ศาสนธรรม “กฎแห่งกรรม”
๑) กฎแห่งผู้รับกรรม หรือกฎแห่งการเลือกรับ
ผู้ มีพลังจิตสูงสามารถเลือกรับกรรมต่างๆ ได้ เช่น เลือกรับกรรมดี เลือกหนีกรรมชั่วได้ แต่สามารถทำได้ชั่วคราว จนกระทั่งกรรมนั้นได้รับการเสวยวิบากจนหมดไป ก็จะไม่อาจเลือกได้อีก เช่น เราเคยทำบุญจะได้เป็นคนมีเงินมาก เมื่อเราตั้งจิตรับแต่บุญเราจะรวยต่อเนื่องไม่จนเลย จนกระทั่ง จิตเราตก ความคิดเราเปลี่ยน กรรมก็จะเข้ามาทำให้เราจนได้ แต่ถ้าเราประคองจิต ด้วยพลังจิต ก็จะสามารถทำให้กรรมดีหนุนให้เรารวยต่อไปได้ จนกระทั่งหมดบุญไม่เหลือเลย ก็จะไม่สามารถรวยได้อีก จนถึงขั้นตกสู่ภพเปรตเพราะไม่เหลือบุญเลยก็มี วิธีการเลือกรับแบบนี้ เป็นหลักการทางจิตวิทยาที่เรียกว่า “คิดแง่บวก ” หรือ “พลังแห่งการคิดบวก” ที่มักสอนให้เราคิดแต่สิ่งดีๆ แล้วมันจะนำสิ่งดีๆ มาให้เราได้ ซึ่งก็จริง แต่ไม่ตลอดไป ทุกสิ่งมีเกิดดับ บุญของเราก็มีวาระเกิดขึ้น, ตั้งอยู่ ไม่ว่าจะนานขนาดไหน สุดท้ายก็ต้องมีวันดับไป เราสามารถเลือกรับกรรมดีหรือกรรมชั่วที่เราเคยก่อไว้อันไหนก่อนก็ได้ หากเลือกรับกรรมดีก่อนแล้วเอามาทำดีต่อยอดเพื่อปลดเปลื้องกรรมเลว เรียกว่า “วิถีกวนอิม” โปรดสังเกตว่าลูกศิษย์เจ้าแม่กวนอิม ผู้นับถือเจ้าแม่กวนอิมมักเกิดมารวยก่อน มักมีอาชีพค้าขายร่ำรวยก่อน และมักนิยมเอาเงินมาสร้างศาลเจ้า เป็นต้น แต่หากเลือกรักกรรมชั่วก่อน แล้วพิจารณาให้แจ้งให้ธรรม จึงค่อยเบิกบุญมาใช้บำเพ็ญบารมีภายหลัง แบบนี้ เรียกว่า “วิถีศรีอาริยเมตตรัย” โปรดสังเกตว่าไชน่าทาวน์ก็ดี หรือชาวจีนที่นับถือพระโพธิสัตว์ก็ดี ส่วนหนึ่งมักมีประวัติการอพยพไปอยู่ที่อื่น และทำงานต้องอย่างหนักจนสร้างครอบครัวร่ำรวยได้ อนึ่ง คนจีนที่อพยพมาสร้างความเจริญให้ทั่วโลกเหล่านี้ ล้วนเดินวิถีศรีอาริยเมตตรัยทั้งสิ้น และเป็นลูกศิษย์ของพระศรีอาริยเมตตรัย พระโพธิสัตว์ทั้งสององค์ สร้างความเจริญให้แก่โลกแบบตรงข้ามกันอย่างสมดุลอย่างนี้
๒) กฎแห่งตัวกระทำ หรือกฎแห่งการเลือกปฏิบัติ
กรรม ทุกกรรมต้องมีผู้กระทำ และผู้รับผลการกระทำนั้น กรรมจึงจะสมบูรณ์ เมื่อวิบากกรรมย้อนกลับมาสนองผลกรรม จะต้องมีตัวกระทำ เป็นผู้กระทำเสมอ แต่ตัวกระทำ ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้ากรรมนายเวร ถ้าเจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรมแล้ว เขาก็จะพ้นจากการเป็นตัวกระทำกรรม เขาก็ไม่ต้องทำกรรมซ้ำย้อนกลับไปมาอีก แต่จะมีผู้อื่นมาทำหน้าที่เป็นตัวกระทำแทน เช่น นาย ก ถูก นาย ข ฆ่าตาย ชาติต่อมา นาย ก ต้องมาฆ่านาย ข บ้าง แต่เพราะเหตุว่านาย ก อโหสิกรรมไว้ตั้งแต่ชาติที่ถูกฆ่า ดังนี้ นาย ข จะจะถูกผู้อื่นฆ่าแทน นาย ก ก็ไม่ต้องทำกรรม ไม่ต้องลงมือฆ่านาย ข นายก็อาศัยอานิสงค์จากอโหสิกรรม จึงพ้นจากวังวนกรรมที่เข่นฆ่ากันไปมานี้ได้ กรรมทุกกรรมต้องมีตัวกระทำ ปกติ ตัวกระทำ คือ เจ้ากรรมนายเวร ถ้าเจ้ากรรมนายเวรอโหสิกรรม ก็จะถูกจับคู่ใหม่
๓) กฎแห่งตัวกรรม หรือรอยกรรมรอยเกวียน
กรรม ทุกกรรม จะมีการซ้ำรอยหลายชาติ จนกว่าจะหมดสิ้นกันไป เช่น นาย ก และ นาย ข เคยฆ่ากันมา ก็จะฆ่ากันไปฆ่ากันมา ชาติแรก อาจฆ่าเพราะเกลียดกัน ชาติที่สองอาจเบาลง คือ ฆ่าเพราะจำเป็น (เช่น เป็นเพชฌฆาต) ชาติต่อมาอาจฆ่าเพราะไม่เจตนา ชาติต่อไปอาจฆ่าเพราะเป็นอาชีพสุจริต (เช่น คนฆ่าหมู) และชาติต่อไปอาจฆ่าเพราะช่วยชีวิต (เช่น เป็นหมอพยายามช่วยชีวิตแต่สุดความสามารถ ช่วยไม่ได้) ซ้ำๆ อย่างนี้เป็นต้น เป็นร้อยๆ ชาติ เหมือนคลื่นน้ำ ระลอกแรกจะแรง แต่จะต้องมีอีกหลายระลอกกว่าจะหมดลง แต่จะจางลงไปเรื่อยๆ การที่เราจะรับวิบากกรรมใดๆ ก็ตาม จะต้องทำกรรมซ้ำรอยเกวียนเก่าก่อน เช่น เคยฆ่าคนตายมา ชาตินี้ต้องมารับกรรมที่เคยฆ่าคน เราก็จะต้องมีการฆ่าอะไรสักอย่างก่อน เช่น เผลอฆ่ามด ฆ่ายุง อย่างนี้ กรรมซ้ำรอยวิบากก็จะเคลื่อนทันที ถ้าเรามีศีลบารมีแข็งแกร่งมาก ก็จะสามารถหลีกเลี่ยงกรรมได้ในชาตินั้น หากเจ้ากรรมนายเวรไม่คลายอาฆาตเรา ทำเราไม่ได้ เพราะเราไม่ซ้ำรอยกรรมเก่า เขาก็จะตามเราไปทวงในชาติต่อไปจนกว่าจะหนำใจ ถ้าเราเคยเกิดในชาติที่มีธรรมะ เราเลี่ยงได้ แต่บางชาติเราเกิดมาไม่พบธรรมะ ก็อาจก่อกรรมซ้ำรอยและต้องรับวิบากในที่สุด
๔) กฎแห่งความเป็นเอกเทศ
ความ เป็นเอกเทศของกรรมคือ แม้ว่าเราจะก่อกรรมไว้กับใครก็ตาม แล้วใครคนนั้นไม่อาจมากระทำกรรมสนองกลับเราได้ เราก็ยังต้องรับกรรมนั้นๆ อยู่ดีจากผู้อื่น เช่น หากเราเคยทำบุญไว้กับพระอรหันต์ เมื่อพระอรหันต์นิพพานแล้ว จะไม่เกิดอีก ท่านจะมาทำดีสนองกลับเราไม่ได้ เรามีเอกเทศจากพระอรหันต์รูปนั้น ที่จะรับกรรมดี รับผลบุญจากผู้อื่นได้ นี่คือ กฎแห่งความเป็นเอกเทศของกรรม ไม่จำเป็นว่าจะต้องให้เจ้ากรรมนายเวรมารับหรือสนองผลกรรมต่อกันเสมอไป ยกเว้น บุคคลนั้นได้ผูกจิตไว้ ก็จะต้องมาเป็น “ตัว กระทำ” หรือ เจ้ากรรมนายเวร คอยคุมกระบวนการกรรมนั้นๆ จนกว่าจะครบกระบวนการ เช่น ถ้านาย ก ทำบุญแล้วอธิษฐานไว้ว่าขอผลบุญนี้จงเป็นไปเพื่อได้เป็นคู่กับนาง ข ก็จะต้องตามนาง ข ไปเป็นคู่กัน หนีไม่ได้ เปลี่ยนไมได้ เพราะจิตผูกไว้ แต่ถ้าไม่อธิษฐานอย่างนั้น ก็ไม่ต้องไปเกิดตามกัน เป็นอิสระต่อกัน ต่างคนต่างก็รับผลบุญที่ตนทำนั้นแยกส่วนกันไป หรือการอาฆาตกัน เช่น นาย ก ถูกนาย ข ฆ่า จึงอาฆาตนาย ข ไว้ อย่างนี้ ก็จะต้องตามมาฆ่ากันในฐานะเจ้ากรรมนายเวร ถ้านาย ก ไม่อาฆาตนาย ข นาย ก ก็ไม่ต้องตามมาเกิดเพื่อชำระกรรม ผู้อื่นที่มีกรรมต้องกระทำการฆ่า จะเข้ามาฆ่าแทนเอง
๕) กฎแห่งการพัวพัน
กรรม ที่ทำร่วมกันสามารถพัวพันกันได้ด้วยการที่จิตยึดมั่นถือมั่นระหว่างทำกรรม ร่วมกัน เช่น ชาวบ้านร้อยคนศรัทธา พระ ก จึงร่วมกันสร้างวัดขึ้นร่วมกัน อย่างนี้ เป็นกรรมพัวพัน ส่งผลให้ทั้งหมดต้องไปเกิดเสวยบุญร่วมกันได้ เช่น เกิดมาเป็นมนุษย์มีงานทำได้อยู่ในแผนกเดียวกัน มีพระ ก เป็นเจ้านาย เสวยบุญชั่วระยะหนึ่ง จนหมดบุญกรรมต่อกันแล้ว ต่างก็จะแยกย้ายกันไป นี่เป็นเพราะจิตได้ยึดมั่นถือมั่นกันไว้ด้วยพลังศรัทธา จึงได้เกิดมาเป็นเจ้านาย ลูกน้องกัน แต่ถ้าไม่ยึดมั่นถือมั่นกันด้วยศรัทธาแล้ว ก็จะเป็นเอกเทศกันไป ต่างไปเสวยบุญของใครของมัน แม้จะคล้ายกันก็ตาม เช่น เป็นพนักงานในสาขาอาชีพเดียวกันแต่อยู่ในบริษัทคนละบริษัทก็ได้ จะเห็นได้ว่า กรรมทุกกรรมนั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยผู้ที่เราเคยก่อกรรมร่วมกันมา มาสานกรรมร่วมต่อกันอีกก็ได้ ต่างเป็นเอกเทศต่อกันที่จะรับกรรมกันไป ยกเว้นว่าได้ผูกพัน ผูกมัด ศรัทธาร่วมกันไว้ จึงจะพัวพันกันไปหลายชาติ ในศาสนาพราหมณ์สอนให้ศรัทธาตรงต่อเทพเจ้าให้เหนียวแน่น เพื่อการเวียนว่ายตายเกิดจะได้ไม่ห่างหายหลงแตกแยกกลุ่มกันไป ก็จะสามารถช่วยเหลือกันได้ต่อไป แต่คนที่ศรัทธาผิดคนก็จะหลงนาน กว่าจะเลิกศรัทธาคนผิด มาตรงทางได้ ก็ต้องเกิดมากหลายชาติ คนที่ศรัทธามั่นตรงก็จะพัวพันกรรมดีช่วยเหลือกันไปตามกฎแห่งการพัวพัน การศรัทธากันนี้ จะเริ่มจากแค่ศรัทธาธรรมดา จนถึงขั้นปรารถนานิพพานในศาสนาของผู้นำของตนทีเดียว เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ผู้นำต้องช่วยผู้อื่นให้นิพพานเท่านั้นจึงพ้นจากกันได้
๖) กฎแห่งอโหสิกรรม
บุคคล ที่กระทำกรรมต่อกันจะหลุดพ้นจากกรรมที่พัวพันกันได้ด้วยการอโหสิกรรมต่อกัน แต่เมื่ออโหสิกรรมต่อกันแล้ว ใช่ว่าไม่ต้องรับกรรม ต่างคนต่างต้องได้รับกรรมที่ตนก่อตัวใครตัวมันเป็นเอกเทศ แต่เขาจะไม่ก่อกรรมซ้ำรอยเกวียนอีกแล้ว ยกตัวอย่างเช่น นาย ก กับนาย ข ฆ่ากันมา ต่อมาทั้งคู่อโหสิกรรมต่อกัน ทั้งคู่ไม่ต้องเกิดมาฆ่ากันไปมาอีกแล้ว แต่ทั้งคู่ยังต้องรับผลกรรมที่เคยฆ่ากัน ผู้อื่นมาฆ่าเขาทั้งสองแทน เมื่อเขาอโหสิกรรมแล้วไม่อยากฆ่าใครอีก ไม่ฆ่าเขาตอบ ก็จะรับกรรมหลายชาติ จนเบาบางไปเรื่อยๆ จนหมดในที่สุด นี่คือ จุดจบของกรรมอย่างแท้จริง โดยไม่ต้องมีกรรมนี้อีกด้วยอโหสิกรรม
๗) กฎแห่งนิพพานกรรม
กรรมบางอย่างจะหลุดพ้นไปได้ด้วย “นิพพาน” เท่านั้น เช่น กรรมที่เกิดจากการปรารถนานิพพาน เช่น การปรารถนานิพพานแบบพระพุทธเจ้า, แบบพระปัจเจกพุทธเจ้า หรือการขอเป็นพระอรหันตสาวกของผู้หนึ่งผู้ใด กรรมดีหรือชั่วก็ตามที่ทำด้วยความปรารถนานี้ ไม่อาจหลุดพ้นกันได้ ไม่อาจตัดขาดกันได้ด้วยอโหสิกรรม ต้องนิพพานจากกันเท่านั้น
๘) กฎแห่งการลากรรม
กรรมบางอย่างหมดได้ด้วยการ “ลา กรรม” เช่น การอธิษฐานลาพุทธภูมิ เช่น เทวดาผู้น้อยได้เห็นพระพุทธเจ้าก็อยากเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานปรารถนาพุทธภูมิ จะเป็นอย่างพระพุทธเจ้าไว้ โดยไม่ได้ทำบุญอะไรเลยในขณะอธิษฐานนั้น แบบนี้ คือ “ความหลง” ไม่รู้กำลังตน ไม่อาจตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าได้ สุดท้ายต้องทำการ “ลาพุทธภูมิ” หรือ “ลากรรม” นั้นๆ ก็จะหลุดพ้นกรรมที่เกิดจากการอธิษฐานโดยไม่ได้ก่อกรรมหนักไว้ได้ สำหรับท่านที่อธิษฐานพร้อมก่อกรรมหนักไว้ ไม่สามารถลากรรมได้ด้วยวิธีนี้ การ “ลาพุทธภูมิ” จะไม่สามารถทำได้ แต่หากเพียรพยายามลาพุทธภูมิหลายชาติ แข่งกันกรรมหนักที่ต้องซ้ำรอยกรรมรอยเกวียนหลายชาติเหมือนกัน เมื่อรอยกรรมที่ลาพุทธภูมิมากกว่าเลยรอยกรรมที่ปรารถนาพุทธภูมิแล้ว ก็สามารถลาได้ และบรรลุเป็นพระยูไลที่มีกายและบารมีเฉกเช่นพระพุทธเจ้าได้แต่จะไม่ตรัสรู้ บนโลกมนุษย์ ดังนั้น ผู้ที่เคยอธิษฐานไว้แต่ไม่มีกรรมหนักรองรับ เพียงแค่ “การลากรรม” ก็พ้นกรรมจากการอธิษฐานได้ แต่สำหรับผู้ที่อธิษฐานไว้พร้อมมีกรรมหนักรองรับด้วย แม้ลากรรม ก็ต้องลาหลายชาติและยังให้ผลไม่หมดสิ้นเชิง เช่น ลาจากความเป็นพระพุทธเจ้าแต่ได้เป็นพระยูไลแทน เป็นต้น และกรณีสุดท้าย การลากรรมที่ไม่อาจให้ผลสำเร็จได้ คือ การลากรรมจากการอธิษฐานเป็นพระพุทธเจ้าโดยก่อกรรมหนักไว้มากเกินกว่าจะทำการ ลากรรมให้เหนือกว่าได้ เมื่อกรรมลา มีไม่มากพอกลบเกลื่อนกรรมที่ปรารถนา ก็ไม่อาจลากรรมได้
๙) กฎแห่งเหรียญสองด้าน
กรรม มีทั้งด้านดีและเลวเสมอ แม้แต่การทำดีก็มีด้านเลว ยกตัวอย่างเช่น นาย ก ทำทานให้นาย ข นาย ก อาจทำกรรมดีต่อนาย ข จริง แต่ได้ทำเลวกับเจ้ากรรมนายเวรของนาย ข แล้ว ดังนั้น กรรมใครกรรมมัน ใครก่อกรรมไม่ว่ากรรมดีหรือเลว ล้วนมีสองด้านพร้อมกันเสมอ การไม่ทำกรรมเลย จึงดีที่สุด ใกล้และตรงนิพพานที่สุด ดังคำกล่าวของพระพุทธองค์ที่ว่าทรงลอยทั้งบุญและบาปแล้วนั่นเอง บุคคลที่ปฏิบัติจิตถึงพระอรหันต์แล้ว จำต้องละวาง ละเว้น ไม่ก่อกรรมทั้งดีและเลวเพิ่มอีก ไม่เช่นนั้น จะส่งผลให้สืบชาติต่อภพต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมดีหรือเลวก็ตาม เมื่อกล่าวอย่างนี้ บางท่านคิดว่าเช่นนั้น ก็ทำเลวดีกว่าจะได้ผลดังใจ เช่น อยากได้เงินก็ไปปล้นเขาเลย เพราะถือว่ากรรมทุกกรรมมีสองด้านเสมอ อย่างนี้ ยังถือว่าไม่ได้เข้าใจจริงๆ ถ้าเข้าใจจริงๆ ต้องหยุดก่อกรรมทั้งดีและเลวทั้งหมด ไม่ก่อกรรมแบบใดอีกเลย เพราะถ้าก่อกรรมเลว สมมุติ นาย ก ฆ่า นาย ข นาย ก มีกรรมเลวต่อนาย ข แต่ก็ได้ก่อกรรมดีต่อเจ้ากรรมนายเวรของนาย ข และนาย ก ต้องรอรับวิบากกรรมเลวนั้นต่อไปจริง แต่เจ้ากรรมนายเวรของนาย ข จะไม่มาทำดีคืนตอบนาย ก เป็นแน่แท้ ปล่อยให้นาย ก รับวิบากกรรมที่ฆ่านาย ข จนกระทั่งเข็ดหลาบในกรรม ก็จะมีจิตตรงต่อนิพพาน ดังนั้น การทำเลวบ้าง ทำให้เปิดช่องได้รับกรรมเลวบ้าง ก็จะเข็ดหลาบในกรรม และจิตตรงนิพพานเร็ว ทางตรงข้าม ถ้าทำเลวน้อยเกินไป ทำดีมากเกิน ก็จะหยิ่งผยองคะนองตน อวดตนถือดี ไม่มีใครสอนได้ จิตไม่ตรงต่อนิพพาน เป็นมารอยู่สวรรค์ชั้นที่หกต่อไป ดังนั้น กรรมเลว ก็มีด้านดีอย่างนี้เอง จึงเรียกว่ากรรมเป็น “เหรียญสองด้าน” อุปมาเหมือนเล่น “หัว-ก้อย” ด้านต่างกันก็ให้ผลแตกต่างกัน
๑๐) กฎแห่งการชดใช้
ผู้ ก่อกรรมเมื่อสำนึกผิดแล้วตั้งใจชดใช้แก่เจ้ากรรมนายเวร สามารถชดใช้ความผิดได้ด้วยการทำความดีตอบแทน ยกตัวอย่างเช่น นาย ก แทงนาย ข ต่อมานาย ก ถึงวาระที่จะต้องถูกแทงบ้าง ทว่า นาย ข ไม่คิดอาฆาต นาย ข จะแทงนาย ก ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การที่นาย ข เกิดมาเป็นแพทย์และแทงเข็มฉีดยาให้นาย ก ก็ได้ ปกติ คนที่เกิดเป็นอสูร เช่น เป็นโจรฆ่าคนมามากๆ เมื่อชำระกรรมเบาบางแล้ว จะพ้นกรรมได้ ต้องเกิดมาเป็นแพทย์ และต้องมีการผ่าร่างกายมนุษย์เพื่อรักษาโรคให้คนที่เคยฆ่าเหล่านั้น เหมือนองคุลีมาล เป็นการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์ที่เพิ่งผ่านภพอสูรมานั่นเอง นี่เรียกว่า กฎแห่งการชดใช้ คือ ไม่ต้องรับกรรมตอบโต้กันไปมา แต่ชดใช้ด้วยความดีแทนได้
---------------
ขอขอบคุณที่มา:
กฎแห่งกรรมที่ได้ค้นคว้าจากประสบการณ์ส่วนตัว
No comments:
Post a Comment