9/09/2009

อานิสงส์การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

อานิสงส์การบูชาพระบรมสารีริกธาตุ





เรื่องธาตุวิวัณณเปตวัตถุ


โทษของการห้ามผู้ไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

เมื่อ พระพุทธเจ้าปรินิพานแล้ว พระเจ้าอชาตศัตรูได้ให้มีการการฉลองบูชาพระบรมสารีริกธาตุในกรุงราชคฤห์ มหาชนจำนวนมากต่างพากันไปบุชาตลอดเวลาหลายปี
ใน ชนเหล่านั้นมีครอบครัวอยู่ครอบครัวหนึ่ง ซึ่งภรรยา ธิดา สะใภ้ได้นำเครี่องสักการระไปบูชา ตัวของกุฎุมพี ( ผู้มีฐานะ ) กลับไม่เสื่อมใสและยังห้ามปราม แต่ผู้เป็นภรรยา ก็ไม่ฟังยังคงบูชาอยู่ เมื่อตายไปแล้วได้ไปบังเกิดในเทวโลกส่วนกุฎุมพีหลังจากตาย ได้ไปเกิดเป็นเปรตหนอนชอนไซปาก ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว
ครั้งนั้น พระมหากัสสปเถระได้แสดงอภินิหาร ให้เปรตปรากฏต่อฝุงชนแล้วชักถามถึงความเป็นมา
พระเถระถาม ท่านยืนอยู่ในอากาศมีกลิ่นเน่าเหม็น หนอนซอนไซปากเพราะทำกรรมอไรไว้เปรต ตอบ เมื่อก่อนกระผมเป็นผู้มั่นคั่งในกรุงราชคฤห์ ได้ห้ามปราบภริยา ไม่ให้ไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุจึงต้องทนทุกข์ทรมานอย่างนี้ ถ้าได้ไปเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งคงจะได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ เนื่องๆ เป็นแน่แท้
หมายเหตุ ขุททกนิกาย เปตวัตถุ และอรรถกถา เล่มที่ ๔๙ หน้า๔๓๙-๔๔๖




เรื่องนาคสมาลเถราปทาน




พระ เถระรูปนี้ได้ในอดีตชาตินั้น เมื่อพระพุทธเจ้าสิขีดับขันธนิพพานแล้ว ได้บูชาพระบรมสารีริกธาตุด้วยดอกแคฝอย ยังใจให้เลื่อมใสในการบูชานั้น เมื่อตายลงได้ไปเกิดในเทวโลกสลับการเกิดในมนุษย์โลก โดยไม่ไปทุคติเลย เมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในกัปปที่ ๑๕ ได้เป็นพระจักรพรรดิ ผลกุศลส่งมายังชาติปัจจุบันเกิดในตระกุลสูง มีใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาได้บวชไม่นานบรรลุอรหันตพร้อมปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญ ๖ วิโมกข์ ๘
ชื่อของท่านคือพระนาคสมาลเถระ

หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า๒๗๓-๒๗๕





เรื่องปภังกรเถราปทาน

พระ เถระรู)หนึ่งนี้ในอดีตชาติครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตร ท่านเป็นคนทำงานในป่า ได้เห็นพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า มีไม้ปกคลุม รกด้วยเถาวัลย์ จึงถางทางเพื่ออำนวยความสะดวกไหว้พระสถูปนั้น ๘ ครั้ง
หลัก จากหมดอายุขัยได้เกิดเป็นเทวดาและมนุษย์เท่านั้น เมื่อเป็นมนุษย์พรั่งพร้อมด้วยสมบัติมากมาย ถ้าท้องเทียวไปในป่าใด ป่านั้นจะพร้อมที่พัก
ไม่มีโรคภัยใด ๆ เลย ผิวพรรณเหมือนทอง มีรัศมีในชาติปัจจุบันได้บวชในพระพุทธศาสนา แล้วได้บรรลุอรหันพร้อม
ด้วย ปฎิภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘
หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่ม ๗๑ หน้า๘๐๓-๘๐๖


เรื่องกัปปรุขิยเถราปทาน




อานิสงส์ ที่ได้ไหว้พระบรมสารีริกธาตุ ของพระกัปปรุกขิยะเถระอดีตพระเถระรูปนี้ ได้ถวายผ้าหลายผืนที่สวยงาม ไว้ที่พระสถูปเจดีย์ของพระพุทธเจ้า
พระนามว่า สิทธัตถะ ในกัปปที่ ๙๔ นักจากภัททกัปปนี้
ผล ของกุศลคครั้งนั้น ทุกๆ สถานที่เกิดจะมีต้นกัลปพฤกษ์ พร้อมด้วยผ้ามากมายอยู่ด้วย สามารถนำมาแจกจ่ายกันได้ถ้วนหน้าในหมู่เพื่อนพ้อง ญาติๆในกัปปที่ ๗ นับจากภัททกัปปนี้ บุญกุศลได้ให้เกิดเป็นพระจักรพรรดิ ถึง ๓ครั้ง มีพระนานว่าสุเจละผลบุญนี้ยังนำส่งถึงชาติปัจจุบันเกิดในตระกูลผู้พรั่ง พร้อมเสื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อฟังธรรมแล้วเกิดศรัทธาของบวช
บวชไมนานนักก็บรรลุอรหันพร้อมด้วยคุณวิเศษ อันมี
ปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘
หมายเหตุ ทุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๑๖๕-๑๖๖


เรื่องธาตุปูชกเถราปทาน




พระ เถระรูปนี้ ในอดีตชาติ เมื่อพระพุทธเจ้าสิทธัตถะดับขันธปรินิพานแล้ว ท่านได้ชักนำพวกญาติของท่านให้บูชาพระบรมสารีริกธาตุ ผลของกุสลดังกล่าว ยังท่านให้ไปสู่สุคิติโดยตลอดจวบจนถึงปัจจุบัน ได้บวชแล้วบรรลุอรหัน
หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๒ หน้า๑๓๑

เรื่อคันธมาลิยเถราปทาน




พระ เถระรูปนี้ ในอดีตชาติ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนานว่าสิทธัตถะ กัปปที่ ๙๔ จากกัปปนี้ถอยหลังไป ได้บูชาของหอมมี ไม้จันท์ กำยาน การบูร และกฤษณา เอาดอกมะลิอาบแต่งพระเจดีย์ ด้วยบุญดังกส่าวนี้ ได้เกิดเป็นเทวดา มนุษย์เท่านั้น จวบจนชาติปัจจุบันเกิดในตระกุลอันมั่งคั่ง เสื่อมใส่ในพระพุทธศาสนา บวชไม่นานสำเร็จอรหัน พร้อมด้วย
ปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘
หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า ๓๓๘-๓๓๙





เรื่องถัมภาโรปกเถราปทาน




พระเถระรูปนี้ ในอดีตชาติครั้งพระพุทธเจ้าอัตถทัสสีดับขันธปรินิพพานแล้ว
ท่าน มีความเสื่อมใส ได้ปักเสายกธงไว้ที่พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมได้ร้อยดอกมะลิประดับเป็นอันมาก บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น หลังจากมีชีวิตจนชั่วอายุนั้น ตายแล้วเกิดในเทวโลก และมนุษย์โลกเท่านั้น ในชาติปัจจุบัน เกิดในตระกูลสูง เสื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บวชและบรรลุอรหันในที่สุด พร้อมด้วยปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘
หมายเหตุ ทุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า ๔๘๑-๔๘๓

เรื่องอธิฉัตติเถราปทาน




พระเถระรูปนี้ เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าอัตถทัสสี ดับขันธปรินิพพานแล้ว
เสียใจว่าตนเองหมดโอกาสที่ดีแล้ว คิดว่าควรจะทำชาตินี้ให้มีประโยชน์
จึง สั่งให้ทำฉัตร บูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น ด้วยกุศลอันดีนี้ ได้เกิดในที่ดี คือเป็นมนุษย์และเทวดาสลับกัน จนถึงชาติปัจจุบันเกิดในตระกุลที่ดีได้บวชในพระพุทธศาสนา ไม่น่านบรรจุอรหัน พร้อมด้วย
ปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘
หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า ๔๗๘-๔๘๐เรื่องปทุมัจฉทนิยเถราปทาน




อานิสงส์ ที่ได้บูชาเชิงตะกอนของพุทธเจ้าวิปัสสีด้วยดอกบัว ผลของกุศลนี้ ได้เกิดเป็นเทวดาและมนุษย์หลาย ครั้ง พรั่งพร้อมด้วยสมบัติต่าง ๆ
มาก มายเหลือคณานับ จนถึงชาตินี้ได้เกิดในตระกูลผู้มั่งคั่ง เมื่อครบวัยได้บวชเป็นภิกษุ บวชไมน่านก็สามารถทำความเพียนให้สู่อรหันได้ไม่ยาก ไมว่าท่านจะพักอยู่ที่วิหารเวลาใด ดอกบัวจะเกิดขึ้นโดยรอบวิหารนั้น
หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า ๑๘๙-๑๙๑


เรื่องสปริวาริยเถราปทาน




พระ เถระรูปนี้ ในอดีตครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตร เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันปรินิพานแล้ว สาธุชนทั้งหลาย ได้รวมพระบรมสารีริกธาตุไว้ ช่วยกันสร้างพระสถูปเจดีย์ ท่านได้มีส่วน สร้างที่ครอบเจดีย์ด้วยไม้แก่นจันทร์ ไว้เบื้องบนเจดีย์แล้วทำการบูชาอย่างยิ่งใหญ่ ด้วยบุญนี้เมื่อสิ้นชีวิตได้เกิดในสุคติอย่างเดียว คือ เทวดาและมนุษย์ เท่านั้น ในชาติปัจจุบันได้เกิดในตระกูลที่ดี ได้บวชแล้วบรรลุอรหัน พร้อมด้วย ปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘
หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า ๔๘๗-๔๘๘


เรื่องชคติการกเถราปทาน




พระ เถระรูปนี้ในอดีตชาติครั้งพระพุทธเจ้าอัตถทัสสี ดับขันธปรินิพาน ท่านได้ สร้างลานดินจัดที่วางดอกไม้ให้เป็นระเบียบ ที่สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของ พระพุทธเจ้า แล้วบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยกุศลดังกล่าวนี้ หลังจากสิ้นอายุแล้วได้เกิดในเทวโลกและมนุษย์โลกเท่านั้น ไม่เกิดในทุคติเลยจวบจนชาติปัจจุบัน ได้บวชในพระพุทธศาสนา แล้วบรรลุอรหัน พร้อมด้วย
ปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘
หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า ๖๕๙







เรื่องปัจจุปัฎฐานสัญญกเถราปทาน



พระเถระรูปนี้เมื่ออดีตชาติเป็นยักษ์ เมื่อพระพุทธเจ้าอัตถทัสสี


ดับ ขันธปรินิพพานแล้ว ตนเองได้ยินพระอัครสาวก สอนว่า การบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้น มีผลเท่ากับการบูชาพระพุทธพุทธเจ้า เมื่อยังมีพระชนม์ชีพอยู่ จึงชักชวนกัน สร้างพระสถูป บรรจุพระบรมสารีริกธาตุแล้วบูชา จุติจากยักษ์ได้เกิดเป็นเทวดา มนุษย์ เมื่อครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหลายครั้ง ครั้นชาติปัจจุบันเกิดในตระกูลที่มีโภคทรัพย์เสื่อใสในพระพุทธศาสนา บวชไม่นานบรรลุอรหัน พร้อมด้วย ปฎิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ วิโมกข์ ๘




หมายเหตุ ขุททกนิกาย อปทาน และอรรถกถา เล่มที่ ๗๑ หน้า ๔๐๕-๔๐๘



เรื่องปีตวิมาน



เมื่อ พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันปรินิพพานแล้ว พะรเจ้าอชาตศัตรูนำพระบรมสารีริกธาตุที่พระองค์ได้รับส่วนแบ่ง มาสร้างพระสถูป แล้วทำกาฉลอง ระหว่างที่มีงานฉลองนั้น อุบาสิกาชาวราชคฤห์ ผู้หนึ่งคิดจะบูชาพระพุทธเจ้า ด้วยการสักการบูชาที่สถูป โดยถือดอกบวบขม ๔ ดอกตามที่หามาได้ ด้วยศรัทธาอุตสาหะอย่างแรงกล้าเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน โดยมิได้คำนึงถึงอะไรทั้งสิ้น มีใจมุ่งตรงต่อพระเจดีย์อย่างเดียว
ใน ขณะนั้น โคแม่ลูกอ่อนวิ่งสวนทางมาอย่างเร็ว ขวิดเข้าร่างของอุบาสิกานั้น ทำให้นางสิ้นชีวิต นางตายลงในที่นั้นไปเกิดในสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ จุติ ( ตาย )
แล้ว ปฎิสนธิ ( เกิด )ทันที่โดยไม่มีระหว่างคั่น คือ สัตว์ทั้งหลายเมื่อตายแล้วต้องเกิดทันที่จะเกิดเป็นอะไรก็แล้วแต่เหตุปัจจัย ทำให้เป็นไป ในกรณีนี้นางเกิดในสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ เพราะเมื่อก่อนจะตายจิตของนางเป็น บุญเป็นกุศล
คือ มุ่งมั่นที่จะไหว้พระสถูป
เมื่อ นางเกิดเป็นนางฟ้า ท้าวสักกะเทวราชเสด็จไปในอุทยานเห็นนางพร้อมรถ มีรัศมีซ่านออกจากตัวของนาง ข่มรัศมีของนางฟ้าทั้งหมดที่มาพร้อมกับท้าวสักกะ ท้าวสักกะแปลงพระราชหฤทัยจึงถามนางว่า
ท่านมีเครื่องทรงและอาภรณ์เหลือง ของต่างๆ เหลือง แม้รถ ม้า ฉัตร เมื่อเป็นมนุษย์นั้น ท่านทำบุญด้วยอะไร
เทพธิดา ตอบ ข้าพระบาทได้นำดอกบวบขมที่ไม่มีผู้ต้องการ ๔ ดอกจะไปไหว้พระบรมสารีริกธาตุ แต่ยังไม่ทันจะไหว้ ระหว่างทาง ๔ ถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดจนตายะ ถ้าได้ไหว้บุญนั้นจะมากยิ่งขึ้น ทิพย์สมบัติจะมีมากมายกว่านี้แน่นอน
ท้าว สักกะต้องการที่จะให้เทวดาทั้งหลายเกิดความเสื่อมใสในบุญกุศลนี้ จึงตรัสกับมาตลีเทพสารถี ดูก่อนมาตลี จงดูผลบุญกุศลนี้ไทยธรรม (ดอกบวบขม) ที่เทพธิดาได้ทำถึงจะมีค่าน้อยแต่ผลบุญมีมากเพราะความที่มีใจเสื่อมใจ ศรัทธาในพระพุทธเจ้าหรือในสาวกของพระพุทธเจ้า แล้วตรัสสั่งเทวดาทั้งหลายให้ไปบูชาพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ให้ยิ่ง ขึ้นไป เพราะพระเขี้ยวแก้วที่พระจุฬามณีเจดีย์ ๗ วัน
ท้าวสักกะทรงเล่าเรื่องนี้ถวายพระนารทเถระ เมื่อครั้งพระเถระไปเทวโลก
หมายเหตุ ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ และอรรณกถา เล่มที่ ๔๘ หน้า ๓๘๒-๓๘๙

เรื่องจูฬรถวิมาน



เมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธปรินิพานแล้ว ได้มีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
ท่านพระมหากัสสปะเถระสังคายนาพระธรรมเสร็จแล้ว พระมหากัจจายนะได้ไปอยู่ป่าแห่งหนึ่ง ได้มีพระราชโอรสของพระราชาโปตสินคร แคว้นอัสสกะ
พระนานว่าสุชาติ ถูกขับออกจากเมื่อเรื่องแย่งราชสมบัติ พระกุมารได้เป็นพรานป่าเสี้ยงชีวิต
ในอดีตชาติของพระกุมารนั้น เคยบวชเป็นพระ ในครั้งพระพุทธเจ้ากัสสปะ
ทำ ได้เพียงรักษาสิล ให้บริสุทธิ์เท่านั้นหลังจากมรณภาพแล้วเกิดในสวรรค์ขั้นดาวดึงส์ เมื่อกาลพระพุทธเจ้าสมโคตม พระกุมารจะไปล่าเนื้อ เทพบุตรผุ้เคยเป็นสหาย แปล่าร่างเป็นเนื้อมาล่อด้วยความหวังดี วิ่งเข้าไปที่ท่านพระมกากัจจยนะ แล้วหายตัวไป พระกุมารตามเนื้อนั้นไป ไม่พบเนื้อพบแต่พระเถระ นั่งอยู่นอกศาลา พระเถระทราบรายละเอียดของพระกุมารทั้งหมด ด้วยจิตที่คิดจะสงเคราะห์ช่วยเหลือ
จึงถามว่า ท่านถือธนูหน้าไม้จ้องอยู่ ท่านเป็นใครเป็นกษัตริย์ราชกุมาร หรือพรานป่าแน่
ราชกุมารตรัสตอบว่า เราเป็นราชโอรสของพระเจ้าอัสสะกะ มาล่าเนื้อไม่พบ พบแต่ท่าน
พระเถระทูลว่า ท่านมาดีแล้ว เชิญดื่มน้ำก่อน
ราชกุมารตรัสตอบว่า ท่านช่างพูดจาไพเราะ มีประโยชน์ยิ่งท่านพูดแต่เรื่องดี ท่านอยู่ป่ามีความสุขสบายด้วยอะไร ช่วยบอกด้วย
พระเถระตอบว่า อยู่ด้วยศีล สงบ เป็นพหูสูต ( แตกฉานในธรรม )
พระเถระรู้ว่าอายุของราชกุมารไม่เกิน ๕ เดือน จึงกว่าว่า ท่านราชโอรส อีก ๕ เดือน ท่านจักสิ้นพระชนม์
ราชกุมารตรัสถามว่า ที่ได้เป็นที่ไม่ตาย มีวิชาอะไรจึงไม่แก่ไม่ตาย
พระเถระตอบว่า ไม่มีที่ไหน ไม่แก่ ไม่ตาย มีวิชา มีบุญ มากคาไหน ก็ต้องตาย
ราชกุมารตรัสตอบว่า แล้วจะทำอย่างไรดี
พระเถระตอบว่า ท่านจงพึ่งพระพุทธเจ้าเถิด
พระราชกุมารตรัสว่า พระพุทธเจ้าอยู่ ณ ที่ใด
พระเถระตอบว่า บัดนี้ดับขันปรินิพพานแล้ว

แล้ว แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้พระกุมาร พร้อมกับแนะนำให้กลับเข้าเมืองให้ทุกคนได้ทำการสักการบูชา จะได้ไปสู่สุคติ ราชกุมารเข้าพบพระราชา เล่าเรื่องให้พระราชาทรงทราบพระราชาสร้างพระสถูปเจดีย์ให้มหาชนเคารพกราบ ไหว้ราชกุมารนั้นได้สักการะบูชา สมาทานสิล ผ่านไปสี่เดือนก็สิ้นพระชนม์
เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
หมายเหตุ สีลคำนี้มาจากพระไตรปิฎกครับ

หมายเหตุ ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ และอรรถกถา เล่มที่๔๘ หน้า ๔๙๘-๕๑๘

ในวิสุทธิมรรคแปล ภาค ๓ ตอน๑ หน้า ๑๒-๑๘

ปฎิสัมภิทา ๔ คือ
๑ อัตถปฎิสัมภิทา ความรู้ในอรรถ
๒ ธํมมปฎิสัมภิทา ความรู้ในธรรม
๓ นิรุตติปฎิสัมภิทา ความรู้ในการกล่าว ธรรมนิรุติ
๔ ปฎิภาณปฎิสัมภิทา ความรู้อย่างกว้างขวางในความรู้ทั้งหลาย

ในขุททกนิกาย ปฎิสัมภิทามรรค เล่มที่ ๖๘ หน้า๙๘๐-๑๐๓๖
อภิญญ ๖ คือ
๑ อิทธิวิธ แสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ
๒ ทิพพโสตธาตุญาณ ความรู้ ดุจได้ยินด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์
๓ เจโตปริยญาณ ความรู้ กำหนดใจ (คนอื่น) ได้
๔ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ความรู้ในอันตามระลึกถึงชาติก่อนๆของตนได้
๕ สตตานํ จุตูปาตญาณ ความรู้ในเรื่องตายไปและได้กำเนิดขึ้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย
๖ อาสวกขยาญาณ คือญาณที่ทำให้กิเลสหมดสิ้นไป

วิโมกข์ ๘ คือ รูปฌาน ๔ และ อรูปฌาน

No comments: