8/17/2009

เคล็ดลับอายุยืนจากพระไตรปิฎก

แม้ว่าวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าไปไกลแค่ไหน แต่ถ้าลองตรองให้ดี สุดท้ายเราจะพบความลับที่น่าสนใจว่า “สิ่งที่คิดว่าใหม่ทั้งหลาย แท้จริงเป็นสิ่งที่คนรุ่นเก่าคิดมาแล้วทั้งสิ้น”



อาจกล่าว ได้ว่า ไม่มีสิ่งใดเกิดขึ้นใหม่ในโลกนี้ ทุกสิ่งล้วนแล้วแต่เคยกำเนิดเกิดขึ้นมาก่อนแล้วทั้งนั้น ชั่วแต่ว่าเราจะนำภูมิปัญญาและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากประวัติศาสตร์มา ประยุกต์ใช้ได้มากเพียงน้อยเพียงใดเท่านั้น

แม้แต่ประเด็นทันสมัยอย่าง การชะลอความชรา ที่ ผู้คนในปัจจุบันกำลังให้ความสนใจ และนักวิทยาศาสตร์ได้ทุ่มเททุนทรัพย์มากมายเพื่อค้นคว้าวิจัย ก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ทรงชี้แนะวิธีไว้ให้ ตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้วทั้งสิ้น
ในสมัยพุทธกาล ครั้งหนึ่งพระพุทธองค์ได้ประทานโอวาทแก่พระเจ้า ปเสนทิโกศล ในเรื่องธรรมะที่ทำให้อายุยืนว่า

คนที่มีสติอยู่ตลอดเวลา รู้จักประมาณในการบริโภค ย่อมมีเวทนาเบาบาง แก่ช้า ครองอายุอยู่ได้นาน”

พระ เจ้าปเสนทิโกศลฟังแล้วไม่รอช้า มีรับสั่งให้มหาดเล็กท่องจำพุทธโอวาทนี้ได้ และคอยกล่าวขึ้นมาขณะที่พระองค์เสวยทุกมื้อ ไม่ช้าไม่นานผลดีก็บังเกิดแก่พระองค์ ทำให้ร่างกายแข็งแรงจนหาผู้ใดเทียบได้ยาก

นอกจากนั้น พระพุทธเจ้ายังได้เคยตรัสกับพระอานนท์ไว้ด้วยว่า “อานนท์ ผู้อบรมอิทธิบาท ๔ มาอย่างดีและทำจนแคล่วคล่องแล้วอย่างเรานี้ หากปรารถนาจะมีชีวิตอยู่ถึง ๑ กัลป์ (คือ ๔,๓๒๐,๐๐๐,๐๐๐ ปีมนุษย์) ก็สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้”

หนังสือ สูตรลับ Anti-aging จากพระไตรปิฎก ของนายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศาสตร์อายุรวัฒน์ สรุปไว้ว่า อิทธิบาท 4 น่าจะเกี่ยวพันกับเรื่องอายุยืนโดยตรงเลยทีเดียว เพราะเมื่อพิจารณาดูอย่างถี่ถ้วนแล้ว ทั้ง ฉันทะ วิริยะ จิตตะและวิมังสา ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ทำให้ชีวิตเป็นสุขดังนี้

· ฉันทะ ทำให้มีความพึงพอใจในการกระทำต่างๆ คนเราถ้าชอบใจ พอใจสิ่งใดแล้ว ก็ย่อมจะรู้สึกว่าการนั้นไม่เหน็ดเหนื่อยแต่อย่างใด ทำงานไปก็เหมือนได้พักผ่อนสบายใจ

· วิริยะ คือ ความเพียร ความสม่ำเสมอในการปฏิบัติตัวให้เป็นไปตามแนวทางที่ถูกที่ควร

· จิตตะ คือ ความจดจ่อใส่ใจ ซึ่งจะทำให้เกิดสมาธิและความสงบขึ้น ชีวิตจึงไม่ร้อนรน ว้าวุ่นไปตามกระแสของโลก

· วิมังสา คือ การใคร่ครวญ ให้เหตุผลและสติปัญญานำทางชีวิต




จะเห็นได้ว่าธรรมทั้งสี่ประการนี้ นอกจากจะทำให้อายุยืนแล้วยังเป็นหลักที่จะนำความสำเร็จมาสู่ชีวิตด้วย
  1. สัปปายการี ให้ร่างกายอยู่ในสภาพที่สบายและเกี้อกูลแก่สุขภาพ เช่น ทำงานในที่อากาศปลอดโปร่ง ไม่เครียดกับงาน
  2. สัปปาเย มัตตัญญู ต้องรู้จักพอดีในสิ่งที่สบายนั้นด้วย ไม่ใช่ว่าสบายมากจนกลายเป็นนอนหงายขี้เกียจอยู่ทั้งวัน
  3. ปริณตโภชี รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว ผักผลไม้ หลีกเลี่ยงสิ่งที่ย่อยยาก เช่น เนื้อแดง
  4. กาลจารี ใช้ชีวิตให้เหมาะสมในเรื่องเวลา ไม่เคร่งเครียดบังคับตัวเองมากเกินไป รู้จักจัดเวลาให้พอดี ไม่หักโหมเกินกำลัง
  5. พรหมจารี ถือพรหมจรรย์ตามความเหมาะสม รู้จักปล่อยวางบ้าง อย่าเคร่งเครียดเบียดตัวเองจนตกขอบ ปฏิบัติธรรมสม่ำเสมอ ถือศีลกินเจตามสมควร และหมั่นขัดเกลาจิตใจให้กิเลสเบาบางลง
เมื่อพระให้ศีลให้พรมักจะลงท้ายด้วย “อายุ วัณโณ สุขัง พะลัง” เพราะพรสี่ประการนี้เป็นสมบัติอันประเสริฐ เลิศยิ่งกว่าทรัพย์ใดๆ นายแพทย์กฤษดากล่าวว่า ในเรื่องอายุ พระท่านไม่ได้หวังให้เรามีอายุยืนนานแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ท่านมุ่งหวังให้เรามีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ เพื่อให้อายุที่ยืนยาวนี้มีส่วนสร้างปัญญาหาทางพ้นทุกข์ให้แก่ตัว ไม่มัวเมากับสิ่งเร้าภายนอกทั้งหลาย


ส่วนวัณโณหรือ ผิวพรรณนั้น มีรากฐานสำคัญมาจากการเป็นผู้มีศีล ไม่ว่าจะนับถือศาสนาใด หากมีศีลเป็นวัตรประจำใจ ผิวพรรณย่อมดีอยู่เสมอ เพราะเมื่อปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ทุกข์ร้อนจะไม่มากล้ำกราย เลือดลมจึงเดินสะดวก ทำให้ผิวพรรณผ่องใส

สำหรับสุขัง การที่บุคคลจะมีสุขได้นั้น จำต้องมีองค์ประกอบหลักๆคือ มีปัจจัยสี่พร้อม รวมทั้งมีสติและปัญญา รู้ตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา ไม่ปรุงจิตให้ขึ้นลงตามสิ่งที่มากระทบ และหาทางแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ในทางที่ถูกที่ควร
ส่วนท้ายสุด พะลัง(พลัง) มีอยู่สองอย่าง คือ กำลังกายและกำลังใจ ที่ต้องหมั่นฝึกฝนเตรียมพร้อมไว้รับมือกับความเปลี่ยนแปลง ด้วยการหมั่นออกกำลังกายและหมั่นฝึกจิตให้เข้มแข็งอยู่เสมอ

แม้ เราจะพยายามต้านทานความชราไว้เพียงใด แต่สุดท้ายแล้วเราทุกคนก็ต้องเดินไปบนเส้นทางเดียวกัน การใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท หมั่นดูแลตัวเองอย่างสม่ำเสมอทั้งกายและใจ จะช่วยให้เราเป็นผู้มีอายุยืนอย่างมีความสุข และสามารถสร้างประโยชน์ให้สังคมได้อย่างยาวนานที่สุด


เคล็ดลับชะลอวัยของนายแพทย์กฤษดา ศิรามพุช

· เลี่ยงอาหารที่อร่อยลิ้นจนเกินไป
· เลี่ยงของทอดของมัน น้ำตาลและแป้งขาว
· อย่ากินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ จะนำโรคมาให้
· อย่าเสียดายจนตายด้วยปาก
· อย่าอยากเหล้ายาและกาแฟจะแก่เร็ว
· กินให้น้อย พลอยสดใส ไม่มึนหัว


ที่มา
บทความจากนิตยสารซีเคร็ต

No comments: