เปิดสูตรลงทุน..พระพุทธเจ้า นัยอันลึกล้ำกับ ท่านว.วชิรเมธี
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
ขอบคุณความ 'ผิดพลาด' ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม ขอบคุณความ 'ไม่รู้' ทำให้รู้จักครูชื่อประสบการณ์ การลงทุนทางโลก-ทางพุทธ
หน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย มีนัดหมายกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek แม้การลงทุนตามแนวทางของพระพุทธเจ้าจะไม่ใช่หัวข้อหลักแห่งเจตนาที่เรา มากราบขอความกระจ่าง แต่พระอาจารย์ก็ให้ความสว่างตอบได้ฉะฉานโดยประยุกต์พระคัมภีร์เข้ากับภูมิ รู้ร่วมสมัย อีกทั้งใช้ภาษาที่แม้แต่คนที่รู้เรื่องพระพุทธศาสนาเพียงผิวเผินก็ตื่นรู้ ได้
"พระยุคใหม่ต้องปรับพระพุทธศาสนา ให้ร่วมสมัยถึงจะอยู่ร่วมกับสังคมไทยต่อไปได้ อาตมาเรียกว่าจุดยืนเดิมแต่บนบริบทใหม่ มิเช่นนั้นพระจะอยู่อย่างมีตัวตนแต่ไม่มีความหมาย" ท่านว่า
ทุกๆ วันท่าน ว.วชิรเมธี จะอ่านหนังสือพิมพ์วันละ 6-7 ฉบับ ท่านบอกว่าวิถีชีวิตประจำวันเราต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่ศึกษาหาความรู้เราก็ไม่มีเครื่องมือมาอธิบายชีวิต ชีวิตคนเราอย่ามีแต่ความรู้ ต้องมีความลึก สิ่งที่อาตมาทำเรียกว่าการเผยแผ่ศาสนา "เชิงรุก" ให้ทั้งความรู้และความลึก
ในทางพุทธศาสนามีคำว่า เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ หรือ ธัมมิกเศรษฐศาสตร์ หรือ Buddhist Economics มีมั้ย! คำว่า Buddhist Investment...?? เราถามท่าน
"มี" ท่านว่า ค้นดูก็พบว่ามีการปรับใช้ หลักโภควิภาค 4 ในทางพระพุทธศาสนาคือการใช้จ่ายทรัพย์โดยจัดสรรเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1 ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตัวเองและทำประโยชน์ 2 ส่วน ใช้ลงทุนประกอบการงาน อีก 1 ส่วน เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น
ท่าน ว.วชิรเมธี ไม่ได้พูดถึงหลักโภควิภาค 4 ตรงๆ แต่ได้เกริ่นนำด้วยคุณสมบัติของนักลงทุนที่ดี 3 ประการ ท่านว่าต้องมี
1. จักขุมา คือ วิสัยทัศน์ ต้องมีสายตาที่ยาวไกลเป็นคนมองการณ์ไกล
2. วิธุโร เป็นนักบริหารจัดการที่ดีและมีความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ซึ่งรวมความถึงต้องมีธรรมาภิบาลด้วย
3. นิสสยสัมปันโน ต้องมีกัลยาณมิตรเกื้อกูลอุปถัมภ์ ภาษาสมัยใหม่เรียกว่าต้องมี กู้ดคอนเนคชั่น ถ้าไม่มีคอนเนคชั่นจะทำมาค้าขายกับใครได้ล่ะ..ใช่มั้ย!
พระพุทธเจ้าตรัสว่าต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่างนี้ถึงจะเป็นนักลงทุนที่ดีได้
ทีนี้มาพูดถึงการบริหารจัดการเรื่องการเงินบ้าง นี่มาถึงหลักพุทธเศรษฐศาสตร์แล้วนะ ถ้าเราได้เงินมาแล้วจะบริหารจัดการยังไง! ในทางพระพุทธศาสนาแนะนำว่า...
1. เก็บเป็นเงิน สำรองคงคลัง สำหรับความมั่นคงให้ชีวิตยามเจ็บป่วย ยามฉุกเฉิน
2. ใช้เงินนั้นมาซื้ออาหารการกินเครื่องอุปโภคบริโภคจับจ่ายใช้สอยเพื่อดูแลตัวเอง และบุคคลอันเป็นที่รักให้ กินอิ่มนอนอุ่น
3. นำเงินนั้นไปลงทุนในลักษณะ เงินต่อเงิน
4. เสียภาษีท่านใช้คำว่า "ราชพลี" (ทำเพื่อสังคม) เมื่อเราได้ผลประโยชน์จากผืนแผ่นดินนี้ก็ต้องแบ่งปันให้กับแผ่นดิน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้มาคุณเป็นหนี้บุญคุณประเทศนี้ทั้งนั้น
5. บำรุงสมณะชีพราหมณ์นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ที่เป็น เสาหลักในทางธรรม ในทางสติปัญญาให้กับคนในสังคม
"นี่คือหลักการใช้เงินของพระพุทธเจ้า ห้าข้อนี้ไม่มีทางล้าสมัย ถ้าทำได้ชีวิตจะมีแต่เป็นสุข"
พระอาจารย์ไขปริศนาธรรมเรื่องการลงทุนต่อไปว่า ในโลกความเป็นจริงถ้าเรามีเงินก้อนหนึ่งเราก็ต้องฝากแบงก์ พระพุทธเจ้าแนะนำว่าต้องเอาเงินมาสร้างความมั่นคงก่อน และแบ่งส่วนหนึ่งมากินมาใช้ครอบครัวต้องกินอิ่มนอนอุ่นตรงนี้สำคัญ ท่านบอกว่ามีเงินให้เอามาใช้เพราะเงินเป็น "ปัจจัย" ไม่ใช่ "เป้าหมาย" เพราะฉะนั้นมีเงินต้องใช้เงิน เงินอีกส่วนหนึ่งให้เอาไปทำธุรกิจหรือลงทุนทำให้มัน "งอกเงย"
วัฏจักรของการลงทุนก็คือวัฏจักรของการเวียนว่ายแห่งชีวิต พระอาจารย์ อธิบายเรื่องการหากำไรในทางพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องผิดขออย่างเดียวให้มันเป็น สัมมาอาชีพ ไม่ทำให้ผู้อื่นมีความทุกข์ หรือทำกำไรบนความเดือดร้อนของผู้อื่นอันนี้รับไม่ได้ หลักในการทำธุรกิจในทางพระพุทธศาสนาได้ให้ไว้สั้นๆ คือ ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าหากินโดยสุจริตก็ขึ้นชื่อว่าเป็นนักธุรกิจที่ดีได้
คำว่า ไม่เบียดเบียนตน หมายความว่า คุณต้องเป็นนักธุรกิจหรือนักลงทุนที่ดีและเป็นมนุษย์ที่ดี คุณทำมาหากินไป สุขภาพคุณต้องดี ถ้าคุณประสบความสำเร็จแต่ชีวิตเครียดจัด คนในครอบครัวไม่พูดหากัน ต้องกินยานอนหลับทุกคืน อันนี้เรียกว่าเบียดเบียนตัวเอง
คำว่า เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสังคม อาชีพของคุณต้องไม่ทำให้สังคมเสียหาย เอาเปรียบคนอื่น มัวเมาสังคม ทำให้คนเป็นทาสสุรายาเสพติด ทำให้คนในสังคมมีค่านิยมที่ผิดๆ แล้วถ้าคุณได้เงินมาจากการคอร์รัปชัน เหล่านี้คือการเบียดเบียนสังคม ถ้าคุณไม่เบียดเบียนตน และไม่เบียดเบียนสังคมคุณจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
"นักลงทุนหรือนักธุรกิจที่ดีจะต้อง "เจริญสติ" (ระลึกรู้ในสิ่งที่ทำ) อยู่เสมอ ถ้าคุณไม่เจริญสติอยู่เสมอคุณอาจจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแต่คุณจะ เป็นมนุษย์ที่ล้มเหลว"
พระพุทธศาสนาบอกว่า "การลงทุนมนุษย์" เป็นการลงทุน สูงที่สุด และสำคัญที่สุด ยกตัวอย่าง ถ้าคุณมีลูก
1. ต้องห้ามปรามจากความชั่ว
2. สั่งสอนให้เขาเป็นคนดี
3. ให้ศึกษาหาความรู้
4. ดูแลให้เขาเลือกคู่ครองที่ดี
5. เมื่อถึงเวลาให้เขียนพินัยกรรมมอบมรดกให้ถูกต้อง นี่คือการลงทุนมนุษย์
"ใน ทางพุทธศาสนาเน้นมากว่า ก่อนที่จะลงทุนทำธุรกิจใดๆ ให้ลงทุนในตัวมนุษย์ให้ได้เสียก่อน ถ้ามีคนคุณภาพก็จะมีธุรกิจที่มีคุณภาพ แต่ถ้าคุณไม่มีคนที่มีคุณภาพก็จะไม่สามารถสร้างธุรกิจที่มีคุณภาพขึ้นมาได้ ฉะนั้นการลงทุนในทางพุทธศาสนาจึงเริ่มต้นที่การลงทุนในตัวมนุษย์ก่อน ถามว่ามนุษย์คนไหนล่ะ! มนุษย์คนแรกที่จะต้องถูกลงทุนก่อนคือ..ตัวเราเอง"
ท่าน ว.วชิรเมธี ยกคำให้ฟังว่า ถ้าเราสร้างตึก 10 ชั้น ผ่านไป 10 ปีตึกนี้ก็ยังสูง 10 ชั้นเหมือนเดิม แต่การลงทุนให้ความรู้เราส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ 10 ปี เขาอาจจะกลับมาพร้อมกับธุรกิจหมื่นล้านก็ได้ใครจะรู้ คนนั้นมีพัฒนาการแต่วัตถุนั้นอยู่แค่ไหนก็หยุดนิ่งอยู่แค่นั้น การลงทุนที่ดีที่สุดก็คือ การลงทุนพัฒนา (คน) มนุษย์ ลงทุนดีก็เป็นมนุษย์ที่ดี ถ้าลงทุนไม่ดีก็เป็นมนุษย์ที่แย่ ในต่างประเทศเขาให้ความสำคัญมากกับ "ทุนมนุษย์" คำว่า "ทุน" ที่จริงอย่าไปมองแค่ "เงิน" มองแค่นี้มันจะทำให้ชีวิตเรา แคบ และไม่ลึก
หลักการลงทุนสูตรพระพุทธเจ้านอกจากไม่ล้าสมัยแล้ว ยังเปิดกว้างและร่วมสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ!! เรา "ตื่นรู้" ขึ้นมาอีกนิด ขณะที่ ท่าน ว.วชิรเมธี ยังคงทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของท่านต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไม่รู้เหน็ดเหนื่อยด้วยรอยยิ้มแห่งธรรมและศรัทธาอันแรงกล้า
----------
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/home/d...มธี.html
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
ขอบคุณความ 'ผิดพลาด' ทำให้ฉลาดยิ่งกว่าเดิม ขอบคุณความ 'ไม่รู้' ทำให้รู้จักครูชื่อประสบการณ์ การลงทุนทางโลก-ทางพุทธ
หน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิมุตตยาลัย มีนัดหมายกับกรุงเทพธุรกิจ BizWeek แม้การลงทุนตามแนวทางของพระพุทธเจ้าจะไม่ใช่หัวข้อหลักแห่งเจตนาที่เรา มากราบขอความกระจ่าง แต่พระอาจารย์ก็ให้ความสว่างตอบได้ฉะฉานโดยประยุกต์พระคัมภีร์เข้ากับภูมิ รู้ร่วมสมัย อีกทั้งใช้ภาษาที่แม้แต่คนที่รู้เรื่องพระพุทธศาสนาเพียงผิวเผินก็ตื่นรู้ ได้
"พระยุคใหม่ต้องปรับพระพุทธศาสนา ให้ร่วมสมัยถึงจะอยู่ร่วมกับสังคมไทยต่อไปได้ อาตมาเรียกว่าจุดยืนเดิมแต่บนบริบทใหม่ มิเช่นนั้นพระจะอยู่อย่างมีตัวตนแต่ไม่มีความหมาย" ท่านว่า
ทุกๆ วันท่าน ว.วชิรเมธี จะอ่านหนังสือพิมพ์วันละ 6-7 ฉบับ ท่านบอกว่าวิถีชีวิตประจำวันเราต้องตามให้ทันการเปลี่ยนแปลง ถ้าเราไม่ศึกษาหาความรู้เราก็ไม่มีเครื่องมือมาอธิบายชีวิต ชีวิตคนเราอย่ามีแต่ความรู้ ต้องมีความลึก สิ่งที่อาตมาทำเรียกว่าการเผยแผ่ศาสนา "เชิงรุก" ให้ทั้งความรู้และความลึก
ในทางพุทธศาสนามีคำว่า เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ หรือ ธัมมิกเศรษฐศาสตร์ หรือ Buddhist Economics มีมั้ย! คำว่า Buddhist Investment...?? เราถามท่าน
"มี" ท่านว่า ค้นดูก็พบว่ามีการปรับใช้ หลักโภควิภาค 4 ในทางพระพุทธศาสนาคือการใช้จ่ายทรัพย์โดยจัดสรรเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 1 ส่วน ใช้จ่ายเลี้ยงตัวเองและทำประโยชน์ 2 ส่วน ใช้ลงทุนประกอบการงาน อีก 1 ส่วน เก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น
ท่าน ว.วชิรเมธี ไม่ได้พูดถึงหลักโภควิภาค 4 ตรงๆ แต่ได้เกริ่นนำด้วยคุณสมบัติของนักลงทุนที่ดี 3 ประการ ท่านว่าต้องมี
1. จักขุมา คือ วิสัยทัศน์ ต้องมีสายตาที่ยาวไกลเป็นคนมองการณ์ไกล
2. วิธุโร เป็นนักบริหารจัดการที่ดีและมีความเชี่ยวชาญในงานที่ทำ ซึ่งรวมความถึงต้องมีธรรมาภิบาลด้วย
3. นิสสยสัมปันโน ต้องมีกัลยาณมิตรเกื้อกูลอุปถัมภ์ ภาษาสมัยใหม่เรียกว่าต้องมี กู้ดคอนเนคชั่น ถ้าไม่มีคอนเนคชั่นจะทำมาค้าขายกับใครได้ล่ะ..ใช่มั้ย!
พระพุทธเจ้าตรัสว่าต้องมีคุณสมบัติ 3 อย่างนี้ถึงจะเป็นนักลงทุนที่ดีได้
ทีนี้มาพูดถึงการบริหารจัดการเรื่องการเงินบ้าง นี่มาถึงหลักพุทธเศรษฐศาสตร์แล้วนะ ถ้าเราได้เงินมาแล้วจะบริหารจัดการยังไง! ในทางพระพุทธศาสนาแนะนำว่า...
1. เก็บเป็นเงิน สำรองคงคลัง สำหรับความมั่นคงให้ชีวิตยามเจ็บป่วย ยามฉุกเฉิน
2. ใช้เงินนั้นมาซื้ออาหารการกินเครื่องอุปโภคบริโภคจับจ่ายใช้สอยเพื่อดูแลตัวเอง และบุคคลอันเป็นที่รักให้ กินอิ่มนอนอุ่น
3. นำเงินนั้นไปลงทุนในลักษณะ เงินต่อเงิน
4. เสียภาษีท่านใช้คำว่า "ราชพลี" (ทำเพื่อสังคม) เมื่อเราได้ผลประโยชน์จากผืนแผ่นดินนี้ก็ต้องแบ่งปันให้กับแผ่นดิน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราได้มาคุณเป็นหนี้บุญคุณประเทศนี้ทั้งนั้น
5. บำรุงสมณะชีพราหมณ์นักปราชญ์ราชบัณฑิตผู้ที่เป็น เสาหลักในทางธรรม ในทางสติปัญญาให้กับคนในสังคม
"นี่คือหลักการใช้เงินของพระพุทธเจ้า ห้าข้อนี้ไม่มีทางล้าสมัย ถ้าทำได้ชีวิตจะมีแต่เป็นสุข"
พระอาจารย์ไขปริศนาธรรมเรื่องการลงทุนต่อไปว่า ในโลกความเป็นจริงถ้าเรามีเงินก้อนหนึ่งเราก็ต้องฝากแบงก์ พระพุทธเจ้าแนะนำว่าต้องเอาเงินมาสร้างความมั่นคงก่อน และแบ่งส่วนหนึ่งมากินมาใช้ครอบครัวต้องกินอิ่มนอนอุ่นตรงนี้สำคัญ ท่านบอกว่ามีเงินให้เอามาใช้เพราะเงินเป็น "ปัจจัย" ไม่ใช่ "เป้าหมาย" เพราะฉะนั้นมีเงินต้องใช้เงิน เงินอีกส่วนหนึ่งให้เอาไปทำธุรกิจหรือลงทุนทำให้มัน "งอกเงย"
วัฏจักรของการลงทุนก็คือวัฏจักรของการเวียนว่ายแห่งชีวิต พระอาจารย์ อธิบายเรื่องการหากำไรในทางพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องผิดขออย่างเดียวให้มันเป็น สัมมาอาชีพ ไม่ทำให้ผู้อื่นมีความทุกข์ หรือทำกำไรบนความเดือดร้อนของผู้อื่นอันนี้รับไม่ได้ หลักในการทำธุรกิจในทางพระพุทธศาสนาได้ให้ไว้สั้นๆ คือ ไม่เบียดเบียนตน ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ถ้าหากินโดยสุจริตก็ขึ้นชื่อว่าเป็นนักธุรกิจที่ดีได้
คำว่า ไม่เบียดเบียนตน หมายความว่า คุณต้องเป็นนักธุรกิจหรือนักลงทุนที่ดีและเป็นมนุษย์ที่ดี คุณทำมาหากินไป สุขภาพคุณต้องดี ถ้าคุณประสบความสำเร็จแต่ชีวิตเครียดจัด คนในครอบครัวไม่พูดหากัน ต้องกินยานอนหลับทุกคืน อันนี้เรียกว่าเบียดเบียนตัวเอง
คำว่า เบียดเบียนผู้อื่น หรือเบียดเบียนสังคม อาชีพของคุณต้องไม่ทำให้สังคมเสียหาย เอาเปรียบคนอื่น มัวเมาสังคม ทำให้คนเป็นทาสสุรายาเสพติด ทำให้คนในสังคมมีค่านิยมที่ผิดๆ แล้วถ้าคุณได้เงินมาจากการคอร์รัปชัน เหล่านี้คือการเบียดเบียนสังคม ถ้าคุณไม่เบียดเบียนตน และไม่เบียดเบียนสังคมคุณจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง
"นักลงทุนหรือนักธุรกิจที่ดีจะต้อง "เจริญสติ" (ระลึกรู้ในสิ่งที่ทำ) อยู่เสมอ ถ้าคุณไม่เจริญสติอยู่เสมอคุณอาจจะเป็นนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จแต่คุณจะ เป็นมนุษย์ที่ล้มเหลว"
พระพุทธศาสนาบอกว่า "การลงทุนมนุษย์" เป็นการลงทุน สูงที่สุด และสำคัญที่สุด ยกตัวอย่าง ถ้าคุณมีลูก
1. ต้องห้ามปรามจากความชั่ว
2. สั่งสอนให้เขาเป็นคนดี
3. ให้ศึกษาหาความรู้
4. ดูแลให้เขาเลือกคู่ครองที่ดี
5. เมื่อถึงเวลาให้เขียนพินัยกรรมมอบมรดกให้ถูกต้อง นี่คือการลงทุนมนุษย์
"ใน ทางพุทธศาสนาเน้นมากว่า ก่อนที่จะลงทุนทำธุรกิจใดๆ ให้ลงทุนในตัวมนุษย์ให้ได้เสียก่อน ถ้ามีคนคุณภาพก็จะมีธุรกิจที่มีคุณภาพ แต่ถ้าคุณไม่มีคนที่มีคุณภาพก็จะไม่สามารถสร้างธุรกิจที่มีคุณภาพขึ้นมาได้ ฉะนั้นการลงทุนในทางพุทธศาสนาจึงเริ่มต้นที่การลงทุนในตัวมนุษย์ก่อน ถามว่ามนุษย์คนไหนล่ะ! มนุษย์คนแรกที่จะต้องถูกลงทุนก่อนคือ..ตัวเราเอง"
ท่าน ว.วชิรเมธี ยกคำให้ฟังว่า ถ้าเราสร้างตึก 10 ชั้น ผ่านไป 10 ปีตึกนี้ก็ยังสูง 10 ชั้นเหมือนเดิม แต่การลงทุนให้ความรู้เราส่งลูกไปเรียนต่างประเทศ 10 ปี เขาอาจจะกลับมาพร้อมกับธุรกิจหมื่นล้านก็ได้ใครจะรู้ คนนั้นมีพัฒนาการแต่วัตถุนั้นอยู่แค่ไหนก็หยุดนิ่งอยู่แค่นั้น การลงทุนที่ดีที่สุดก็คือ การลงทุนพัฒนา (คน) มนุษย์ ลงทุนดีก็เป็นมนุษย์ที่ดี ถ้าลงทุนไม่ดีก็เป็นมนุษย์ที่แย่ ในต่างประเทศเขาให้ความสำคัญมากกับ "ทุนมนุษย์" คำว่า "ทุน" ที่จริงอย่าไปมองแค่ "เงิน" มองแค่นี้มันจะทำให้ชีวิตเรา แคบ และไม่ลึก
หลักการลงทุนสูตรพระพุทธเจ้านอกจากไม่ล้าสมัยแล้ว ยังเปิดกว้างและร่วมสมัยอย่างไม่น่าเชื่อ!! เรา "ตื่นรู้" ขึ้นมาอีกนิด ขณะที่ ท่าน ว.วชิรเมธี ยังคงทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุกของท่านต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด และไม่รู้เหน็ดเหนื่อยด้วยรอยยิ้มแห่งธรรมและศรัทธาอันแรงกล้า
----------
ที่มา:กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/home/d...มธี.html