้าได้อธิษฐานไว้ ด้วยอำนาจอภิญญาจิตว่า ก่อนพุทธศาสนาจะครบ 5000 ปี คือในเดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 ขอให้พระบรมสารีริธาตุซึ่งประดิษฐานในที่ต่างๆเสด็จมารวมตัวกัน เป็นองค์พระพุทธเจ้าและเทศน์แสดงธรรมแก่ เทวดาอยู่ตลอด 7 วัน 7 คืน
ในคราวนั้น เทพยดาหรือ ยักษ์ นาค ครุฑ อินทร์ พรหมผู้เป็นธาตุเวไนยจักได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ถึง 84,000 องค์
ผู้ที่ไปฟังธรรมในครั้งนั้น แม้มิได้บรรลุก็ย่อมได้อานิสงส์อย่างมากแล้ว
หลังจากนั้นจวนรุ่งอรุณในคืนที่ 7 พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฏเป็นนิมิตพระพุทธเจ้านั้นก็จะมีเพลิงธาตุเกิดขึ้น ถวายพระเพลิงเผาจนย่อยยับไปไม่มีเหลือ
ดังนั้นหากท่านที่ได้เกิด ในสวรรค์ ก็นับไปอีกประมาณ 2400 ปีเศษๆ ซึ่งสามารถคำนวณเป็นวันบนสวรรค์ชั้นต่างๆ คร่าวๆได้ดังนี้คือ
1.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมฯ เกิดมาได้ 48 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
2.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ฯ เกิดมาได้ 24 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
3.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นยามาฯ เกิดมาได้ 12 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
4.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิตฯ เกิดมาได้ 6 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
เมื่อถึงวันนั้น ก็ควรจะแวะไปยังสถานที่ตรัสรู้ของพระองค์เพื่อฟังธรรมจากพุทธนิมิตในวันนั้น
บนสวรรค์นั้น เช่นดาวดึงส์จะมีสิ่งที่น่ารื่นรมย์มากมาย ดังนั้นเมื่อไปเกิดแล้วควรระลึกเสมอว่าอย่าเพลิดเพลิน เมื่อผ่านไป 24 วันหากมัวแต่เพลิดเพลินก็จะพลาดโอกาสไปฟังธรรมจากพุทธนิมิตได้
นอกจากนั้นก็ สามารถหาโอกาสปฏิบัติธรรมต่อได้และสถานที่ฟังธรรมในเทวโลกก็ได้แก่ ศาลาสุธัมมาซึ่งมักจะมีพระพรหม มาเทศน์เสมอๆ
จาก เวปลานธรรม
__________________ในคราวนั้น เทพยดาหรือ ยักษ์ นาค ครุฑ อินทร์ พรหมผู้เป็นธาตุเวไนยจักได้สำเร็จมรรค ผล นิพพาน ถึง 84,000 องค์
ผู้ที่ไปฟังธรรมในครั้งนั้น แม้มิได้บรรลุก็ย่อมได้อานิสงส์อย่างมากแล้ว
หลังจากนั้นจวนรุ่งอรุณในคืนที่ 7 พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฏเป็นนิมิตพระพุทธเจ้านั้นก็จะมีเพลิงธาตุเกิดขึ้น ถวายพระเพลิงเผาจนย่อยยับไปไม่มีเหลือ
ดังนั้นหากท่านที่ได้เกิด ในสวรรค์ ก็นับไปอีกประมาณ 2400 ปีเศษๆ ซึ่งสามารถคำนวณเป็นวันบนสวรรค์ชั้นต่างๆ คร่าวๆได้ดังนี้คือ
1.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นจาตุมฯ เกิดมาได้ 48 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
2.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ฯ เกิดมาได้ 24 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
3.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นยามาฯ เกิดมาได้ 12 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
4.หากเกิดเป็นเทวดาชั้นดุสิตฯ เกิดมาได้ 6 วันทิพย์ ก็จะถึง เดือน ๑๒ พ.ศ. 4999 บนชมพูทวีป
เมื่อถึงวันนั้น ก็ควรจะแวะไปยังสถานที่ตรัสรู้ของพระองค์เพื่อฟังธรรมจากพุทธนิมิตในวันนั้น
บนสวรรค์นั้น เช่นดาวดึงส์จะมีสิ่งที่น่ารื่นรมย์มากมาย ดังนั้นเมื่อไปเกิดแล้วควรระลึกเสมอว่าอย่าเพลิดเพลิน เมื่อผ่านไป 24 วันหากมัวแต่เพลิดเพลินก็จะพลาดโอกาสไปฟังธรรมจากพุทธนิมิตได้
นอกจากนั้นก็ สามารถหาโอกาสปฏิบัติธรรมต่อได้และสถานที่ฟังธรรมในเทวโลกก็ได้แก่ ศาลาสุธัมมาซึ่งมักจะมีพระพรหม มาเทศน์เสมอๆ
จาก เวปลานธรรม
พระพุทธองค์ ทรงประทานของขวัญวันแต่งงาน
พระพุทธองค์ ทรงประทานของขวัญวันแต่งงาน
ในสมัยพุทธกาล พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ในกรุงสาวัตถี
มารดา ของกุมาริกาผู้หนึ่งได้จัดงานอาวาหมงคล คืองานมงคลสมรสในเรือนของตน ในวันมงคลได้นิมนต์องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์
พระ ศาสดาอันหมู่แห่งพระภิกษุแวดล้อม ได้เสด็จไปในที่แห่งนั้น ประทับนั่งแล้ว หญิงผู้ที่เป็นเจ้าสาวในงานสมรสนั้นกระทำการบำรุงภิกษุ โดยกิจแห่งการกรองน้ำ เป็นต้น เพื่อหมู่แห่งภิกษุทั้งหลาย นางก็ได้เที่ยวไปๆ มาๆ บำรุงภิกษุอยู่ในที่แห่งนั้น
ฝ้าย เจ้าบ่าว ผู้เป็นที่ว่าสามีของนางได้ยืนแลดูนางแล้ว เมื่อเขาแลดูอยู่นั่นเอง ด้วยอำนาจแห่งราคะ คือกิเลสภายในย่อมฟุ้งซ่าน เขาถูกความหลงเข้าครอบงำ ย่อมกระทำให้ถึงความไม่รู้ตัว จึงไม่เข้าไปบำรุงพระบรมศาสดา ไม่บำรุงพระมหาเถระทั้ง ๘๐ ที่ตามเสด็จ คงได้แต่กระทำจิตคิดอยู่ว่า “เราจักเหยียดมือออกจับผู้ที่เป็นเจ้าสาวนั้น”
พระ บรมศาสดาทรงเล็งเห็นอัชฌาสัย ทรงกระทำอิทธิฤทธิ์ปิดบัง โดยอาการกระทำไม่ให้หนุ่มผู้เป็นบุรุษ ได้เห็นสตรีในที่แห่งนั้น ก็ในกาลนั้นเมื่อบุรุษหนุ่มแลไป ก็ไม่เห็นหญิงอันเป็นสตรีผู้เป็นที่รักนั้นแล้ว จึงได้แลเห็นพระบรมศาสดาในที่ๆ เขายืนอยู่นั่นเอง ขณะนั้นองค์พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกับบุรุษที่ยืนอยู่ในที่นั่นว่า
“แน่ะ ! ก็ชื่อว่าไฟ ประดุจเช่นดั่ง ไฟราคะ นั้น ย่อมไม่มี ,
ชื่อว่าโทษ ประดุจดั่งเช่นกับ โทษ คือโทสะ ย่อมไม่มี ,
ชื่อว่าทุกข์ ประดุจเช่นกับทุกข์ เพราะ การบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี
แม้สุข ที่ประดุจดังเช่น นิพพานสุข ย่อมไม่มีเหมือนกัน ” ดังนี้แล้ว
ชื่อว่าโทษ ประดุจดั่งเช่นกับ โทษ คือโทสะ ย่อมไม่มี ,
ชื่อว่าทุกข์ ประดุจเช่นกับทุกข์ เพราะ การบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี
แม้สุข ที่ประดุจดังเช่น นิพพานสุข ย่อมไม่มีเหมือนกัน ” ดังนี้แล้ว
พระองค์ทรงตรัสพระคาถาเป็นพระพุทธวัจนะ ดังนี้ว่า
“นัตถิ ราคสโม อคติ นัตถิ โทสสโม กลิ
นัตถิ ขันธาทิสา ทุกขา นัตถิ สันติปรัง สุขัง
“ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี, โทษเสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี,
ทุกข์ทั้งหลาย เสมอด้วยขันธ์ ย่อมไม่มี, สุขอื่นจากความสงบ ย่อมไม่มี,
(ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สุขวรรค ๔๒/๒๕/๓๗๑)
นัตถิ ขันธาทิสา ทุกขา นัตถิ สันติปรัง สุขัง
“ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี, โทษเสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี,
ทุกข์ทั้งหลาย เสมอด้วยขันธ์ ย่อมไม่มี, สุขอื่นจากความสงบ ย่อมไม่มี,
(ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สุขวรรค ๔๒/๒๕/๓๗๑)
ใน บทแห่งพระคาถาที่พระองค์ตรัสแสดงไว้ว่า ชื่อว่าไฟอื่นเสมอด้วยราคะไม่มี และโทสะนั้น ย่อมไม่มี ซึ่งความสามารถแห่งการปรากฏโดยความเร่าร้อนนี้ โดยอาการที่ไม่แสดงควัน อันปราศจากเปลวหรือถ่าน ย่อมลุกแต่ในภายในเท่านั้น ก็จักปรากฏโดยความพินาศแห่งผู้ถูกเผา คือ จิตนั่นเอง
แม้ โทษอื่นอันใด จะเสมอด้วยโทษ คือโทสะนั้น ย่อมไม่มีเพราะอกุศลกรรม คือปาณาติบาต เป็นต้น ที่เป็นกายทุจริตกรรมก็ล้วนแต่มีโทสะเป็นมูลราก ปรากฏโดยอาการทำร้าย ทำลายและเบียดเบียน สร้างความพินาศทั้งผู้ที่เป็นเจ้าของ และผู้อื่นรอบข้างที่ต้องอาศัยฤทธิ์ที่เกิดจากโทสะนั้นๆ ทำความมอดไหม้เสียหายทั้งในอัตภาพนี้ และในอัตภาพหน้า
ชื่อ ว่า เปลวไฟ ที่เป็นความร้อนนั้น อันลุกโชนไปด้วยกองฟืน กองถ่าน หรือด้วยกองน้ำมัน ทำบุคคลเมื่อต้องเข้าถึงภัยแล้ว ก็ถึงที่สุดด้วยความร้อน ก็มีความตายเป็นที่สิ้นสุดในอัตภาพเดียว แต่ความตายอันเป็นความมอดไหม้โดยอาศัยโทษที่เกิดจากโทสะนั้น พึงทำสัตว์ทั้งหลายให้ไม้ในอัตภาพที่นับประมาณมิได้ อันได้แก่โทษในทุคติ วินิบาต นรก นั่นเอง
พระคาถาที่พระองค์ตรัสแสดงไว้ว่า ชื่อว่าทุกข์อื่นเสมอด้วยขันธ์ทั้งหลาย ย่อมไม่มี ก็ขันธ์ ๕ ทั้งหลายนั้นแหล่ะชื่อว่าเป็นตัวทุกข์ บุคคลพึงยังอัตภาพให้อยู่ได้ ก็ด้วยการบริหารขันธ์ ดังนั้น ชื่อว่าทุกข์อย่างอื่นที่นอกจากขันธ์ทั้งหลาย ที่บุคคลพึงบริหารอยู่ ย่อมไม่มี
พระพุทธองค์ตรัสแสดงว่า แม้สุขอื่นที่ยิ่งกว่าพระนิพพาน ย่อมไม่มีนั่น การเสวยความสุขจำแนกแล้วได้ ๒ ทาง คือกายิกสุข ได้แก่ ความสุขทางกาย และเจตสิกสุข ได้แก่ ความสุขทางใจ เมื่อความสุขทางกาย กับความสุขทางใจ ซึ่ง ความสุขทั้งสองนี้ ยังไม่พ้นไปจากกองแห่งขันธ์ แต่พระนิพพานเป็นธรรมที่พ้นไปจากสังขตธรรม เป็นสันติสุข ไม่มีสุขอื่นใดยิ่งกว่า
พระ พุทธองค์ทรงแสดงธรรมโดยวาระแห่งฤทธิ์ กระทำให้บุรุษผู้เป็นเจ้าบ่าว มิให้แลเห็นซึ่งนางกุมาริกาได้ เพื่อจะได้ให้มีจิตใส่ใจในการฟังธรรมเหล่านั้นได้ ซึ่งในขณะที่ฝ่ายบุรุษกำลังสดับกระแสแห่งพระธรรม ฝ่ายสตรี คือ นางกุมาริกาผู้เป็นว่าที่เจ้าสาว ก็กำลังสดับพระธรรมพร้อมกันไปด้วย ก็เขาเหล่านั้นต่างฝ่ายต่างมิได้เห็นซึ่งกันและกัน ด้วยอำนาจแห่งอิทธิฤทธิ์ที่พระพุทธองค์ทรงบันดาล ต่างก็น้อมใจพิจารณาเนื้อความไปตามกระแสแห่งพระธรรม ในกาลที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงจบการแสดงพระธรรมเทศนานั้น เขาทั้งสองก็บรรลุเป็นพระอริยบุคคล ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล
พระพุทธองค์ทรงคลายอิทธิฤทธิ์ ทรงกระทำอาการให้ทั้งคู่เห็นซึ่งกันและกันตามปกติ พระพุทธองค์ทรงประทานของขวัญประทานในวันแต่งงาน ที่มีค่าอันสูงสุดแห่งสัมโมทนียกถา คือ การแสดงพระธรรมเทศนา
พระองค์ทรงพระประทานอมฤตธรรมอันสูงสุด ให้กับคู่บ่าวสาวได้ดื่มกิน ได้แก่ พระนิพพาน ทรงพระประทานสมบัติอันสูงสุดอัน มิใช่สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ มิใช่ทองคำ แก้วมุกดา แก้วประพาฬ แก้วอินทนิล หรือแก้วมณี แต่เป็นโลกุตตรสมบัติ ให้แก่คู่อวาหมงคลทั้งสองได้เสวย ดังนี้แล
บุญญสิกขา พิมพ์คัดลอกเป็นธรรมทาน
จาก หนังสือ “บทสวดมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร มหาราชปริตร พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์
เรียบเรียบโดย คุณสุนัฐชา ฉายาวัฒนะ (กลุ่มเพื่อนร่วมธรรม)
ป้ายกำกับ:
พระพุทธองค์ ทรงประทานของขวัญวันแต่งงาน
เหตุที่หลวงปู่เสาร์ สอนให้ภาวนาพุทโธ เพราะพุทโธเป็นกิริยาของใจ
หลวงปู่เสาร์ กันตสีโล (บิดาสายวิปัสสนากรรมฐาน ผู้เป็นอาจารย์ของหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต)
ทำไมหลวงปู่เสาร์สอนภาวนาพุทโธเพราะพุทโธเป็นกิริยาของใจ
หลวง พ่อก็เลยเคยแอบถามท่านว่าทำไมจึงต้องภาวนา พุทโธ ท่านก็อธิบายให้ฟังว่าที่ให้ภาวนาพุทโธนั้น เพราะพุทโธ เป็นกิริยาของใจ ถ้าเราเขียนเป็นหนังสือเราจะเขียน พ-พาน-สระ อุ-ท-ทหาร สะกด สระ โอ ตัว ธ-ธง อ่านว่า พุทโธ อันนี้เป็นเพียงแต่คำพูด เป็นชื่อของคุณธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อจิตภาวนาพุทโธแล้วมันสงบวูบลงไปนิ่งสว่างรู้ตื่นเบิกบาน
พอ หลังจากคำว่า พุทโธ มันก็หายไปแล้ว ทำไมมันจึงหายไป เพราะจิตมันถึงพุทโธแล้ว จิตกลายเป็นพุทธะ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นคุณธรรมที่ทำจิตให้เป็นพุทธะ เกิดขึ้นในจิตของท่านผู้ภาวนา พอหลังจากนั้นจิตของเราจะหยุดนึกคำว่าพุทโธ แล้วก็ไปนิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน สว่างไสว กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ มันแถมมีปีติ มีความสุขอย่างบอกไม่ถูก
อัน นี้มันเป็น พุทธะ พุทโธ โดยธรรมชาติเกิดขึ้นที่จิตแล้ว พุทโธ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เป็นกิริยาของจิต มันใกล้กับความจริง แล้วทำไมเราจึงมาพร่ำบ่น พุทโธๆๆ ในขณะที่จิตเราไม่เป็นเช่นนั้น ที่เราต้องมาบ่นว่า พุทโธนั่นก็เพราะว่า เราต้องการจะพบพุทโธ
ใน ขณะที่พุทโธยังไม่เกิดขึ้นกับจิตนี้ เราก็ต้องท่องพุทโธๆๆๆ เหมือนกับว่าเราต้องการจะพบเพื่อนคนใดคนหนึ่ง เมื่อเรามองไม่เห็นเขาหรือเขายังไม่มาหาเรา เราก็เรียกชื่อเขา ทีนี้ในเมื่อเขามาพบเราแล้ว เราได้พูดจาสนทนากันแล้ว ก็ไม่จำเป็นจะต้องไปเรียกชื่อเขาอีก ถ้าขืนเรียกซ้ำๆ เขาจะหาว่าเราร่ำไร ประเดี๋ยวเขาด่าเอา
ที นี้ในทำนองเดียวกันในเมื่อเรียก พุทโธๆๆ เข้ามาในจิตของเรา เมื่อจิตของเราได้เกิดเป็นพุทโธเอง คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน จิตของเราก็หยุดเรียกเอง ทีนี้ถ้าหากว่าเรามีความรู้สึกอันหนึ่งแทรกขึ้นมา เอ้าควรจะนึกถึงพุทโธอีก พอเรานึกขึ้นมาอย่างนี้สมาธิของเราจะถอนทันที แล้วกิริยาที่จิตมันรู้ ตื่น เบิกบาน จะหายไป เพราะสมาธิถอน
ที นี้ตามแนวทางของครูบาอาจารย์ที่ท่านแนะนำพร่ำสอน ท่านจึงให้คำแนะนำว่า เมื่อเราภาวนาพุทโธไปจิตสงบวูบลงนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านก็ให้ประคอบจิตให้อยู่ในสภาพปกติอย่างนั้น ถ้าเราสามารถประคองจิตให้อยู่ในสภาพอย่างนั้นได้ตลอดไป จิตของเราจะค่อยสงบ ละเอียดๆๆ ลงไป
ใน ช่วงเหตุกราณ์ต่าง ๆ มันจะเกิดขึ้น ถ้าจิตส่งกระแสออกนอกเกิดมโนภาพ ถ้าวิ่งเข้ามาใน จะเห็นอวัยวะภายในร่างกายทั่วหมด ตับ ไต ไส้ พุง เห็นหมด แล้วเราจะรู้สึกว่ากายของเรานี่เหมือนกับแก้วโปร่ง ดวงจิตที่สงบ สว่างเหมือนกับดวงไฟที่เราจุดไว้ในพลบครอบ แล้วสามารถเปล่งรัศมีสว่างออกมารอบ ๆ จนกว่าจิตสว่างไสวอยู่ดวงเดียว ร่างกายตัวตนหายหมด
ถ้า หากจิตดวงนี้มีสมรรถภาพพอที่จะเกิดความรู้ความเห็นอะไรได้ จิตจะย้อนกายลงมาเบื้องล่าง เห็นร่างกายตัวเองนอนตายเหยียดยาวอยู่ขึ้นอึด เน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป
สมาธิในอริยมรรคอริยผลสงบละเอียดเรียวไปเหมือนปลายเข็ม
ที นี้ถ้าหากว่า จิตย้อนมามองรู้เห็นอย่างนี้ จิตของผู้นั้นเดินทางถูกต้องตามแนวทางอริยมรรค อริยผล ถ้าหากว่า สงบ สว่าง นิ่ง รู้ ตื่น เบิกบาน ร่างกายตัวตนหาย แล้วก็สงบละเอียดเรียวไปเหมือนปลายเข็ม อันนี้เรียกว่า สมาธิขั้นฌานสมาบัติ ไปแบบฤาษีชีไพร
ถ้า หากจิตของผู้ปฏิบัติไปติดอยู่ในสมาธิแบบฌานสมาบัติ มันก็เดินฌานสมาบัติ ทีนี้ฌานสมาบัตินี้มันเจริญง่ายแล้วก็เสื่อมง่าย ในเมื่อมันเสื่อมไปแล้วมันก็ไม่มีอะไรเหลือ แต่ถ้าหากสมาธิแบบอริยมรรค
อริยผลนี้ ในเมื่อเราได้สมาธิซึ่งเกิดภูมิความรู้ความเห็น เช่น เห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไปแล้ว
ภาย หลังจิตของเราก็จะบอกว่าร่างกายเน่าเปื่อยเป็นของปฏิกูลก็ได้ อสุภกรรมฐาน เนื้อหนังพังลงไปแล้วยังเหลือแต่โครงกระดูก ก็ได้ อัฐิกรรมฐาน ทีนี้เมื่อโครงกระดูกสลายตัวแหลกไปในผืนแผ่นดิน จิตก็สามารถกำหนดรู้ ได้ ธาตุกรรมฐาน
แต่ เมื่อในช่วงที่จิตเป็นไปนี่ จิตจะไม่มีความคิด ต่อเมื่อถอนจากสมาธิมาแล้วสิ่งรู้หายไปหมด พอรู้ว่ามันมาสัมพันธ์กับกายเท่านั้นเอง จิตตรงนี้จะอธิบายให้ตัวเองฟังว่านี่คือ การตาย ตายแล้วมันก็ขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล เนื้อหนังพังไปเป็นของปฏิกูลน่าเกลียดโสโครก
ใน เมื่อเนื้อหนังพังไปหมดแล้วก็ยังเหลือแต่โครงกระดูก ทีนี้โครงกระดูกมันก็แหลกละเอียดหายจมลงไปในผืนแผ่นดิน ทำไมมันจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะเหตุว่าร่างกายของคนเรานี้มันมีแต่ธาตุสี่ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน
ถ้า จิตมันเกิดภูมิความรู้ขึ้นมาอย่างนี้ ภาวนาในขณะเดียว ความเป็นไปของจิตที่รู้เห็นไปอย่างนี้ได้ทั้งอสุภกรรมฐาน อัฐิกรรมฐาน ธาตุกรรมฐานประโยคสุดท้าย ไหนเล่าสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขามีที่ไหน จิตรู้อนัตตา เรียกว่า อนัตตานุปัสสนาญาณ ภาวนาทีเดียวได้ทั้งสมถะ ได้ทั้งวิปัสสนา
ความเกี่ยวเนื่องแห่งมรรคและผล
เมื่อไม่มีสมาธิ ไม่มีฌานไม่มีวิปัสสนา
การ กำหนดหมายสิ่งปฏิกูลน่าเกลียด หรือกำหนดหมายรู้โครงกระดูก แล้วก็กำหนดหมายรู้ธาตุ ๔ ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นสมถกรรมฐาน ส่วนความรู้ที่ว่าสัตว์ บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน เป็นวิปัสสนากรรมฐาน เพราะฉะนั้นท่านนักปฏิบัติทั้งหลาย สมถกรรมฐานวิปัสสนากรรมฐาน เป็นคุณธรรมอาศัยซึ่งกันและกัน
เมื่อ ไม่มีสมาธิ ไม่มีฌาน ไม่มีฌาน ไม่มีวิปัสสนา เมื่อไม่มีวิปัสสนาก็ไม่มีวิชชาความรู้แจ้งเห็นจริง เมื่อไม่รู้แจ้งเห็นจริงจิตไม่ปล่อยวาง ก็ไม่เกิดวิมุตติความหลุดพ้น สายสัมพันธ์ มันก็ไปกันอย่างนี้ อันนี้เป็นแนวทางการปฏิบัติกรรมฐาน ในสายของหลวงปู่เสาร์
เพราะ ฉะนั้น เราอาจจะเคยได้ฟังว่า ภาวนาพุทโธ แล้วจิตได้แต่สมถกรรมฐาน ไม่ถึงวิปัสสนาอนุสติ ๑๐ พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ สีลานุสติ จาคานุสติ อุปสมานุสติ ภาวนาแล้วจิตสงบหรือบริกรรม ภาวนา เมื่อจิตสงบแล้วถึงแค่สมถกรรมฐาน เพราะว่าภาวนาไปแล้ว มันทิ้งคำภาวนา
เพราะ ฉะนั้น คำว่า พุทโธ ๆๆ นี้มันไม่ได้ติดตามไปกับสมาธิ พอจิตสงบเป็นสมาธิแล้วมันทิ้งทันที ทิ้งแล้วมันก็ได้แต่สงบนิ่งแต่อนุสติ ๒ คือ กายคตานุสติ อานาปานสติ ถ้าตามหลักวิชาการ ท่านว่า ได้ทั้งสมถะทั้งวิปัสสนา ทีนี้ถ้าเราภาวนาพุทโธ เมื่อจิตสงบนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน ถ้ามันเพ่งออกไปข้างนอก ไปเห็นภาพนิมิต
ถ้า หากว่านิมิตนิ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นสมถกรรมฐาน ถ้าหากนิมิตเปลี่ยนแปลงก็เป็นวิปัสสนากรรมฐาน ทีนี้ถ้าหากจิตทิ้งพุทโธ แล้วจิตอยู่นิ่งสว่าง จิตวิ่งเข้ามาข้างใน มารู้เห็นภายในกาย รู้อาการ ๓๒ รู้ความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งร่างกายปกติแล้วมันตายเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวไป มันเข้าไปกำหนดรู้ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะคือกายกับจิตมันก็เป็นวิปัสสนา กรรมฐาน มันก็คลุกเคล้าอยู่ในอันเดียวกันนั้นแหละ
แล้ว อีกประการหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเราจะเคยได้ยินได้ฟังว่า สมาธิขั้นสมถะมันไม่เกิดภูมิความรู้ อันนี้ก็เข้าใจผิด ความรู้แจ้งเห็นจริง เราจะรู้ชัดเจนในสมาธิขั้นสมถะ เพราะสมาธิขั้นสมถะนี่มันเป็นสมาธิที่อยู่ในฌาน สมาธิที่อยู่ในฌานมันเกิดอภิญญา ความรู้ยิ่งเห็นจริง
แต่ ความรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างในขณะที่จิตอยู่ในสมาธิขั้นสมถะ มันจะรู้เห็นแบบชนิดไม่มีภาษาที่จะพูดว่าอะไรเป็นอะไรสักแต่ว่ารู้สักแต่ว่า เห็น เช่น มองเห็นการตาย ตายแล้วมันก็ไม่ว่า เน่าแล้วมันก็ไม่ว่า ผุพังสลายตัวไปแล้ว มันก็ไม่ว่าในขณะที่มันรู้อยู่นั่น แต่เมื่อมันถอนออกมาแล้ว ยังเหลือแต่ความทรงจำ จิตจึงจะมาอธิบายให้ตัวเองฟังเพื่อความเข้าใจ ทีหลังเรียกว่า เจริญวิปัสสนา
บันทึกโดย พระราชสังวรญาณ (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา
Subscribe to:
Posts (Atom)