1/31/2009

พระฉัพพรรณรังสีที่แผ่จากพระกายพระพุทธเจ้า


ฉัพพรรณรังสี คือแสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลางเป็นรัศมี ๖ ประการ ซึ่งเปล่งออกจากพระสรีรกายของพระพุทธเจ้า คือ

๑. นีละ เขียวเหมือนดอกอัญชัน
๒. ปีตะ เหลืองเหมือนหรดาลทอง
๓. โลหิตตะ ขาวเหมือนแผ่นเงิน
๕. มัญเชฏฐะ สีหงสบาทเหมือนดอกเซ่งหรือหงอนไก่
๖. ปภัสสระ เลื่อมพรายเหมือนแก้วผลึก

สี ทั้ง ๖ นี้ไม่ได้พุ่งออกเป็นสี ๆ ดังที่แยกไว้นี้ แต่แผ่ออกมาพร้อมกันในหนังสือปฐมสมโพธิกถา ฉบับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส กล่าวถึงพระฉัพพรรณรังสีที่แผ่ซ่านออกจากพระกายพระพุทธเจ้า ไว้ดังนี้

"ในลำดับนั้น พระฉัพพรรณรังสีก็โอภาสแผ่ออกจากพระสริรกาย อันว่านิลประภาก็เขียวสดเสมอด้วยสีแห่งดอกอัญชันมิฉะนั้นดุจพื้นแห่งเมฆแลดอกนิลุบลแลปีกแห่งแมลงภู่ ผุดออกจากอังคาพยพในที่อันเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า และพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีเขียวแล่นไปจับเอาราวป่า แลพระรัศมีที่เหลืองนั้นมีครุวนา ดุจสีหรดารทองแลดอกกรรณิการ์แลกาญจนปัฏอันแผ่ไว้ พระรัศมีออกจากพระสริรประเทศในที่อันเหลืองแล้ว แล่นไปสู่ทิศานุทิศต่าง ๆ พระรัศมีที่แดงอย่างพาลทิพากรแลแก้วประพาฬ แลกุมุทปทุมกุสุมชาติ โอภาสออกจากพระสริรอินทรีย์ในที่อันแดงแล้วแล่นฉวัดเฉวียนไปในประเทศที่ทั้งปวง พระรัศมีมีที่ขาวก็ขาวดุจดวงรัชนิกร แลแก้วมณี แลสีสังข์ แลแผ่นเงิน แลดวงดาวพกาพฤกษ์ พุ่งออกจากพระสริรประเทศในที่อันขาวแล้วแล่นไปในทิศโดยรอบ พระรัศมีหงสสิบาทก็พิลาสเล่ห์ดุจสีดอกเซ่ง แลดอกชบา แลดอกหงอนไก่ออกจากรัชกายรุ่งเรืองจำรัส พระรัศมีประภัสสรประภาครุนาดุจสีแก้วพลึกแลแก้วไพฑูริย์เลื่อมประพระฉัพพรรณรังสีทั้ง ๖ ประการแผ่ไพศาลแวดล้อมไปโดยรอบพระสกลกายยินทรีย์ กำหนดที่ ๑๒ ศอก โดยประมาณ อันว่าศศิสุริยประภาแลดาราก็วิกลวิการอันแสง เศร้าสีดุจหิ่งห้อยเหือดสิ้นสูญ มิได้จำรูญไพโรจโชติชัชวาล"

รัศมีเฉกเช่นฉัพพรรณรังสีนี้มีเฉพาะพระพุทธเจ้าและเทวดาเท่านั้น นอกจากนี้ก็เกิดแต่ธรรมชาติเช่นสีรุ้งที่เรียกกันเป็นสามัญว่ารุ้งกินน้ำ หรือ พระจันทร์ พระอาทิตย์ทรงกลด ที่ออกจากเทวดานั้นจะเห็นได้ดังที่พรรณนาไว้ในพระสูตรต่าง ๆ ในเวลาที่เทวดามาเฝ้าพระพุทธเจ้าดังนี้

มีเทวดาตนหนึ่งมีรัศมีสว่างจ้าเข้ามายังพระเชตวัน ทำพระเชตวันให้สว่างไสวไปทั่วบริเวณ เข้าเผ้าพระทุทธเจ้าที่ประทับความสว่างของรัศมีนั้น ไม่เหมือนแสงเดือนแสงตะวัน หรือไม่เหมือนแสงไฟ เป็นแสงสว่างที่เสมอกันทั้งหมด และเป็นแสงสว่างที่ไม่มีเงาเหมือนแสงอื่นเป็นแสงที่แผ่ไปติดอยู่ทั่วบริเวณ

มีข้อความในปฐมสมโพธกถา ปริเฉทที่ ๑๓ ธรรมจักรปริวรรตว่าดังนี้

"ฝ่ายอุปกาชีวเดินมาโดยทุราคมวิถีทางไกล หว่าง คยาประเทศเขตเมืองราชคฤห์กับมหาโพธิญาณ ติดต่อกัน แลเห็นไพสณฑ์สถานอันโอฬารไพโรจน์พรรณราย ด้วยข่ายฉัพพรรณรังสีโสณิวิลาส ปรากฏโดยทิวาทัศนาการทั้งพสุธารแลอากาศโอภาสด้วยพระรัศมีมีพรรณแห่งละ ๖ อย่าง ทั่วทั้งทิศล่างและทิศบน มาสัมผัสกายตนประหลาดมหัศจรรย์ไม่เคยได้พบเห็นเป็นเช่นนี้มาแต่ก่อน ถ้าจะเป็นเพลิง ไฉนกายอาตมาจึงไม่ร้อนกระวนกระวายแม้จะเป็นน้ำ ไฉนกายอาตมาจะไม่ชุ่มชื้นเย็นนี่จะเป็นสิ่งอันใดยิ่งสงสัยสนเท่ห์จิต จึงเพ่งพิศไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นองค์พระผู้ทรงสวัสดิ์ภาคย์เสด็จบทจรมา รุ่งเรืองด้วยพระสิดิฉันธมหาหว่างติสสุระ ลักษณะแลพระพยามประภาโอภาสเบื้องบน พระสุริย ก็ช่วงโชติด้วยพระเกตุมาลา ครุนาดุจทองทั้งแท่งประดับด้วยฉัพพรรณรังสี รังสีแสงไพโรจน์จำรัส"

อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก

อนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ


นอกเหนือจากมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ ประการแล้ว ยังมีลักษณะข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ นิยมเรียกกันว่า "อสีตยานุพยัญชนะ" หรือ อนุพยัญชนะ" อีก ๘๐ ประการด้วยกัน คือ

๑. มีนิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทอันเหลืองงาม
๒. นิ้วพระหัตถ์และนิ้วพระบาทเรียวออกไปโดยลำดับแต่ต้นจนปลาย
๓. นิ้วพระหัตถ์แลนิ้วพระบาทกลมดุจนายช่างกลึงเป็นอันดี
๔. พระนขาทั้ง ๒๐ มีสีอันแดง (พระนขา = เล็บ)
๕. พระนขาทั้ง ๒๐ นั้น งอนงามช้อนขึ้นเบื้องบนมิได้ค้อมลงเบื้องต่ำ ดุจเล็บแห่งสามัญชนทั้งปวง
๖. พระนขานั้นมีพรรณอันเกลี้ยงกลมสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
๗. ข้อพระหัตถ์และข้อพระบาทซ่อนอยู่ในพระมังสะมิได้สูงขึ้นปรากฏออกมาภายนอก
๘. พระบาททั้งสองเสมอกันมิได้ย่อมใหญ่กว่ากันมาตรว่าเท่าเมล็ดงา
๙. พระดำเนินงามดุจอาการเดินแหงกุญชรชาติ
๑๐. พระดำเนินงามดุจสีหราช
๑๑. พระดำเนินงามดุจดำเนินแห่งหงส์
๑๒. พระดำเนินงามดุจอสุภราชดำเนิน
๑๓. ขณะเมื่อยืนจะย่างดำเนินนั้น ยกพระบาทเบื้องขวาย่างไปก่อน พระกายเยื้องไปข้างเบื้องขวาก่อน
๑๔. พระชานุมณฑลเกลี้ยงกลมงามบริบูรณ์ บ่มิได้เห็นอัฏฐิสะบ้าปรากฏออกมาภายนอก
๑๕. มีบุรุษพยัญชนะบริบูรณ์ คือมิได้กิริยามารยาทคล้ายสตรี
๑๖. พระนาภีมิได้บกพร่อง กลมงามมิได้วิกลในที่ใดที่หนึ่ง (พระนาภี = สะดือ)
๑๗. พระอุทรมีสัณฐานอันลึก (พระอุทร = ท้อง)
๑๘. ภายในพระอุทรมีรอยเวียนเป็นทักขิณาวัฏ
๑๙. ลำพระเพลาทั้งสองงามดุจลำสุวรรณกัททลี (พระเพลา = ตัก, ขา สุวรรณกัททลี = ลำต้นกล้วยสีทอง)
๒๐. งวงแห่งเอราวัณวัณเทพหัตถี (เอราวัณเทพยหัตถี = ช้าง ๓๓ เศียร เป็นพาหนะของพระอินทร์)
๒๑. พระอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งปวงจำแนกเป็นอันดี คืองามพร้อมทุกสิ่งหาที่ตำหนิบ่มิได้ (พระอังคาพยพ = องคาพยพ = ส่วนน้อยใหญ่แห่งร่างกาย,อวัยวะน้อยใหญ่)
๒๒. พระมังสะที่ควรจะหนาก็หนา ที่ควรบางก็บางตามที่ทั่วทั้งพระสรีรกาย
๒๓. พระมังสะมิได้หดหู่ในที่ใดที่หนี่ง
๒๔. พระสรีกายทั้งปวงปราศจากต่อมและไฝปาน มูลแมลงวันมิได้มีในที่ใดที่หนึ่ง
๒๕. พระกายงามบริสุทธิ์พร้อมสมกันโดยตามลำดับทั้งเบื้องบนแลเบื้องล่าง
๒๖. พระกายงามบริสุทธิ์สิ้นปราศจากมลทินทั้งปวง
๒๗. ทรงพระกำลังมาก เสมอด้วยกำลังแห่งกุญชรชาติประมาณถึงพันโกฏิช้าง ถ้าจะประมาณด้วยกำลังบุรุษก็ได้ถึงแสนโกฏิบุรุษ (โกฏิ = สิบล้าน)
๒๘. มีพระนาสิกอันสูง (พระนาสิก = จมูก)
๒๙. สัณฐานพระนาสิกงามแฉล้ม
๓๐. มีพระโอษฐเบื้องบนเบื้องต่ำมิได้เข้าออกกว่ากัน เสมอเป็นอันดี มีพรรณแดงงามดุจสีผลตำลึงสุก (พระโอษฐ = ปาก, ริมฝีปาก)
๓๑. พระทนต์บริสุทธิ์ปราศจากมูลมลทิน
๓๒. พระทนต์ขาวดุจดังสีสังข์
๓๓. พระทนต์เกลี้ยงสนิทมิได้เป็นริ้วรอย
๓๔. พระอินทรีย์ทั้ง ๕ มีจักขุนทรีย์ เป็นอาทิงามบริสุทธิ์ทั้งสิ้น(พระอินทรีย์ = ร่างกายและจิตใจ)
๓๕. พระเขี้ยวทั้ง 4 กลมบริบูรณ์
๓๖. ดวงพระพักตร์มีสัณฐานขาวสวย
๓๗. พระปรางค์ทั้งสองดูเปล่งงามเสมอกัน (พระปรางค์ = แก้ม)
๔๐. ลายพระหัตถ์มีรอยอันตรง บ่มิได้ค้อมคด
๔๑. สายพระหัตถ์มีรอยอันแดงรุ่งเรือง
๔๒. รัศมีพระกายโอภาสเป็นปริมณฑลโดยรอบ
๔๓.กระพุ้งพระปรางค์ทั้งสองเคร่งครัดบริบูรณ์
๔๔. กระบอกพระเนตรกว้างแลยาวงามพอสมกัน
๔๕. ดวงเนตรกอปรด้วยประสาททั้ง ๕ มีขาวเป็นอาทิผ่องใสบริสุทธิ์ทั้งสิ้น
๔๖. ปลายเส้นพระโลมาทั้งหลายมิได้วอมิได้คด
๔๗. พระชิวหามีสัณฐานอันงาม
๔๘. พระชิวหาอ่อนบ่มิได้กระด้าง มีพรรณอันแดงเข้ม
๔๙. พระกรรณทั้งสองมีสันฐานอันยาวดุจกลีบปทุมชาติ (พระกำรณ = หู)
๕๐. ช่องพระกรรณมีสัณฐานอันกลมงาม
๕๑. ระเบียบพระเส้นทั้งปวงนั้นสละสลวยบ่มิได้หดหู่ในที่อันใดอันหนึ่ง
๕๒. แถวพระเส้นทั้งหลายซ่อนอยู่ในพระมังสะทั้งสิ้น บ่อมิได้เป็นคลื่นฟูขึ้นเหมือนสามัญชนทั้งปวง
๕๓. พระเศียรมีสัณฐานอันงาม
๕๔. ปริมณฑลพระนลาฏโดยกว้างยาวพอสมกัน
๕๕. พระนลาฏมีสันฐานอันงาม
๕๖. พระโขนงมีสันฐานอันงามดุจกันธนูอันก่งไว้
๕๗. พระโลมาที่พระโขนงมีเส้นอันละเอียด
๕๘. เส้นพระโลมาที่พระโขนงงอกขึ้นแล้วราบไปโดยลำดับ
๕๙. พระโขนงนั้นใหญ่
๖๐. พระโขนงนั้นยาวสุดหางพระเนตร
๖๑. ผิวพระมังสะละเอียดทั่วทั้งพระวรกาย
๖๒. พระสรีรกายรุ่งเรืองไปด้วยสิริ
๖๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
๖๗. พระโลมามีเส้นเสมอกันทั้งสิ้น
๖๘. พระโลมามีเส้นละเอียดทั่วทั้งพระกาย
๖๙. ลมอัสสะปัสสาสะลมหายพระทัยเข้าออกก็เดินละเอียด
๗๐. พระโอษฐมีสันฐานอันงามดุจแย้ม
๗๑. กลิ่นพระโอษฐหอมดุจกลิ่นอุบล (อุบล = ดอกบัว,บัว)
๗๒. พระเกสาดำเป็นแสง (พระเกสา = ผม)
๗๓. กลิ่นพระเกสาหอมฟุ้งขจรตลบ
๗๔. พระเกสาหอมดุจกลิ่นโกมลบุบผชาติ
๗๕. พระเกสามีสันฐานเส้นกลมสลวยทุกเส้น
๗๖. พระเกสาดำสนิททุกเส้น
๗๗. พระเกสากอปรด้วยเส้นอันละเอียด
๗๘. เส้นพระเกสามิได้ยุ่งเหยิง
๗๙. เส้นพระเกสาเวียนเป็นทักขิณาวัฏทุกๆ เส้น
๘๐. วิจิตรไปด้วยระเบียบพระเกตุมาลา กล่าวคือถ่องแถวแหงพระรัศมีอันโชตนาการขึ้น ณ เบื้องบนพระอุตมังคสิโรตม์ (พระเกตุมาลา = รัศมีซึ่งเปล่งอยู่เหนือพระเศียรของพระพุทธเจ้า)

อ่านเพิ่มเติม คลิ๊ก

ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ


"มหาบุรุษ ลักษณะ ๓๒ ประการ"

ผู้ที่มีมหาบุรุษลักษณะ เป็นคำที่ใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้ ลักษณะของมหาบุรุษมี ๓๒ ประการ คือ

๑. มีพระบาทราบเสมอกัน (พระบาท = เท้า)
๒. ลายพื้นพระบาทเป็นจักร (จักร = รูปลอยล้อรถ คือธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุลล้อนำไป สู่ที่หมาย)
๓. มีส้นพระบาทยาย (ถ้าแบ่ง ๔ ส่วน พระชงฆ์ตั้งอยู่ในส่วนที่ ๓) (พระชงฆ์ = แข้ง)
๔. มีนิ้วยาวเรียว (หมายถึงนิ้วพระหัตถ์และพระบาทด้วย)(นิ้วพระหัตถ์ = นิ้วมือ)
๕. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทอ่อนนุ่ม
๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีลายดุจตาข่าย
๗. มีพระบาทเหมือนสังข์คว่ำ อัฐิข้อพระบาทตั้งลอยอยู่หลังพระบาท กลับกลอกได้คล่อง เมื่อทรงดำเนินผิดกว่าสามัญชน (อัฐิ = กระดูก ดำเนิน = เดิน)
๘. พระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย
๙. เมื่อยืนตรง พระหัตถ์ทั้งสองลูบจับพระชานุ (พระชานุ = เข่า)
๑๐. มีพระคุยหะเร้นอยู่ในฝัก (พระคุยหะ = อวัยวะที่ลับ)
๑๑. มีฉวีวรรณดุจสีทอง (ฉวีวรรณ =สีผิวกาย)
๑๒. พระฉวีละเอียด (พระฉวี = ผิว)
๑๓. มีเส้นพระโลมาเฉพาะขุมละเส้น ๆ (พระโลมา = ขน)
๑๔. เส้นพระโลมาดำสนิทเวียนเป็นทักขิณาวัฏ มีปลายงอนขึ้นข้างบน (ทักขิณาวัฏ = วนเลี้ยวทางขวาอย่างเข็มนาฬิกา)
๑๕. พระกายตั้งตรงดุจท้าวมหาพรหม
๑๖. มีพระมังสะอูมเต็มในที่ ๗ แห่ง (คือ หลังพระหัตถ์ทั้ง ๒ และหลังพระบาททั้ง ๒ , พระอังสาทั้ง ๒, กับลำพระศอ) (พระมังสะ = เนื้อ , ชิ้นเนื้อ พระอังสา = บ่า,ไหล่ พระศอ = คอ)
๑๗. มีส่วนพระสรีระกายบริบูรณ์ (ล่ำพี) ดุจกึ่งท่อนหน้าแห่งพญาราชสีห์ (สรีระ = ร่างกาย)
๑๘. พระปฤษฎางค์ราบเต็มเสมอกัน (พระปฤษฎางค์ = ส่วนหลัง,ข้างหลัง)
๑๙. ส่วนพระกายเป็นปริมณฑล ดุลปริมณฑลแห่งต้นไทร(พระกายสูงเท่ากับว่าของพระองค์)(วา = เท่ากับ ๔ ศอก ประมาณ 2 เมตร)
๒๐. มีลำพระศอกกลมงามเสมอตลอด
๒๑. มีเส้นประสาทสำหรับรสพระกระยาหารอันดี
๒๒.มีพระหนุดุจคางแห่งราชสีห์ (โค้งเหมือนวงพระจันทร์)(พระหนุ = คาง)
๒๓.มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ (ข้างละ ๒๐ ซี่) (พระทนต์ = ฟัน)
๒๔.มีพระทนต์เรียบเสมอกัน
๒๕.พระทนต์เรียบสนิทมิได้ห่าง
๒๖.เขี้ยวพระทนต์ทั้ง 4 ขาวงามบริสุทธ์
๒๗.พระชิวหาอ่อนและยาว (อาจแผ่ปกพระนลาฏใต้)(พระชิวหา = ลิ้น พระนลาฎ = หน้าผาก)
๒๘.พระสุรเสียงดุจท้าวมหาพรหม ตรัสมีสำเนียงดุจนกการเวก
๒๙.พระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๐.ดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด
๓๑.มีอุณาโลมระหว่างพระโขนง เวียนขวาเป็นทักขิณาวัฏ (อุณาโลม = ขนระหว่างคิ้ว)
๓๒.มีพระเศียรงามบริบูรณ์ดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์ (พระเศียร = ศีรษะ)

ต้องการอ่านเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่