การอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย(ให้ได้ผลทันการ)
การอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย
>
"..การอุทิศส่วนกุศลในพระพุทธศาสนาไม่ต้องใช้นํ้าการที่ พระเจ้าพิมพิสารเป็นองค์แรกที่อุทิศส่วนกุศลโดยใช้นํ้า ก็ เพราะท่านเพิ่งพบพระพุทธเจ้า เนื่องจากศาสนาพราหมณ์เขาถือว่า ถ้าจะให้อะไรกับใคร ต้องให้คนนั้นแบมือแล้วเอานํ้าราดลงไป ท่านยังชินอยู่กับประเพณีของพราหมณ์ แต่พระพุทธเจ้าก็ไม่ได้ห้าม เพราะใจท่านตั้งตรงเวลาอุทิศส่วนกุศล
เรื่องการกรวดนํ้านี้ สมัยเมื่ออาตมาบวชได้วันที่สอง ขณะเจริญพระกรรมฐานได้มีผีตัวผอมก๋องเข้ามานั่งอยู่ข้างหน้า อาตมาก็สวด "อิมินา ปุญญกัมเมนะ อุปัชฌายา" หมายถึงอุปัชฌาย์ แต่อุปัชฌาย์ก็ยังไม่ตาย "คุณุตตรา อาจาริยู"ให้ คู่สวดอีก คู่สวดก็ยังไม่ตาย ว่าเรื่อยไปยังไม่ทันจะจบเหลืออีกตั้งครึ่งบท เห็นเดินมา ๒ คนเอาโซ่คล้องคอลากผีที่นั่งอยู่ข้างหน้าไปเลย ผลปรากฏว่ายังไม่ได้ให้ผีเลย
พอตอนเช้าไปบิณฑบาตกลับมาฉันข้าว พอฉันเสร็จล้างบาตรเช็ดเรียบร้อย ปกติฉันเสร็จหลวงพ่อปานท่านจะยถาฯแต่วันนี้ท่านไม่ยถาฯ ท่านนั่งเฉยมองหน้าถามว่า
"ไงพ่อคุณ พ่ออิมินาคล่อง สวดอย่างนั้นผีจะได้กินเหรอ"
ท่านให้แปลอิมินาแปลว่าอย่างไรบ้าง อุปัชฌาย์ก็ยังไม่ตาย คู่สวดญัตติคือท่านก็ยังไม่ตายมาให้ท่าน ผีที่อยู่ข้างหน้าทำไมไม่ให้
ท่านก็บอกว่า"ทีหลังผีมาละก็ ผีมันอยู่นานไม่ได้ บางทีก็หลบหน้าเขามานิดหนึ่ง ถ้ามานั่งใกล้เรา ทุกขเวทนาอย่างเปรตนี่ ไฟไหม้ทั้งตัว หอกดาบฟัน เวลาที่เราเจริญพระกรรมฐานอยู่ บุญของเรานี่สามารถจะช่วยให้เขามีความสุขได้ เพราะถ้ามานั่งข้างหน้าใกล้ๆเรานี่ ไฟจะดับ หอกดาบจะหลุดไป แต่ว่าจะอยู่นานไม่ได้ ต้องพูดให้เร็วเพราะเขาจะต้องไปรับโทษเวลาอุทิศส่วนกุศลให้ว่าเป็นภาษาไทยชัดๆ และให้สั้นที่สุด"
ให้บอกว่า "บุญ ใดที่ฉันบำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผลบุญทั้งหมดนี้จะมีประโยชน์ ความสุขแก่ฉันเพียงใด ขอเธอจงโมทนาผลบุญนั้นและรับผลเช่นเดียวกับฉันตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป"วัน หลังผีตัวใหม่มา ตัวก่อนที่ถูกลากคอไปมาไม่ได้แล้ว ผีตัวใหม่ผอมก๋องเอาทนายมาด้วย ยืนอยู่ข้างหลังนางฟ้าที่มีทรวดทรงสวย เป็นเทวดาใหญ่มากบอกว่า
"ท่านนั่งอยู่นี่ไงล่ะ จะให้ท่านช่วยอะไรก็บอกท่านสิ"
ผีผอมก๋องพูดไม่ออกเพราะกรรมมันปิดปากอาตมานึกขึ้นมาได้ ถ้าขืนให้อยู่นานเดี๋ยวโซ่คล้องคอลากไปอีก จึงอุทิศส่วนกุศลให้ตามที่หลวงพ่อปานสอน จึงบอกว่า
"ตั้งใจโมทนาตาม ทีหลังมา ข้าไม่ให้พูดแล้วข้าให้เลย"
พอว่าจบผีผอมก๋องก็ก้มลงกราบ กราบไปครั้งแรกลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม กราบครั้งที่สองลุกขึ้นมาก็ผอมตามเดิม พอกราบครั้งที่สามลุกขึ้นมา คราวนี้ชฎาแพรวพราวเช้งวับไปเลย
การได้รับส่วนกุศลนี้ ขึ้นอยู่กับท่านนั้นมีโอกาสโมทนา ท่านก็ได้รับ แต่ถ้าท่านนั้นไม่มีโอกาสโมทนาก็ไม่ได้รับเปรียบ เหมือนเราเอาสิ่งของไปให้ แต่ผู้รับเขาไม่รับ เขาก็จะไม่ได้ของ ถ้าพวกเขาอยู่ในนรก ไฟไหม้ทั้งวัน ถูกสรรพาวุธสับฟันทั้งวัน ถ้าเราเอาขนมไปให้กิน เขาก็ไม่มีโอกาสจะได้กินขนม ปรทัตตูปชีวีเปรตเป็นเปรตระดับที่ ๑๒ แบ่งเป็น ๒ พวกคือ พวกที่มีกรรมบางอยู่ข้างหน้า เราอุทิศให้แผ่กระจายเขาโมทนาได้ แต่พวกที่มีกรรมหนาอยู่ข้างหลัง ให้แผ่กระจายนี่เขาโมทนาไม่ได้ ถึงแม้จะมีสิทธิ์โมทนาก็ตาม เขาก็ไม่มีโอกาส พวกปรทัตตูปชีวีเปรตมายืนอยู่นานไม่ได้ ส่วนสัมภเวสีก็มีความหิวแต่อยู่นานได้ จึงต้องให้เจาะจงเฉพาะตรง ถ้าไม่ให้ตรงเฉพาะก็รับไม่ได้เพราะกรรมหนัก ฉะนั้นการอุทิศส่วนกุศล เวลาจะให้ ให้ว่าเป็นภาษาไทยให้เรารู้เรื่องและให้สั้นที่สุด
การอุทิศส่วนกุศลแก่บุคคลต่างๆ ที่ตายไปแล้ว ถ้านึกได้ออกชื่อเขาก็ดี เพราะถ้ากรรมหนาอยู่นิด ถ้าออกชื่อเจาะจงเขาก็ได้รับเลย ถ้านึกไม่ออกก็ว่ารวมๆ "ญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี"ถ้า ขืนไปนั่งไล่ชื่อน่ากลัวจะไม่หมด มีอยู่คราวหนึ่งนานมาแล้วไปเทศน์ด้วยกัน ๓ องค์ บังเอิญมีอารมณ์คล้ายคลึงกัน วันนั้นทายกนำอุทิศส่วนกุศลออกชื่อคนตายกับบรรดาญาติทั้งหลายที่ตายไปแล้ว ปรากฏว่าบรรดาผีทั้งหลายก็เข้ามาเป็นหมื่นล้อมรอบศาลา คนที่เป็นญาติก็โมทนาแล้วผิวพรรณดีขึ้น พวกที่มิใช่ญาติก็เดินร้องไห้กลับไปตอนท้ายมีคนถามถึงการอุทิศส่วนกุศลว่าทำอย่างไร
พระองค์ หนึ่งท่านเลยบอกว่า "ญาติโยมที่นำอุทิศส่วนกุศล อย่าให้ใจแคบเกินไปนัก อย่าลืมว่าการทำบุญแต่ละคราว พวกปรทัตตูปชีวีเปรตก็ดี พวกสัมภเวสีก็ดี จะมายืนล้อมรอบคอยโมทนา แต่ถ้าเราให้แก่ญาติ ญาติก็จะได้ บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ญาติก็จะไม่ได้ ฉะนั้นควรจะให้ทั้งหมดทั้งญาติและไม่ใช่ญาติ"
และตอนที่พระให้พร เจ้า ภาพและทุกท่านที่บำเพ็ญกุศลแล้ว มีการถวายสังฆทานก็ดี การเจริญพระกรรมฐานก็ดี ควรตั้งจิตอธิษฐานตามความประสงค์ การตั้งจิตอธิษฐานเรียกว่า "อธิษฐานบารมี"ถ้าท่านตั้งใจเพื่อพระนิพพานก็ต้องอธิษฐานเผื่อไว้ โดยอธิษฐานว่า
"ขอ ผลบุญทั้งหมดนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ แต่ถ้าหากข้าพเจ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด จะไปเกิดใหม่ในชาติใดก็ตาม ขอคำว่า "ไม่มี" จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้า"
ถ้าเราต้องการอะไรให้มันมีทุกอย่าง จะไม่รวยมากก็ช่าง เท่านี้ก็พอแล้ว
การทำบุญไปแล้วครั้งหนึ่งสักกี่ปีๆ บุญก็ยังมีอยู่ ถ้า ทำไปแล้วสัก ๓๐ ปีก็ยังอุทิศส่วนกุศลได้ บุญไม่หาย ไม่ใช่เราทำบุญแล้วเดี๋ยวเดียวบุญหายไป ไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าทำบุญแล้วไม่ได้อุทิศส่วนกุศล ผู้ทำเป็นผู้ได้บุญเต็มที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะให้เขาหรือไม่ให้ ถ้าเราไม่ให้เราก็กินคนเดียว ทีนี้ถ้าเราให้เขาบุญของเราก็ไม่หมด ส่วนที่เราให้ไปไม่ได้ยุบไปจากของเดิม อย่างเรื่องของ พระอนุรุทธสมัย ที่ท่านเกิดเป็นคนเกี่ยวหญ้าช้างของมหาเศรษฐี เวลาที่ท่านทำบุญแล้ว เจ้านายมาขอแบ่งบุญ ท่านก็สงสัยว่าการแบ่งบุญจะแบ่งได้ไหม จึงไปถามพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ท่านรับบาตร
ท่านก็เปรียบเทียบให้ฟังว่า
"สมมติ ว่าโยมมีคบและก็มีไฟด้วย แต่คนอื่นเขามีแต่คบไม่มีไฟ ทุกคนต้องการแสงสว่างก็มาขอต่อไฟที่คบของโยม แล้วคบของทุกคนก็สว่างไสวหมด อยากทราบว่าไฟของโยมจะยุบไปไหม"
ท่านพระอนุรุทธก็ตอบว่า "ไม่ยุบ"
แล้วพระปัจเจกพุทธเจ้าท่านก็บอกว่า
"การอุทิศส่วนกุศลก็เหมือนกัน เราให้เขา เขาก็โมทนา แต่บุญของเราก็ยังอยู่เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้หายไป"
ท่านพระยายมราชได้มาบอกอาตมาเรื่องการอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย เมื่อวันปวารณาออกพรรษาปีพ.ศ. ๒๕๓๑ ว่า
"ที่สำนักท่านพระยายมราชจะหยุดทำงานเรียกว่า "หยุดนรกการ ๓ วัน" คือ วันออกพรรษา วันปวารณา และวันรุ่งขึ้น รวมเป็น ๓ วัน วันมหาปวารณาเป็นวันสำคัญท่านไม่สอบสวน พวกที่คอยการสอบสวน ตามปกติเขามีอิสระอยู่แล้วจะไปไหนก็ได้ แต่ถึงเวลาสอบสวนก็จะมาเองเพราะกฏของกรรมบังคับ คนที่มาคอยอยู่ที่นี่จะมีโอกาสพ้นนรกหรือไม่ก็ยังไม่แน่ ถ้าบรรดาญาติฉลาด หมายถึงทำบุญแล้วอุทิศส่วนกุศลเจาะจงให้ตรงเฉพาะคนเดียว โดยเอ่ยชื่อ นามสกุล อย่าให้คนอื่น เพราะเวลานั้นยังเป็นเวลาปลอดอยู่ มีสภาพคล้ายสัมภเวสี"
อาตมาจึงถามว่า "ทำบุญอะไร พวกนี้จึงจะไปสวรรค์ชั้นสูงและมีความสุขมาก"
ท่าน ตอบว่า "แดนใดที่ไม่มีบุญทำแล้วก็ไม่ได้รับเหมือนกัน หมายความว่าพระสงฆ์ที่เราไปทำบุญนั้น เป็นพระแค่ศีรษะกับห่มผ้าเหลือง ไม่ปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญาให้ครบถ้วนเรียกว่า "สมมติสงฆ์"อย่าง นี้ทำไปเท่าไรก็ไม่มีผล อุทิศส่วนกุศลให้คนตายเขาก็ไม่ได้รับ ถ้าทำบุญในเขตที่มีบุญน้อย ผู้รับก็มีอานิสงส์น้อยมีความสุขน้อย ทำบุญในเขตที่มีอานิสงส์ใหญ่ ผู้รับก็มีอานิสงส์มากได้รับผลบุญมากก็มีความสุขมาก และการสร้างบุญเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ก็ขึ้นอยู่กับสร้างดีก็ได้บุญ ถ้าสร้างไม่ดีก็ได้บาป หมายถึงก่อนจะทำบุญก็กินเหล้าก่อน พอพระกลับก็กินเหล้ากันอีก แต่ถ้าหากตั้งใจทำบุญโดยมีเจตนาบริสุทธิ์ ไม่มีบาปมีแต่บุญ อย่างนี้ผู้สร้างบุญก็ได้บุญเต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ คือบุญนี่จะต้องได้แก่ผู้สร้างบุญก่อน แล้วผู้สร้างจึงจะอุทิศส่วนกุศลให้คนอื่นได้"
ท่านจึงบอกว่า "สังฆทาน ดีที่สุด" โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ท่านจะช่วยได้จริงๆ ต้องเฉพาะคนที่ไปคอยการสอบสวนที่สำนักท่านเท่านั้น อย่างสัมภเวสี เปรต อสุรกาย ไม่ผ่านท่าน ท่านช่วยไม่ได้ และคนที่ตายแล้วลงนรกทันที ท่านก็ช่วยไม่ได้เพราะไม่ได้ผ่านสำนักท่าน
อาตมาจึงถามท่านว่า "ทำอย่างไรความแน่นอนจึงจะปรากฏ ท่านจึงจะช่วยได้"
ท่านก็เลยบอกว่า "เอาอย่างนี้ก็แล้วกัน ลูกหลานอาตมาคือลูกหลานของผม"
ให้บอกลูกหลานว่า "เวลาทำบุญเสร็จแล้วอุทิศส่วนกุศลให้คนตาย"
ถ้ายังไม่มั่นใจให้บอกท่านว่า
"ถ้าบุคคลนั้นยังไม่มีโอกาสโมทนาเพียงใด ขอท่านพระยายมราชเป็นพยานด้วย หากว่าพบเธอผู้นั้นเมื่อใด ขอให้บอกเธอโมทนาเมื่อนั้น"
เพราะ ไม่แน่นัก เนื่องจากขณะที่มีชีวิตอยู่คนเราทำทั้งบุญทั้งบาป เวลาตายไปแล้ว ถ้าไปอยู่ที่สำนักท่านพระยายามราช บางทีกรรมบางอย่างมันปิดปาก เวลาถามถึงเรื่องบุญทำให้นึกไม่ออกตอบไม่ได้ หากว่าท่านถามถึง ๓ ครั้งยังนึกไม่ออกอีก ก็ต้องปล่อยให้ลงนรกไป แต่ถ้าเวลาอุทิศส่วนกุศลขอให้ท่านเป็นพยาน เพียงแค่นี้
พอโผล่หน้าเข้าไปท่านก็จะประกาศว่า
ที่เคยขอให้ท่านเป็นสักขีพยาน และท่านก็จะประกาศกุศลนั้นบอกให้โมทนา ก็จะไปสวรรค์เลยโดยไม่ต้องมีการสอบสวน.."
คำอุทิศส่วนกุศล
"อิทัง ปุญญะผะลัง" ผล บุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
บทอุทิศส่วนกุศลท่อนแรกนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร หลวงปู่โตท่านมาบอก และบทอุทิศส่วนกุศลอีก ๓ ท่อน ท่านพระยายมราชท่านมาบอกมีดังนี้
ท่อนที่สอง
และ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลายที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลายและพระยายมราชจงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
ท่อนที่สาม
และ ขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่ท่านทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
ท่อนที่สี่
ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าทั้งหลายได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด.
No comments:
Post a Comment